How to ตั้งราคาขายสินค้า ที่พ่อค้าแม่ค้าต้องรู้❓
How to ตั้งราคาขายสินค้า ที่พ่อค้าแม่ค้าต้องรู้❓
การตั้งราคาสินค้า ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การขายสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการควรพิจารณาให้ดีว่า ราคาขายสินค้าที่ตั้งไปเหมาะสม ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ หรือมีเทคนิคอะไรในการกำหนดราคาขายที่จะทำให้เราสามารถ ตั้งราคาสินค้าและบริการสูง ๆ ได้โดยที่ลูกค้ายอมที่จะจ่าย
ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่อง การตั้งราคาขายสินค้าว่ามีวิธีการคิดราคาขายอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่าต่อธุรกิจ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ ไปดูกันเลย
🔸หลักการตั้งราคาสินค้า
ราคาสินค้า เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อยอดขายของเรา เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้พิจารณาว่าจะเลือกซื้อสินค้าจากเราหรือไม่ หลักการตั้งราคาสินค้าที่ดีต้องคำนึงว่า เราจะตั้งราคาขายสินค้า-บริการยังไงให้ได้กำไรสูงสุด ราคาต้องดึงดูด และต้องมีความเหมาะสมด้วย โดยหลักการตั้งราคาสินค้าประกอบด้วย 3 วิธีหลัก ได้แก่
1.หลักการตั้งราคาสินค้าจากต้นทุนสินค้า
คือ วิธีการตั้งราคาขาย จากต้นทุนของสินค้า (Markup on Cost) วิธีการนี้หลายคนนำไปใช้และเป็นที่นิยมเช่นกัน โดยเราจะต้องคำนวณต้นทุนของสินค้าต่อชิ้นให้ได้ก่อน เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าขนส่ง ฯลฯ จากนั้นจึงคิดว่าต้องการกำไรเท่าไหร่แล้วบวกเข้าไปเป็นราคาสินค้า เช่น คำนวณต้นทุนของสินค้าต่อชิ้นได้เท่ากับ 100 บาท ต้องการกำไร 40% ของต้นทุน หมายความว่า ต้องตั้งราคาขายสินค้าไว้ที่ 140 บาท/ชิ้น
2.หลักการตั้งราคาสินค้าจากราคาตลาด
คือ การออกไปสำรวจตลาดดูว่าราคาสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกับของเรา มีราคาตั้งขายเฉลี่ย ๆ อยู่ที่เท่าไหร่ แล้วตั้งราคาขายให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด โดยต้องไม่ลืมคำนึงถึงต้นทุนของเราด้วย หลักการนี้เหมาะกับการตั้งราคาสินค้าที่มีสินค้าทดแทนเยอะหรือสินค้าที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด
ในขณะที่สินค้าที่มีเอกลักษณ์ หายาก หรือไม่มีสินค้าอื่นมาทดแทนได้ เช่น สินค้าแฮนด์เมด หรือสินค้าที่ผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ แม้จะมีสินค้าทดแทนแต่ก็มีคุณค่าที่โดดเด่นต่างจากสินค้าอื่น ๆ ชนิดเดียวกัน จะสามารถตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาตามท้องตลาดได้
3.หลักการตั้งราคาสินค้าจากลูกค้าเป็นหลัก
เป็นวิธีการ ตั้งราคาสินค้า ที่อาจจะซับซ้อนหน่อยเพราะจับต้องได้ยาก คือ การตั้งราคาสินค้าโดยการศึกษาจริง ๆ ว่าลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรามีกำลัง มีความสามารถในการซื้อสินค้าบริโภคมากแค่ไหน โดยศึกษาได้จากพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ ความต้องการ ความคาดหวัง อาชีพ รายได้ ฯลฯ ซึ่งวิธีนี้ทำให้เราสามารถตั้งราคาขายสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 หลักการ การกำหนดราคาขายสินค้า จะเลือกใช้หลักการตั้งราคาเพียงข้อใดข้อหนึ่งเลยไม่ได้ เช่น เลือกใช้หลักการตั้งราคาจากต้นทุนและตั้งกำไรหรือราคา Markup ไว้สูง ๆ แต่ไม่ดูราคาตลาดของสินค้าทดแทนหรือสินค้าที่เหมือน ๆ กัน ก็อาจทำให้ การตั้งราคาขาย เกิดความผิดพลาด จนทำให้คนเลือกซื้อของจากร้านอื่นแทน ดังนั้นไม่ว่าจะเลือกหลักการการตั้งราคาขายไหน ก็ควรคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้ครบทุกด้านด้วย
🔸ตั้งราคาสินค้าอย่างไรดี
สูตรการตั้งราคาขายสินค้า หรือ การกำหนดราคาขาย นับเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ประกอบการควรเรียนรู้ เพื่อให้สามารถตั้งราคาให้โดนใจ ดึงดูดและโดดเด่น ช่วยสร้างยอดขายให้พุ่งกระฉูดได้แน่นอน สำหรับ วิธีการตั้งราคาขายสินค้า ก็สามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับใช้ได้
1.ตั้งราคาสินค้า – บริการ ให้ดึงดูด
ราคาที่ดึงดูดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เชื่อว่าเราคงเคยเห็นเทคนิคการตั้งราคาสินค้าลงท้ายด้วย 99 เช่น 199 บาท หรือ 499 บาท หรือที่เรียกว่า Decoy pricing เป็นการตั้งราคาด้วยหลักจิตวิทยา เป้าหมายคือการดึงดูด และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าชิ้นนี้ราคาไม่แพงและยังคุ้มค่าอยู่ แต่จริง ๆ แล้วถ้าเพิ่มอีก 1 บาท เช่น ตั้งราคา 200 บาทเลย หรือ 500 บาท ลูกค้าจะรู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพงกว่า เป็นการตั้งราคาขายโดยอาศัยความรู้สึกของผู้ซื้อที่มีต่อราคา
2.ตั้งราคาสินค้าให้คำนวณง่าย
หลายครั้งที่ การตั้งราคาขาย ให้คำนวณได้ง่าย ๆ จะช่วยสร้างยอดซื้อจากลูกค้าได้มากกว่า 1 ชิ้น เพราะช่วยลดความซับซ้อนและระยะเวลาในการคิดคำนวณของลูกค้า ช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าของเราได้ง่ายยิ่งขึ้น เทคนิค การคิดราคาขายสินค้า แบบนี้เหมาะกับสินค้าที่ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้อย่างรวดเร็ว สามารถซื้อครั้งละหลาย ๆ ชิ้นได้ เช่น ของใช้ส่วนตัวอย่าง สบู่ แชมพู หรือ ขนมขบเคี้ยว เทคนิคการตั้งราคาขายแบบนี้อาจไม่มีผลกับของใช้ที่ลูกค้าต้องตัดสินใจซื้อนาน หรือต้องมีการหาข้อมูลมาแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์
3.สินค้าคุณภาพดีตั้งราคาสูงได้
ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นสินค้าที่คุณภาพดีเท่านั้น การสื่อสารไปยังลูกค้าให้ได้รับรู้ถึงมูลค่าและคุณภาพที่ดีเยี่ยมของสินค้าก็สำคัญ ถ้าเราสามารถสร้างสตอรี่ที่เพิ่มมูลค่าของสินค้าให้โดดเด่นและแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันได้ เราก็จะสามารถตั้งราคาขายให้สูงกว่าราคาตลาดได้ เช่น การบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ผลิตสินค้า กรรมวิธีต่าง ๆ ที่พิถีพิถันในการสร้างสินค้าชิ้นนี้ขึ้นมา
4.ตั้งราคาต่ำทำโปรโมชั่นเพิ่มยอดขาย
หาจังหวะกระตุ้นความสนใจของลูกค้าด้วยราคาโปรโมชั่นสุดพิเศษ หรือจะใช้ราคาเดิมแต่มีของแถมก็ได้ แต่การตั้งราคาขายสินค้าแบบนี้ควรจัดทำเป็นครั้งคราวเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความพิเศษในการเลือกซื้อสินค้าในบางช่วงเวลาเท่านั้น ที่สำคัญต้องมีการกำหนดวันเวลาให้ชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการซื้อสินค้าราคาถูก และต้องประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบมากที่สุดเพื่อให้การจัดโปรมีประสิทธิภาพมากที่สุด
5.ต้องไม่ตั้งราคาต่ำจนไม่มีกำไร
การตั้งราคาขาย ถูกจนเกินไปนั้นไม่ใช่ข้อดีเสมอไป โดยเหตุผลหนึ่งก็คือ ลูกค้าอาจมองว่าสินค้าของเราไม่มีคุณภาพ และอาจทำให้ไม่มั่นใจที่จะซื้อสินค้าและบริการใช้นั่นเอง อีกอย่างหนึ่งคือ การตั้งราคาขายที่ถูกมาก ๆ เหลือกำไรเพียงน้อยนิด จะทำให้ไม่มีช่องว่างในการจัดทำโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการขาย
6.เสนอการจ่ายเงินเป็นงวด
เหมาะกับสินค้าที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการซื้อและเป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนานเช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์มือถือ การเสนอการจ่ายเงินแบบเป็นงวด จะได้ผลดีกว่าตรงที่ลูกค้าสามารถได้สินค้าไปด้วยการจ่ายเงินเป็นก้อน ๆ หลาย ๆ งวดก็จริง แต่ก็มีจำนวนน้อยลง ไม่ต้องวางเงินก้อนใหญ่ซื้อสินค้าในครั้งเดียว
7.แยกราคาขนส่งออกจากราคาขาย
ปัจจุบันการซื้อสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ง่ายด้วยการเข้าเว็บไซต์ การแยกค่าขนส่งออกจากราคาขายทำให้ลูกค้าทราบราคาของสินค้าจริง ๆ และยิ่งถ้าไปเปรียบเทียบกับร้านค้าที่รวมค่าขนส่งไปในราคาขาย สินค้าของเราก็จะมีราคาถูกกว่าด้วย
🔸ต้นทุนมาจากไหน
เมื่อพูดถึงต้นทุน หลายคนจะนึกถึงต้นทุนขาย เช่น ต้นทุนในการซื้อสินค้า วัตถุดิบ หรือต้นทุนหลักๆ ที่ทำให้ได้มาซึ่งสินค้า แต่ความเป็นจริงแล้ว ต้นทุนที่ว่านั้นต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนตามการประกอบของธุรกิจ โดยคิดจากต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมด ได้แก่
- ต้นทุนคงที่ต่างๆ เช่น ค่าเช่า ค่าพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
- ต้นทุนผันแปร เช่น วัตถุดิบ สินค้า ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ได้สินค้ามา
- ต้นทุนอื่นๆ ในการจัดการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าโฆษณา ฯลฯ
🔸หลังจากที่ได้ต้นทุนมาแล้วยังไงต่อ?
ดังนั้นเรามาดูกันต่อว่า สิ่งที่ต้องคิดหลังจากได้ราคาทุนมาแล้วคืออะไร โดยส่วนตัวผมให้ความสำคัญต่อในอีก 3 เรื่อง
1. ประเด็นด้านภาษี ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ คือ
- ราคาขายรวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ในกรณีที่เป็นสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากต้องรวมเราจะสามารถบวกเข้าไปได้ 7% เพื่อผลักภาระให้กับผู้บริโภคได้หรือเปล่า
- กำไรที่ได้ต้องจ่ายภาษีด้วย หลังจากขายแล้วมีกำไรแล้ว กำไรส่วนหนึ่งอาจจะต้องแบ่งไปจ่ายภาษีเงินได้ด้วย เรามีต้นทุนภาษีเงินได้อีกเท่าไร เช่น บุคคลธรรมดาเราเสียภาษีอยู่ในฐานไหน หรือนิติบุคคลเราเสียภาษีอยู่ในอัตรา SMEs หรือ อัตรา 20%
2. ประเด็นด้านกลยุทธ์ธุรกิจ
ภาพลักษณ์ของแบรนด์ กลุ่มลูกค้า ภาพรวมของสินค้าหรือบริการแต่ละประเภทที่มี รวมถึงวัตถุประสงค์ของสินค้าตัวนี้ในการขาย (เช่น ขายเพื่อส่งเสริมการขายตัวอื่น)
3. ประเด็นด้านการแข่งขัน
การตั้งราคานี้สามารถใช้แข่งขันได้หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่มองที่การแข่งขันด้านราคาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองในแง่ของคุณค่าเทียบกับราคาที่ลูกค้าได้รับ (จากกลุ่มลูกค้าที่เรากำหนด) จนถึงเผื่อราคาการตลาดเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น การมีตัวแทนขายสินค้า การให้ส่วนลดลูกค้าที่ซื้อจำนวนมาก การตั้งราคาต้องเผื่อหักส่วนลดบางกรณี ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Commenti