top of page

โปรแกรมดีบอกต่อ❗10 โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO


โปรแกรมดีบอกต่อ❗10 โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO  เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ กับ “การทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (Keyword Research)” เพราะการทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (และนำคีย์เวิร์ดที่ได้ไปปรับใช้) ​นั้นเป็นตัวช่วยพาเว็บไซต์ของเราให้ไปปรากฎอยู่ในผลการค้นหา ทำให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเจอเราบน Google   การจะเจอคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายของเราใช้ค้นหาบน Google นั้นไม่ทำได้ไม่อยาก เพียงแต่ต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมเข้ามาช่วยด้วย วันนี้เรารวบรวมคัดสรรเอาโปรแกรมค้นหา Keyword ที่ดีที่สุด 10 โปรแกรม ตัวไหนเหมาะกับมือใหม่ ลองมาดูกันเลย!  🔸ความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดกับเว็บไซต์ (Relevance) ความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดกับเว็บไซต์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ที่จะชี้วัดว่า เราเลือกคีย์เวิร์ดได้ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะยิ่งคีย์เวิร์ดมีความระบุเฉพาะเจาะจงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ “คนที่ใช่” มาเจอเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้นดีขึ้นเท่านั้น  ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของเว็บไซต์คือ ธุรกิจรับสร้างสระว่ายน้ำ คีย์เวิร์ดที่น่าใช้คือ “ติดตั้งสระว่ายน้ำ” “สร้างสระว่ายน้ำ” “รับสร้างสระว่ายน้ำในดินแบบไฟเบอร์กลาส” มากกว่า “สระว่ายน้ำ” เฉยๆ  เพราะคนที่อยากหาข้อมูลบริษัทรับสร้างสระว่ายน้ำน่าจะพิมพ์หาใน Google ว่า “ติดตั้งสระว่ายน้ำ” มากกว่า ซึ่งหากใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เราจริงๆ ก็มีสิทธิมากขึ้นที่ คนที่ใช่ที่กล่าวไป ซึ่งเป็น “กลุ่มเป้าหมายจริงๆ” ค้นหาเจอเว็บไซต์ธุรกิจรับสร้างสระว่ายน้ำ  🔸สถานที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ (location) อีกปัจจัยสำคัญคือ สถานที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ เพราะเวลาที่เรามองหาคำค้นที่น่าสนใจสำหรับเว็บไซต์ หากไม่ระบุสถานที่ตั้ง (location) ใดๆ ระบบจะประมวลข้อมูลในค่าตั้งต้นของระบบ เช่น สหรัฐอเมริกา แทนที่จะเป็นประเทศไทย  🔸โปรแกรมหา keyword  1. Google Keyword Planner Google Keyword Planner คือ เครื่องมือหาคีย์เวิร์ดที่อยู่ใน Google Ads หรือ Google AdWords ซึ่งเหมาะมากสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นหาคีย์เวิร์ดเพื่อทำเว็บไซต์ เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือหาคีย์เวิร์ดได้แล้ว ยังเป็นวิธีการเรียนรู้เครื่องมือทำเว็บไซต์ของ Google ในเวลาเดียวกัน  โดยเราจำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้งาน Adwords เพื่อใช้ Keyword Planner ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ใช้งาน Google AdWords จะเป็นผู้ที่ซื้อโฆษณาใน Google (หรือทำ SEM) แต่เราก็สามารถใช้ Google Keyword Planner ได้ โดยไม่ต้องใช้ Google Ads ซื้อโฆษณาใน Google  เปิด AdWords มาหน้าแรกจะพบกับหน้านี้ (หลังจากที่ลงทะเบียนใช้งานเสร็จแล้วหรือเรามีบัญชี AdWords อยู่แล้ว) ให้เข้าไปที่ “Tools & Settings” เลือก “Planning” และเลือก “Keyword Planner”  2. Google Trends Google Trends คือ เครื่องมือฟรีของ Google อีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยให้เรารู้ว่าคำค้นแต่ละคำมีคนหาเยอะแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ แนวโน้มการค้นหาที่ผ่านมา