top of page

วิธีสมัคร Google Analytics และติดตั้งบนเว็บไซต์ด้วยตัวเอง


  วิธีสมัคร Google Analytics และติดตั้งบนเว็บไซต์ด้วยตัวเอง  ในบทความนี้จะขอนำเสนอเว็บไซต์ที่จะช่วยให้คนทำธุรกิจนั้นนำไปวางแผนเพื่อการวิเคราะห์การตลาดได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ  🔹ทำความรู้จักกับ Google Analytics  คือเครื่องมือที่จะช่วยคุณในการเก็บสถิติในการเข้าชมเว็บไซต์ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ว่ามีลักษณะการใช้เว็บไซต์อย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น ผู้เข้าชมนั้นเข้าเว็บไซต์นี้มาจากช่องทางไหน อายุเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์นั้นจะทำข้อมูลสรุปออกมาได้ในหลายๆ ลักษณะและหลายๆ รูปแบบ ทั้งในแบบของแผนภูมิวงกลม แผนภูมิกราฟ หรือในแบบตาราง ซึ่งข้อมูลที่ทำสรุปออกมานั้นจะสามารถทำให้คุณนั้นเห็นภาพรวมต่างๆ ของเว็บไซต์ของคุณได้นั่นเอง  🔹วิธีการสมัคร Google Analytics  1.ทำการสมัครใช้งาน Google Analytics  ให้คุณนั้นเข้าทำการสมัครใช้งาน Google Analytics ที่เว็บไซต์ analysis.google.com ด้วยบัญชีแอ็กเคานต์ในรูปแบบ Gmail (ถ้าหากคุณไม่มีบัญชี Gmail ให้คุณนั้นทำการสมัคร Gmail ให้เรียบร้อยก่อน)  2.ทำการตั้งค่าแอ็กเคานต์ของคุณ ในขั้นตอนแรกนั้นให้คุณนั้นทำการระบุชื่อของคุณในแอ็กเคานต์ของคุณให้เรียบร้อย ซึ่งขอแนะนำให้คุณนั้นใส่เป็นชื่อที่เป็นของบริษัท ชื่อแบรนด์สินค้า ซึ่งในหนึ่งแอ็กเคานต์นั้นคุณสามารถที่จะสร้าง property ได้หลากหลายเว็บไซต์ภายในหนึ่งแอ็กเคานต์ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสมัครใหม่  3.ทำการเลือกช่องทางในการที่จะวัดผล มาถึงขั้นตอนนี้ให้คุณนั้นทำการเลือกช่องทางสำหรับที่จะทำการติดตั้ง Google Analytics เพื่อที่จะวัดผล โดยที่คุณนั้นสามารถเลือกที่จะติดตั้งบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือจะทั้งสองช่องทางเลยได้เช่นกันค่ะ  4.ทำการระบุเว็บไซต์ และทำการเลือกประเภทของธุรกิจ และในส่วนนี้ให้คุณนั้นทำการระบุชื่อเว็บไซต์ และ URL ของเว็บไซต์ หลังจากนั้นให้คุณนั้นทำการเลือกประเภทของธุรกิจของคุณให้ตรงและมีความใกล้เคียง และรวมถึงการเลือก Time Zone เป็นประเทศไทย หรือประเทศที่คุณต้องการได้เลยค่ะ  5.การกดยอมรับเงื่อนไข ซึ่งหลังจากที่คุณนั้นทำการกดสร้างแอ็กเคานต์ของคุณแล้วนั้น ตัวระบบจะปรากฏหน้าต่างของเว็บไซต์เงื่อนไขในการใช้งาน ให้คุณนั้นทำการเลือกประเทศไทย และทำการอ่านเงื่อนไขให้เรียบร้อยและทำการกดยอมรับเพื่อกดดำเนินการต่อ  6.นำ Tracking เพื่อนำไปติดตั้ง จากนั้นคุณจะได้ Tracking ID สำหรับนำไปใช้ในการติดตั้ง โดยที่วิธีการติดตั้งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ 2 รูปแบบ คือ การติดตั้งในแบบ Hard Code ที่ค่อนข้างจะมีความซับซ้อน ซึ่งคุณนั้นจะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการเขียนโค้ด และอีกหนึ่งวิธีนั้นคือการติดตั้งผ่านทางตัวช่วยต่างๆ ซึ่งในบทความนี้จะทำการสอนคุณติดตั้งด้วย Google Tag Manager   🔹วิธีติดตั้งด้วย Google Tag Manager  ให้คุณนั้นทำการสมัครพร้อมทั้งทำการติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์ให้เรียบร้อย และเมื่อคุณนั้นทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วต่อมาให้คุณนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลยค่ะ  1.การสร้าง Tag ขึ้นมาใหม่ เมื่อคุณนั้นทำการกดเข้ามาในหน้าของเว็บไซต์ Google Tag Manager ให้คุณทำการกดไปที่เมนูทางด้านซ้าย และทำการกด New เพื่อทำการสร้าง Tags ขึ้นมาใหม่นั่นเอง  2.ให้คุณทำการเลือก Tag ที่ต้องการตัดทิ้งไป ในขั้นตอนนี้นั้นให้คุณนั้นทำการเลือก Google Analytics : Universal Analytics ซึ่งจะแสดง Tag เป็นตัวแรกสุด  3.ให้คุณทำการตั้งค่า Variable และทำการใส่ Tracking ID หลังจากนั้นให้คุณนั้นทำการกดไปที่เครื่องหมายที่เป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เพื่อทำการเลือกสร้าง New Variable จากนั้นระบบจะทำการปรากฏหน้าต่างสำหรับใช้ในการใส่ tracking ID ของ Google Analytics ให้คุณนั้นทำการกรอกเลข ID ให้ครบ และในส่วนของ Cookie Domain คุณสามารถที่จะตั้งเป็น Auto ได้  4.การตั้งค่า Trigger  ในส่วนของขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดการทำงานของ Tag ซึ่งให้คุณนั้นทำการกดเครื่องหมายดินสอ เพื่อที่จะทำการตั้งค่า Trigger โดยให้คุณนั้นทำการเลือกให้เป็น All Pages และเพื่อที่จะให้ Tag ทำงานในทุกหน้าเว็บไซต์นั่นเอง  5.กด Submit เพื่อทำการติดตั้ง Tag และให้กด Publish เพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน หลังจากที่คุณนั้นได้กดบันทึก Tag ไปแล้วนั้น ตัว Tag จะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที คุณจะต้องทำการกด Submit ซะก่อน โดยที่ตัวระบบจะทำการปรากฏหน้าต่างในเว็บไซต์เพื่อให้คุณนั้นกรอกรายละเอียด และเพื่อบันทึกข้อมูลในแต่ละเวอร์ชันของ Tag และจากนั้นให้คุณทำการกด Publish เพื่อที่จะทำให้ Tag นั้นเริ่มต้นการทำงาน  เพียงเท่านี้คุณก็สามารถที่ทำการติดตั้ง Google Analytics ได้แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน แล้วพบกันใหม่กับบทความต่อไป  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >> https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

