📣Five force model เครื่องมือวิเคราะห์การแข่งขันธุรกิจ
📣Five force model เครื่องมือวิเคราะห์การแข่งขันธุรกิจ
อยากทำธุรกิจ ต้องวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ให้เป็น ก่อนที่เราจะลงมือจริงจังกับธุรกิจ นอกเหนือจากแพชชั่นในการผลิตสินค้าหรือบริการ เราควรต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขันให้เป็นก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากแบบขาดไม่ได้ เพราะมันจะบอกเราได้ตั้งแต่แรกเลยว่าธุรกิจที่เราจะเข้าไปนั้น ควรทำ หรือ ไม่ควรทำ โดยเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่ใช้กัน เรียกว่า Five Forces Model มาดูกันเลย
📌การวิเคราะห์ Five Forces Analysis
1. การคุกคามของคู่แข่งหน้าใหม่ (Threat of New Entrants) และ Barriers to entry
ความยากง่ายของการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ซึ่งมีผลต่อการคุกคามโดยการมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ใครมีโอกาสที่จะเป็นคู่แข่งรายใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาขึ้นมียอดขายสูงกำไรดี ก็เป็นเรื่องปกติที่คนอื่นจะให้ความสนใจอยากจะทำธุรกิจประเภทเดียวกันเพิ่มขึ้น และยิ่งอุปสรรคในการเริ่มต้นธุรกิจมีน้อยด้วยแล้วยิ่งทำให้อัตราการเกิดใหม่ของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่เราเคยได้รับลดน้อยลงไป
บางธุรกิจที่เป็นธุรกิจผูกขาดมีคู่แข่งไม่กี่ราย ก็จะรับผลกระทบจากแรงคุกคามข้อนี้น้อยลง หรือการเข้ามาในธุรกิจนี้ยาก ต้นทุนสูง ต้องมีความรู้ความชำนาญ ก็จะมีคู่แข่งน้อยและไม่สามารถมาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปได้
🔸ปัจจัยที่จะกำหนดความยากง่ายในการเข้าสู่ตลาด เช่น
- เงินลงทุนหรือทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำธุรกิจ
- เทคโนโลยีในการผลิต ลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิบัตร
- ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์
- ความจงรักภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์ในตลาด
- หากลูกค้าจงรักภักดีกับแบรนด์เดิมมาก
- คู่แข่งหน้าใหม่ก็จะเข้ามาแข่งขันยาก
- นโยบายในการควบคุมของรัฐ เช่น การกำหนดโควต้า การให้สัมปทาน การกำหนดมาตรฐานต่างๆ
- ถ้ามีการคุมเข้ม คู่แข่งหน้าใหม่ก็เข้ามาแข่งขันยาก
- การประหยัดจากขนาด (Economics of Scale) ถ้าธุรกิจที่อยู่ในตลาดมีการผลิตจำนวนมาก ต้นทุนก็จะถูกลง
- กำไรในอุตสาหกรรม ถ้ากำไรน้อย คู่แข่งก็ไม่อยากจะมาสู้ในธุรกิจนี้
🔸วิธีรับมือ
ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่รับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยปกติการมาของคู่แข่งรายใหม่มักจะมาด้วยสินค้าใหม่หรือการตัดราคา เราต้องวางแผนอย่างไรในการให้ลูกค้าซื้อหรือใช้บริการของเรา เราจะสร้างวิธีป้องกันไม่ให้เกิดคู่แข่งรายใหม่ๆ ได้อย่างไร สร้างข้อจำกัดในการเข้าสู่ธุรกิจ barrier to entry อย่างไร
2. การคุมคามจากสินค้าหรือการบริการทดแทน (Threat of Substitutes)