รวมคีย์เวิร์ดในกลุ่มเดียวกัน หรือคีย์เวิร์ดที่คล้ายกันเนื่องจากการสะกดผิดก็ได้  จุดเด่นของ Google Trends คือจะแสดงกราฟแนวโน้มการค้นหาให้เราสามารถเปรียบเทียบคำค้นแต่ละตัวได้อย่างน่าสนใจ  เราสามารถดาวน์โหลดมาดูในคอมพิวเตอร์ได้ หรือจะเอาลิงค์ Embed มาใส่ในเว็บไซต์ของเราก็ได้ ขณะที่เครื่องมือหา keyword อื่นๆ จะแสดงข้อมูลเป็นจำนวนตัวเลข และไม่เน้นเปรียบเทียบได้อย่างมีสีสันเหมือนกับ Google Trends  Google Trends จึงเหมาะกับเวลาที่ต้องการตัดสินใจเลือกคีย์เวิร์ดที่ดีที่สุด ดีที่สุดในที่นี้คือ ปริมาณการค้นหาของแต่ละคีย์เวิร์ด คำไหนมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็ควรจะเลือกใช้คำนั้น  3. KWFinder เครื่องมือนี้ก็เหมือนกับ Moz Keyword Explorer ตรงที่เน้นการค้นหาคีย์เวิร์ดโดยเฉพาะ ไม่ได้มีฟีเจอร์ในการดูแลหรือติดตามและพัฒนาการของอับดับใน Google แน่นอนว่าถ้าเทียบกับเครื่องมืออื่นๆ ข้างต้น KW Finder ดูจะเป็นน้องใหม่ที่ตลาด ไม่ได้เก๋าเกม หรืออยู่มานานแบบใคร แต่ก็นับเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเครื่องมือที่ให้บริการนั้นดีจริง  จุดเด่น: มีตัวเลือกให้หาแบบ Question-based Keyword Research เพื่อให้ง่ายต่อการหาคำถามที่ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจจริงๆ,ง่ายต่อการหา Long Tail Keywords,หน้าตาของเว็บสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน,สามารถใช้งานได้ฟรีได้ แต่จำกัดจำนวนครั้ง,ใช้งานได้ในราคาที่เอื้อมถึง  4. Term Explorer Term Explorer จะคล้ายกับ Ahrefs ที่เจาะรายละเอียดของข้อมูลแต่ละอย่างของคำค้น เพื่อนำไปสรุปเป็นรายงานวิเคราะห์คำค้นให้ผู้ใช้งานต่อไป  ตัว Term Explorer จะสรุปข้อมูลของผลลัพธ์ที่ปรากฎบนหน้าค้นหา (SERPs) หน้าแรกให้กับผู้ใช้งาน เช่น จำนวนผลการค้นหา ความแข็งแรงของลิงค์ คะแนนความน่าเชื่อถือ และความยากง่ายของคีย์เวิร์ด  โดยทางเว็บบอกว่า จากคำค้น 1 คำ โปรแกรมสามารถแตกออกมาเป็น 10,000 คำค้นที่น่าสนใจให้เลือกใช้ได้ แจกแจงข้อมูลการแข่งขันของคำค้น อัปเดตคำค้นให้โดยอัตโนมัติ และคัดคำค้นที่ไม่เกี่ยวข้องออกอย่างง่ายดาย  ข้อมูลทั้งหมดที่ว่ามา ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดเป็นไฟล์ CSV เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อได้ด้วย  5. Serpstat Serpstat เป็นเครื่องมือหาคำค้นอีกตัวที่มีฟังก์ชั่นครบเหมือนกับตัวอื่นๆ ที่กล่าวมา เช่น การรวบรวมข้อมูลคีย์เวิร์ดที่ดีของคู่แข่ง (ที่คู่แข่งใช้จนทำให้เว็บไซต์ของตัวเองติดอันดับการค้นหา) และหาคำค้นแบบ long tail ที่เข้ากับเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มของคำค้นแต่ละตัวที่เราหรือคู่แข่งใช้ให้ด้วย  6. HubSpot หากเว็บไซต์ของผู้ทำ SEO เป็บเว็บฯ แนวให้ข้อมูลความรู้ผ่านเนื้อหาข้อมูลกับผู้เข้าเว็บไซต์ HubSpot เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นเครื่องมือทำ SEO ที่มีเครื่องมือเพื่อการทำเนื้อหาเฉพาะตัวที่ชื่อว่า Content Strategy  เจ้า Content Strategy มีหน้าที่ตรงตัวตามชื่อ คือช่วยระบุและค้นหาหัวข้อที่น่าสนใจจากคำค้น หาคำค้นใหม่หรือหัวข้อย่อยอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานต่อยอดหัวข้อเนื้อหาที่จะนำมาซึ่ง Organic Traffic ในระยะยาว  นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นสร้าง dashboard ตามความต้องการข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น marketing ซึ่งใน dashboard นั้นจะรวมเอาข้อมูลที่จำเป็นหลักๆ มาไว้ด้วยกัน เช่น การเข้าใช้งาน การคลิก หน้าเว็บเพจที่มีคนเข้าชมสูงสุด ซึ่งง่ายต่อการประมวลผลเพื่อนำไปปรับใช้เฉพาะกลุ่มทีมทำงานในองค์กร  7. Answer the Public  เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือดีๆ อีกหนึ่งอันที่เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดยาวหรือคีย์เวิร์ดแบบเป็นคำถาม (Long Tail Keywords) ได้ง่ายๆ จากการพิมพ์คีย์เวิร์ดแบบสั้นๆ ที่ต้องการลงไป  จุดเด่นเหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบยาว คีย์เวิร์ดเชิงคำถาม ตามภูมิภาค ประเทศ และภาษา,เหมาะสำหรับการค้นหาไอเดียกว้างๆ มากกว่าการค้นหาข้อมูลเชิงลึกแบบจริงจัง,แบบฟรีนั้นจะค้นหาได้วันละไม่เกิน 3 ครั้ง  8. KeywordTool.io เครื่องมือหน้าตาใช้งานง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปหน้าเว็บก็สามารถเริ่มใช้งานได้เลย หน้าตาของข้อมูลที่ได้ออกมานั้นเรียกได้ว่าแทบไม่ต่างจากข้อมูลของเครื่องมือดีๆ อย่าง Google Keyword Planner เลย  จุดเด่นเหมาะกับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นๆ เยอะๆ,ใช้งานง่ายมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น (ง่ายกว่า Google Keyword Planner),เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของเสริชเอนจิ้น เช่น Google, Bing, Yahoo, Youtube เป็นต้น,เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของแพลตฟอร์ม เช่น Amazon, App Store, Instagram เป็นต้น  9. Accuranker หากเป็นคนทำ SEO ที่ชอบตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของอันดับของคำค้นเป็นประจำ Accuranker เป็นเครื่องมือที่จะช่วยประหยัดเวลาตรงนี้ได้มาก นี่คือข้อดีหลักๆ ที่คนพูดถึงโปรแกรมหา keyword ตัวนี้  ข้อต่อมาคือ ระบบจัดเรียงอันดับโดยอัตโนมัติว่า คำค้นของเว็บไหนมีอันดับที่ดีกว่ากัน ซึ่งเหมาะกับทั้งคนที่ต้องการข้อมูลเพื่อปรับปรุง SEO บ่อยครั้งและเป็นประจำ หรือจำเป็นต้องสรุปผลการทำ SEO เพื่อนำไปรายงานต่อ  Accuranker ยังค่อนข้างเหมาะสำหรับคนที่ทำ SEO เพื่อธุรกิจเฉพาะพื้นที่ เช่น กิจการในประเทศ หรือธุรกิจที่ขายทั้งในและต่างประเทศ โดยวิเคราะห์แยกให้ว่า ลิงค์ของเรามีประสิทธิภาพที่ดีแค่ไหนในผลการค้นหาของแต่ละประเทศ และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือฟรีของ Google เช่น Google Analytics และ Google Search Console ได้ดีด้วย  10. Moz : Keyword Difficulty Tool Keyword Difficulty Tool ของ Moz เป็นโปรแกรมหา keyword ที่เด่นเรื่องวิเคราะห์การใช้คีย์เวิร์ดในระบบค้นหา และค้นหาคีย์เวิร์ดที่น่าใช้แต่การแข่งขันไม่สูงมาก  Keyword Difficulty Tool ของ Moz จะให้ความสำคัญกับตัวเลขของ 3 หัวข้อนี้ ได้แก่ Difficulty Score, Volume Score และ Opportunity Score  - Difficulty Score  คะแนนความยากง่ายของคีย์เวิร์ดที่จะติดอันดับการค้นหา โดยคะแนนปัจจัยนี้ของ Moz เอาตัวเลขของ Page Authority (PA) และ Domain Authority (DA) มาร่วมในการประมวลค่า Difficulty Score อย่างเข้มข้น นอกจากนี้ตัวเลขยังปรับเพื่อหน้าเว็บเพจที่มีการทำ SEM ที่ต้องมีการวัดค่า Click-through-rate (CTR) เป็นพิเศษด้วย  - Volume Score ปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดในระบบค้นหา Moz เผยว่าตัวเลขนี้มีความแม่นยำหรือใกล้เคียงกับตัวเลขการค้นหาจริงถึง 95% จากการนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาร่วมประมวลด้วย  - Opportunity Score คะแนนโอกาสความเป็นไปได้ของคียเวิร์ด Moz ให้เหตุผลของการเพิ่มฟีเจอร์ส่วนตัวขึ้นมาว่า เพราะ Google เองมีการเพิ่มเติมฟีเจอร์หรือพัฒนาระบบการค้นหาหรือการจัดอันดับตลอดเวลา Opportunity Score จึงเป็นเหมือนการให้น้ำหนักกับความเป็นไปได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบ ซึ่งมีส่วนต่อคีย์เวิร์ดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลักเกณฑ์ทั้งสองอย่างข้างต้น เช่น การให้ความสำคัญกับฟีเจอร์อื่นๆ ในหน้าเว็บเพจ นอกเหนือจากเนื้อหาปกติ  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

โปรแกรมดีบอกต่อ❗10 โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO


เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ กับ “การทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (Keyword Research)” เพราะการทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (และนำคีย์เวิร์ดที่ได้ไปปรับใช้) ​นั้นเป็นตัวช่วยพาเว็บไซต์ของเราให้ไปปรากฎอยู่ในผลการค้นหา ทำให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเจอเราบน Google


การจะเจอคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายของเราใช้ค้นหาบน Google นั้นไม่ทำได้ไม่อยาก เพียงแต่ต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมเข้ามาช่วยด้วย วันนี้เรารวบรวมคัดสรรเอาโปรแกรมค้นหา Keyword ที่ดีที่สุด 10 โปรแกรม ตัวไหนเหมาะกับมือใหม่ ลองมาดูกันเลย!


🔸ความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดกับเว็บไซต์ (Relevance)

ความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดกับเว็บไซต์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ที่จะชี้วัดว่า เราเลือกคีย์เวิร์ดได้ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะยิ่งคีย์เวิร์ดมีความระบุเฉพาะเจาะจงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ “คนที่ใช่” มาเจอเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้นดีขึ้นเท่านั้น


ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของเว็บไซต์คือ ธุรกิจรับสร้างสระว่ายน้ำ คีย์เวิร์ดที่น่าใช้คือ “ติดตั้งสระว่ายน้ำ” “สร้างสระว่ายน้ำ” “รับสร้างสระว่ายน้ำในดินแบบไฟเบอร์กลาส” มากกว่า “สระว่ายน้ำ” เฉยๆ


เพราะคนที่อยากหาข้อมูลบริษัทรับสร้างสระว่ายน้ำน่าจะพิมพ์หาใน Google ว่า “ติดตั้งสระว่ายน้ำ” มากกว่า ซึ่งหากใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เราจริงๆ ก็มีสิทธิมากขึ้นที่ คนที่ใช่ที่กล่าวไป ซึ่งเป็น “กลุ่มเป้าหมายจริงๆ” ค้นหาเจอเว็บไซต์ธุรกิจรับสร้างสระว่ายน้ำ


🔸สถานที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ (location)

อีกปัจจัยสำคัญคือ สถานที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ เพราะเวลาที่เรามองหาคำค้นที่น่าสนใจสำหรับเว็บไซต์ หากไม่ระบุสถานที่ตั้ง (location) ใดๆ ระบบจะประมวลข้อมูลในค่าตั้งต้นของระบบ เช่น สหรัฐอเมริกา แทนที่จะเป็นประเทศไทย


🔸โปรแกรมหา keyword

1. Google Keyword Planner

Google Keyword Planner คือ เครื่องมือหาคีย์เวิร์ดที่อยู่ใน Google Ads หรือ Google AdWords ซึ่งเหมาะมากสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นหาคีย์เวิร์ดเพื่อทำเว็บไซต์ เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือหาคีย์เวิร์ดได้แล้ว ยังเป็นวิธีการเรียนรู้เครื่องมือทำเว็บไซต์ของ Google ในเวลาเดียวกัน


โดยเราจำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้งาน Adwords เพื่อใช้ Keyword Planner ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ใช้งาน Google AdWords จะเป็นผู้ที่ซื้อโฆษณาใน Google (หรือทำ SEM) แต่เราก็สามารถใช้ Google Keyword Planner ได้ โดยไม่ต้องใช้ Google Ads ซื้อโฆษณาใน Google


เปิด AdWords มาหน้าแรกจะพบกับหน้านี้ (หลังจากที่ลงทะเบียนใช้งานเสร็จแล้วหรือเรามีบัญชี AdWords อยู่แล้ว) ให้เข้าไปที่ “Tools & Settings” เลือก “Planning” และเลือก “Keyword Planner”


2. Google Trends

Google Trends คือ เครื่องมือฟรีของ Google อีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยให้เรารู้ว่าคำค้นแต่ละคำมีคนหาเยอะแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ แนวโน้มการค้นหาที่ผ่านมา รวมคีย์เวิร์ดในกลุ่มเดียวกัน หรือคีย์เวิร์ดที่คล้ายกันเนื่องจากการสะกดผิดก็ได้


จุดเด่นของ Google Trends คือจะแสดงกราฟแนวโน้มการค้นหาให้เราสามารถเปรียบเทียบคำค้นแต่ละตัวได้อย่างน่าสนใจ


เราสามารถดาวน์โหลดมาดูในคอมพิวเตอร์ได้ หรือจะเอาลิงค์ Embed มาใส่ในเว็บไซต์ของเราก็ได้ ขณะที่เครื่องมือหา keyword อื่นๆ จะแสดงข้อมูลเป็นจำนวนตัวเลข และไม่เน้นเปรียบเทียบได้อย่างมีสีสันเหมือนกับ Google Trends


Google Trends จึงเหมาะกับเวลาที่ต้องการตัดสินใจเลือกคีย์เวิร์ดที่ดีที่สุด ดีที่สุดในที่นี้คือ ปริมาณการค้นหาของแต่ละคีย์เวิร์ด คำไหนมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็ควรจะเลือกใช้คำนั้น


3. KWFinder

เครื่องมือนี้ก็เหมือนกับ Moz Keyword Explorer ตรงที่เน้นการค้นหาคีย์เวิร์ดโดยเฉพาะ ไม่ได้มีฟีเจอร์ในการดูแลหรือติดตามและพัฒนาการของอับดับใน Google แน่นอนว่าถ้าเทียบกับเครื่องมืออื่นๆ ข้างต้น KW Finder ดูจะเป็นน้องใหม่ที่ตลาด ไม่ได้เก๋าเกม หรืออยู่มานานแบบใคร แต่ก็นับเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเครื่องมือที่ให้บริการนั้นดีจริง


จุดเด่น: มีตัวเลือกให้หาแบบ Question-based Keyword Research เพื่อให้ง่ายต่อการหาคำถามที่ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจจริงๆ,ง่ายต่อการหา Long Tail Keywords,หน้าตาของเว็บสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน,สามารถใช้งานได้ฟรีได้ แต่จำกัดจำนวนครั้ง,ใช้งานได้ในราคาที่เอื้อมถึง


4. Term Explorer

Term Explorer จะคล้ายกับ Ahrefs ที่เจาะรายละเอียดของข้อมูลแต่ละอย่างของคำค้น เพื่อนำไปสรุปเป็นรายงานวิเคราะห์คำค้นให้ผู้ใช้งานต่อไป


ตัว Term Explorer จะสรุปข้อมูลของผลลัพธ์ที่ปรากฎบนหน้าค้นหา (SERPs) หน้าแรกให้กับผู้ใช้งาน เช่น จำนวนผลการค้นหา ความแข็งแรงของลิงค์ คะแนนความน่าเชื่อถือ และความยากง่ายของคีย์เวิร์ด


โดยทางเว็บบอกว่า จากคำค้น 1 คำ โปรแกรมสามารถแตกออกมาเป็น 10,000 คำค้นที่น่าสนใจให้เลือกใช้ได้ แจกแจงข้อมูลการแข่งขันของคำค้น อัปเดตคำค้นให้โดยอัตโนมัติ และคัดคำค้นที่ไม่เกี่ยวข้องออกอย่างง่ายดาย


ข้อมูลทั้งหมดที่ว่ามา ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดเป็นไฟล์ CSV เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อได้ด้วย


5. Serpstat

Serpstat เป็นเครื่องมือหาคำค้นอีกตัวที่มีฟังก์ชั่นครบเหมือนกับตัวอื่นๆ ที่กล่าวมา เช่น การรวบรวมข้อมูลคีย์เวิร์ดที่ดีของคู่แข่ง (ที่คู่แข่งใช้จนทำให้เว็บไซต์ของตัวเองติดอันดับการค้นหา) และหาคำค้นแบบ long tail ที่เข้ากับเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มของคำค้นแต่ละตัวที่เราหรือคู่แข่งใช้ให้ด้วย


6. HubSpot

หากเว็บไซต์ของผู้ทำ SEO เป็บเว็บฯ แนวให้ข้อมูลความรู้ผ่านเนื้อหาข้อมูลกับผู้เข้าเว็บไซต์ HubSpot เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นเครื่องมือทำ SEO ที่มีเครื่องมือเพื่อการทำเนื้อหาเฉพาะตัวที่ชื่อว่า Content Strategy


เจ้า Content Strategy มีหน้าที่ตรงตัวตามชื่อ คือช่วยระบุและค้นหาหัวข้อที่น่าสนใจจากคำค้น หาคำค้นใหม่หรือหัวข้อย่อยอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานต่อยอดหัวข้อเนื้อหาที่จะนำมาซึ่ง Organic Traffic ในระยะยาว


นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นสร้าง dashboard ตามความต้องการข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น marketing ซึ่งใน dashboard นั้นจะรวมเอาข้อมูลที่จำเป็นหลักๆ มาไว้ด้วยกัน เช่น การเข้าใช้งาน การคลิก หน้าเว็บเพจที่มีคนเข้าชมสูงสุด ซึ่งง่ายต่อการประมวลผลเพื่อนำไปปรับใช้เฉพาะกลุ่มทีมทำงานในองค์กร


7. Answer the Public

เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือดีๆ อีกหนึ่งอันที่เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดยาวหรือคีย์เวิร์ดแบบเป็นคำถาม (Long Tail Keywords) ได้ง่ายๆ จากการพิมพ์คีย์เวิร์ดแบบสั้นๆ ที่ต้องการลงไป


จุดเด่นเหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบยาว คีย์เวิร์ดเชิงคำถาม ตามภูมิภาค ประเทศ และภาษา,เหมาะสำหรับการค้นหาไอเดียกว้างๆ มากกว่าการค้นหาข้อมูลเชิงลึกแบบจริงจัง,แบบฟรีนั้นจะค้นหาได้วันละไม่เกิน 3 ครั้ง