วิธีสมัคร Google Analytics และติดตั้งบนเว็บไซต์ด้วยตัวเอง


ในบทความนี้จะขอนำเสนอเว็บไซต์ที่จะช่วยให้คนทำธุรกิจนั้นนำไปวางแผนเพื่อการวิเคราะห์การตลาดได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ


🔹ทำความรู้จักกับ Google Analytics

คือเครื่องมือที่จะช่วยคุณในการเก็บสถิติในการเข้าชมเว็บไซต์ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ว่ามีลักษณะการใช้เว็บไซต์อย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น ผู้เข้าชมนั้นเข้าเว็บไซต์นี้มาจากช่องทางไหน อายุเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์นั้นจะทำข้อมูลสรุปออกมาได้ในหลายๆ ลักษณะและหลายๆ รูปแบบ ทั้งในแบบของแผนภูมิวงกลม แผนภูมิกราฟ หรือในแบบตาราง ซึ่งข้อมูลที่ทำสรุปออกมานั้นจะสามารถทำให้คุณนั้นเห็นภาพรวมต่างๆ ของเว็บไซต์ของคุณได้นั่นเอง


🔹วิธีการสมัคร Google Analytics

1.ทำการสมัครใช้งาน Google Analytics

ให้คุณนั้นเข้าทำการสมัครใช้งาน Google Analytics ที่เว็บไซต์ analysis.google.com ด้วยบัญชีแอ็กเคานต์ในรูปแบบ Gmail (ถ้าหากคุณไม่มีบัญชี Gmail ให้คุณนั้นทำการสมัคร Gmail ให้เรียบร้อยก่อน)


2.ทำการตั้งค่าแอ็กเคานต์ของคุณ

ในขั้นตอนแรกนั้นให้คุณนั้นทำการระบุชื่อของคุณในแอ็กเคานต์ของคุณให้เรียบร้อย ซึ่งขอแนะนำให้คุณนั้นใส่เป็นชื่อที่เป็นของบริษัท ชื่อแบรนด์สินค้า ซึ่งในหนึ่งแอ็กเคานต์นั้นคุณสามารถที่จะสร้าง property ได้หลากหลายเว็บไซต์ภายในหนึ่งแอ็กเคานต์ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสมัครใหม่