สินค้าที่มาทดแทนสินค้าที่เราขายหรือผลิตอยู่ แต่ไม่ใช่สินค้าประเภทเดียวกันหากแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานคล้ายกันหรือเหมือนกัน หรือสินค้าที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการบางอย่างได้คล้ายๆ กัน ทำให้เพิ่มทางเลือกแก่ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าทดแทนหากพิจารณาแล้วว่าคุ้มค่ากว่าสินค้าของเรา ยกตัวอย่างง่ายเลยเช่น ไม่กินข้าว กินก๋วยเตี๋ยว หรือ เนื้อหมูราคาแพง ก็ซื้อเนื้อไก่แทน ถ้าสินค้าที่แทนกันได้ง่ายๆ จะมีความเสี่ยงต่อธุรกิจสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านราคา แต่ภัยคุกคามในปัจจัยนี้ที่สำคัญยิ่งคือเทคโนโลยี การมาของสินค้าใหม่ เช่น รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จะมา disrupt รถที่เติมน้ำมันแน่นอน เหมือนกล้องดิจิตอล เข้ามาแทนที่ กล้องฟิลม์
🔸ปัจจัยที่จะกำหนดสินค้าทดแทนในการเข้าสู่ตลาด เช่น
- ความสมบูรณ์ในการทดแทน ถ้ายิ่งสินค้าไม่ต่างกันมาก ลูกค้าก็เปลี่ยนไปซื้ออีกอย่างได้ง่าย
- ระดับราคาของสินค้าทดแทนกัน
- Switching Costs ถ้าต้นทุนในการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าทดแทนต่ำ โอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปซื้อเจ้าอื่นก็ยิ่งมาก ถ้าต้นทุนในการเปลี่ยนสูงเช่น การเปลี่ยนซอฟต์แวร์การจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งถ้าเปลี่ยนระบบใหม่ ต้องมาลงสินค้าใหม่หมด
- ความชอบของลูกค้าและความจงรักภักดีต่อแบรนด์ เช่น coke กับ pepsi ทดแทนกันได้แต่บางคนก็เลือกกินเฉพาะแต่ละยี่ห้อ
- จำนวนทางเลือกของลูกค้า
- แนวโน้มผู้บริโภค
🔸วิธีรับมือ
ราคา ความแตกต่าง แบรนด์ และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้สินค้าเราโดดเด่นและแตกต่างจนหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้ยาก
3. อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power)
ลูกค้าของคุณคือใคร ผู้ซื้อหรือลูกค้านั้นมีอำนาจการต่อรองอย่างไร เช่น การขอให้ราคาซื้อสินค้าต่ำลง หรือการขอเพิ่มคุณภาพสินค้ามากขึ้น หากผู้ค้ายืนกรานที่จะไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าก็อาจจะทำให้ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าจากเจ้าอื่นซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปท่านอาจจะไม่เหลือลูกค้าเลยก็เป็นได้ ถ้าทำตามลูกค้าก็อาจส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ
🔸ปัจจัยที่ส่งผลต่ออำนาจการต่อรองของลูกค้า
- จำนวนของผู้ซื้อ หากผู้ซื้อมีจำนวนน้อยราย ธุรกิจต้องพึ่งพิงผู้ซื้อมาก อำนาจในการต่อรองของผู้ซื้อก็จะสูง
- ปริมาณที่ลูกค้าซื้อ หากผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก อำนาจในการต่อรองของผู้ซื้อก็จะสูง
- ความสมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสาร ยิ่งผู้ซื้อมีข้อมูลในมือ ครบถ้วนสมบูรณ์เท่าไหร่เค้าก็สามารถเปรียบเทียบ ทั้งราคาและคุณภาพ ของเรากับคู่แข่งได้มากเท่านั้น
- ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของผู้ผลิตรายอื่น (Switching Costs) ถ้า Switching Costs ต่ำ เค้าจะเปลี่ยนไปซื้อเจ้าไหนก็ได้
- สินค้าเรามีความยากง่ายในการผลิตหรือบริการ ซึ่งถ้าลูกค้าหาจากที่อื่นไม่ได้ อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะน้อย
🔸วิธีรับมือ
ต้องหาสมดุลความต้องการลูกค้ากับผลกำไรทางธุรกิจ หรือ ธุรกิจเราไม่ควรขึ้นกับลูกค้ารายใหญ่ไม่กี่ราย
4. อำนาจต่อรองจากคู่ค้า (Power of Suppliers)
ข้อนี้ดูได้ง่ายๆ ว่าถ้าคู่ค้าจะขึ้นราคา จะทำได้ง่ายหรือเปล่า โดยซัพพลายเออร์หรือคู่ค้า ซึ่งมีหน้าที่ส่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตให้กับเรา เช่นนั้นยิ่งซัพพลายเออร์ที่ผลิตวัตถุดิบชนิดนั้นๆ มีจำนวนน้อยรายด้วยแล้ว จะส่งผลให้อำนาจการต่อรองของเราน้อยลงไปอีกเพราะซัพพลายเออร์ที่มีน้อยรายมักจะรวมกลุ่มกันกำหนดราคาขายหรือลดคุณภาพลง โดยที่เราไม่สามารถต่อรองอะไรได้มากนัก และเมื่อเราซื้อวัตถุดิบมาในราคาสูงก็ส่งผลให้ต้นทุนผลิตของเราสูงขึ้น และหากราคาขายไม่สามารถขยับขึ้นได้ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงขึ้น
🔸ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอำนาจต่อรองของ suppliers
- จำนวนของ suppliers ถ้า suppliers มีน้อยราย อำนาจต่อรองของ suppliers จะสูง
- ขนาดของ suppliers ถ้า suppliers เป็นเจ้าใหญ่ อำนาจต่อรองของ suppliers จะสูง
- วัตถุดิบอื่นที่สามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ และมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
- จำนวนซัพพลายเออร์ต่อบริษัทที่ใช้บริการ ถ้าบริษัทขึ้นกับคู่ค้าเจ้าเดียว น่าจะมีปัญหาในอนาคต
🔸วิธีรับมือ
รวมกลุ่มในธุรกิจที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันเพื่อต่อรองกับซัพพลายเออร์และเพื่อซื้อสินค้าทีละมากๆ เพื่อให้ราคาของวัตถุดิบถูกลง
5. การแข่งขันของคู่แข่งในอุตสาหกรรม (Industry Rivalry)
การวิเคราะห์การแข่งขันที่รุนแรงของตลาดอันประกอบจากปัจจัย 4 ข้อข้างต้น อำนาจต่อรองจากลูกค้า อำนาจต่อรองจากซัพพลายเออร์ การคุกคามของผู้ประกอบการรายใหม่ และการคุกคามจากสินค้าทดแทน โดยหากวิเคราะห์โดยรวมแล้วตลาดนั้นๆ มีการแข่งขันสูง เราก็ควรเตรียมพร้อมให้ดี วางแผนกลยุทธ์ให้รัดกุมหากต้องการเข้าสู่ตลาดนั้นๆ เพื่อลดความเสี่ยงและเสริมสร้างให้องค์กรแข็งแกร่งต่อไป
🔸ปัจจัยที่จะกำหนดระดับของการแข่งขันของธุรกิจ
- จำนวนคู่แข่งในตลาด และ ขนาดของคู่แข่ง
- การแข่งขัน แข่งกันด้วยอะไร เช่น ตัดราคา อัดโฆษณา คุณภาพสินค้า
- โอกาสในการเติบโตของตลาด/อุตสาหกรรม หากตลาดที่เราจะเข้าไป ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ในอนาคต การแข่งขันก็อาจจะไม่รุนแรงนัก เพราะยังมีที่ว่างพอให้ธุรกิจแต่ละเจ้าได้ทำกำไร
- ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะตลาด ถ้าภาวะเศรษฐกิจดี ภาวะตลาดโต แต่ละรายมีอัตราเติบโตสูง กำไรเยอะ จะไม่ค่อยแข่งกัน แต่ถ้าตรงกันข้ามภาวะเศรษฐกิจแย่ ภาวะตลาดอิ่มตัว จะแข่งขันกันสูงแย่งส่วนแบ่งตลาดกันระหว่างคู่แข่ง