8. KeywordTool.io

เครื่องมือหน้าตาใช้งานง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปหน้าเว็บก็สามารถเริ่มใช้งานได้เลย หน้าตาของข้อมูลที่ได้ออกมานั้นเรียกได้ว่าแทบไม่ต่างจากข้อมูลของเครื่องมือดีๆ อย่าง Google Keyword Planner เลย


จุดเด่นเหมาะกับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นๆ เยอะๆ,ใช้งานง่ายมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น (ง่ายกว่า Google Keyword Planner),เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของเสริชเอนจิ้น เช่น Google, Bing, Yahoo, Youtube เป็นต้น,เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของแพลตฟอร์ม เช่น Amazon, App Store, Instagram เป็นต้น


9. Accuranker

หากเป็นคนทำ SEO ที่ชอบตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของอันดับของคำค้นเป็นประจำ Accuranker เป็นเครื่องมือที่จะช่วยประหยัดเวลาตรงนี้ได้มาก นี่คือข้อดีหลักๆ ที่คนพูดถึงโปรแกรมหา keyword ตัวนี้


ข้อต่อมาคือ ระบบจัดเรียงอันดับโดยอัตโนมัติว่า คำค้นของเว็บไหนมีอันดับที่ดีกว่ากัน ซึ่งเหมาะกับทั้งคนที่ต้องการข้อมูลเพื่อปรับปรุง SEO บ่อยครั้งและเป็นประจำ หรือจำเป็นต้องสรุปผลการทำ SEO เพื่อนำไปรายงานต่อ


Accuranker ยังค่อนข้างเหมาะสำหรับคนที่ทำ SEO เพื่อธุรกิจเฉพาะพื้นที่ เช่น กิจการในประเทศ หรือธุรกิจที่ขายทั้งในและต่างประเทศ โดยวิเคราะห์แยกให้ว่า ลิงค์ของเรามีประสิทธิภาพที่ดีแค่ไหนในผลการค้นหาของแต่ละประเทศ และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือฟรีของ Google เช่น Google Analytics และ Google Search Console ได้ดีด้วย


10. Moz : Keyword Difficulty Tool

Keyword Difficulty Tool ของ Moz เป็นโปรแกรมหา keyword ที่เด่นเรื่องวิเคราะห์การใช้คีย์เวิร์ดในระบบค้นหา และค้นหาคีย์เวิร์ดที่น่าใช้แต่การแข่งขันไม่สูงมาก


Keyword Difficulty Tool ของ Moz จะให้ความสำคัญกับตัวเลขของ 3 หัวข้อนี้ ได้แก่ Difficulty Score, Volume Score และ Opportunity Score


- Difficulty Score

คะแนนความยากง่ายของคีย์เวิร์ดที่จะติดอันดับการค้นหา โดยคะแนนปัจจัยนี้ของ Moz เอาตัวเลขของ Page Authority (PA) และ Domain Authority (DA) มาร่วมในการประมวลค่า Difficulty Score อย่างเข้มข้น นอกจากนี้ตัวเลขยังปรับเพื่อหน้าเว็บเพจที่มีการทำ SEM ที่ต้องมีการวัดค่า Click-through-rate (CTR) เป็นพิเศษด้วย


- Volume Score

ปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดในระบบค้นหา Moz เผยว่าตัวเลขนี้มีความแม่นยำหรือใกล้เคียงกับตัวเลขการค้นหาจริงถึง 95% จากการนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาร่วมประมวลด้วย


- Opportunity Score

คะแนนโอกาสความเป็นไปได้ของคียเวิร์ด Moz ให้เหตุผลของการเพิ่มฟีเจอร์ส่วนตัวขึ้นมาว่า เพราะ Google เองมีการเพิ่มเติมฟีเจอร์หรือพัฒนาระบบการค้นหาหรือการจัดอันดับตลอดเวลา Opportunity Score จึงเป็นเหมือนการให้น้ำหนักกับความเป็นไปได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบ ซึ่งมีส่วนต่อคีย์เวิร์ดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลักเกณฑ์ทั้งสองอย่างข้างต้น เช่น การให้ความสำคัญกับฟีเจอร์อื่นๆ ในหน้าเว็บเพจ นอกเหนือจากเนื้อหาปกติ


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

ดู 92 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page