3.ทำการเลือกช่องทางในการที่จะวัดผล

มาถึงขั้นตอนนี้ให้คุณนั้นทำการเลือกช่องทางสำหรับที่จะทำการติดตั้ง Google Analytics เพื่อที่จะวัดผล โดยที่คุณนั้นสามารถเลือกที่จะติดตั้งบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือจะทั้งสองช่องทางเลยได้เช่นกันค่ะ


4.ทำการระบุเว็บไซต์ และทำการเลือกประเภทของธุรกิจ

และในส่วนนี้ให้คุณนั้นทำการระบุชื่อเว็บไซต์ และ URL ของเว็บไซต์ หลังจากนั้นให้คุณนั้นทำการเลือกประเภทของธุรกิจของคุณให้ตรงและมีความใกล้เคียง และรวมถึงการเลือก Time Zone เป็นประเทศไทย หรือประเทศที่คุณต้องการได้เลยค่ะ


5.การกดยอมรับเงื่อนไข

ซึ่งหลังจากที่คุณนั้นทำการกดสร้างแอ็กเคานต์ของคุณแล้วนั้น ตัวระบบจะปรากฏหน้าต่างของเว็บไซต์เงื่อนไขในการใช้งาน ให้คุณนั้นทำการเลือกประเทศไทย และทำการอ่านเงื่อนไขให้เรียบร้อยและทำการกดยอมรับเพื่อกดดำเนินการต่อ


6.นำ Tracking เพื่อนำไปติดตั้ง

จากนั้นคุณจะได้ Tracking ID สำหรับนำไปใช้ในการติดตั้ง โดยที่วิธีการติดตั้งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ 2 รูปแบบ คือ การติดตั้งในแบบ Hard Code ที่ค่อนข้างจะมีความซับซ้อน ซึ่งคุณนั้นจะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการเขียนโค้ด และอีกหนึ่งวิธีนั้นคือการติดตั้งผ่านทางตัวช่วยต่างๆ ซึ่งในบทความนี้จะทำการสอนคุณติดตั้งด้วย Google Tag Manager


🔹วิธีติดตั้งด้วย Google Tag Manager

ให้คุณนั้นทำการสมัครพร้อมทั้งทำการติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์ให้เรียบร้อย และเมื่อคุณนั้นทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วต่อมาให้คุณนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลยค่ะ


1.การสร้าง Tag ขึ้นมาใหม่

เมื่อคุณนั้นทำการกดเข้ามาในหน้าของเว็บไซต์ Google Tag Manager ให้คุณทำการกดไปที่เมนูทางด้านซ้าย และทำการกด New เพื่อทำการสร้าง Tags ขึ้นมาใหม่นั่นเอง


2.ให้คุณทำการเลือก Tag ที่ต้องการตัดทิ้งไป

ในขั้นตอนนี้นั้นให้คุณนั้นทำการเลือก Google Analytics : Universal Analytics ซึ่งจะแสดง Tag เป็นตัวแรกสุด


3.ให้คุณทำการตั้งค่า Variable และทำการใส่ Tracking ID

หลังจากนั้นให้คุณนั้นทำการกดไปที่เครื่องหมายที่เป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เพื่อทำการเลือกสร้าง New Variable จากนั้นระบบจะทำการปรากฏหน้าต่างสำหรับใช้ในการใส่ tracking ID ของ Google Analytics ให้คุณนั้นทำการกรอกเลข ID ให้ครบ และในส่วนของ Cookie Domain คุณสามารถที่จะตั้งเป็น Auto ได้


4.การตั้งค่า Trigger

ในส่วนของขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดการทำงานของ Tag ซึ่งให้คุณนั้นทำการกดเครื่องหมายดินสอ เพื่อที่จะทำการตั้งค่า Trigger โดยให้คุณนั้นทำการเลือกให้เป็น All Pages และเพื่อที่จะให้ Tag ทำงานในทุกหน้าเว็บไซต์นั่นเอง


5.กด Submit เพื่อทำการติดตั้ง Tag และให้กด Publish เพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน

หลังจากที่คุณนั้นได้กดบันทึก Tag ไปแล้วนั้น ตัว Tag จะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที คุณจะต้องทำการกด Submit ซะก่อน โดยที่ตัวระบบจะทำการปรากฏหน้าต่างในเว็บไซต์เพื่อให้คุณนั้นกรอกรายละเอียด และเพื่อบันทึกข้อมูลในแต่ละเวอร์ชันของ Tag และจากนั้นให้คุณทำการกด Publish เพื่อที่จะทำให้ Tag นั้นเริ่มต้นการทำงาน


เพียงเท่านี้คุณก็สามารถที่ทำการติดตั้ง Google Analytics ได้แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน แล้วพบกันใหม่กับบทความต่อไป


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 3 ครั้ง

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด

コメント


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page