📌แรงกดดันทั้ง 5 มีค่าต่ำ ธุรกิจนั้นๆ ก็มีแนวโน้มน่าลงทุน
แรงกดดันทั้ง 5 มีค่าสูง ธุรกิจไม่น่าลงทุนหรือถ้าตัดสินใจเข้าไปลงทุน อาจจะเหนื่อยมากกว่าปกติหลายเท่า ซึ่งต้องมีจุดแข็ง ที่จะสู้รบกับการแข่งขันที่รุนแรงได้ เช่น สินค้าของคุณแตกต่าง การบริการขั้นสุดยอด หรือต้นทุนของคุณต่ำมากๆ เป็นต้น
📌ประโยชน์ของการวิเคราะห์ Five forces model
การวิเคราะห์ Five forces model เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจของเรากับสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเรา เพื่อเสริมให้ธุรกิจของเรานั้นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับมีดังนี้
- เข้าใจตลาดและปัจจัยภายนอกของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เพื่อวางกลยุทธ์หรือแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้องโดยใช้ควบคู่การวิเคราะห์ SWOT เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายใน
- เมื่อมองเห็นโอกาสหรืออุปสรรคแล้ว ธุรกิจสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของธุรกิจได้ เพื่อลดความกดดันในการแข่งขัน รวมถึงสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- ถ้าตั้งใจจะทำธุรกิจหรือเปิดกิจการใหม่ การใช้การวิเคราะห์ 5 forces model จะช่วยในการตัดสินใจทำหรือไม่ทำธุรกิจ
- สำหรับนักลงทุน เป็นเครื่องอีกตัวที่ใช้วิเคราะห์อุตสาหกรรมนั้นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นตัวนั้น
📌ข้อสังเกตเวลาใช้ Five forces model
แม้การใช้การวิเคราะห์ Five Forces จะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ก็เป็นโมเดลที่คิดตั้งแต่ปี 1979 หรือประมาณ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันตลาดหรืออุตสาหกรรมมากความซับซ้อนมากขึ้น ไม่หยุดนิ่ง และมีแรงที่ไม่ได้อยู่ใน 5 แรงนั้นมาเกี่ยวข้องด้วย บางธุรกิจอาจใช้ Five Forces มาวิเคราะห์ไม่ได้ และโมเดลนี้เป็นการวิเคราะห์เฉพาะเรื่องการแข่งขันอย่างเดียว และเป็นหาความได้เปรียบกับคู่แข่ง คู่ค้า และ ลูกค้า ซึ่งไม่ได้รวมถึงการร่วมมือกันของแต่ละฝ่าย
📌ข้อด้อยของ Five Forces Model
- ไม่ควรนำไปใช้ในธุรกิจผูกขาด เพราะแทบจะไม่มีแรงกดดันเลยสักข้อ เช่น การไฟฟ้า หรือ การท่าอากาศยาน (AOT) วิเคราะห์ 5 forces ไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
- ตลาดที่ทับซ้อนกัน บางอุตสาหกรรมก็แบ่งแยกชัดๆ ไม่ได้ เช่น
- ตลาดกล้องถ่ายรูป ก็มีคู่แข่งเป็นโทรศัพท์สมาร์ตโฟน หรือ ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ขายทุกอย่าง ถ้าเราทำร้านอาหารหรือร้านกาแฟจะนับ 7-11 เป็นคู่แข่งด้วยหรือไม่
- เนื่องจากไม่ได้สามารถวัดเป็นตัวเลขออกมาชัดเจน ดังนั้นการวิเคราะห์แต่ละปัจจัยแต่ละแรง อาจมาจากอคติ (Bias) ซึ่งทำให้การวิเคราะห์อาจคาดเคลื่อน
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments