ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
เมื่อมีการทำธุรกิจก็ต้องมีปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินตามมา ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยอย่างเช่น สภาพเศรษฐกิจ คู่ค้า ธุรกิจของเราจะไปต่อได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ การจัดการ การตัดสินใจในตอนนั้น
ประเภทของทรัพย์สิน
ในการทำธุรกิจเราก็ต้องมีทรัพย์สินของบริษัทหรือส่วนรวม ซึ่งบางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ต้องผลิตสินค้าจำนวนมาก ก็อาจจะมากทรัพย์สินมากหรือมีครบทุกข้อ
- ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น ความนิยม เครื่องหมายทางการค้าต่างๆ กระแส การบริการ
- ทรัพย์สินที่มีตัวตน เช่น คลังสินค้า เครื่องจักรกล โรงงาน พื้นที่ สินค้า
- ทรัพย์สินทางการเงิน เช่น บัญชี เงิน หุ้นที่ลงทุน
ธุรกิจเราเข้าขั้นขาดสภาพคล่องหรือยัง
- บัญชี
เปรียบเหมือนการจดรายรับ-รายจ่าย บัญชีมีความสำคัญมากในการช่วยให้เราเห็นภาพรวมของการทำงานมากขึ้นว่าตรงไหนลงทุนไปเท่าไหร่ ตรงไหนที่ควรลดการลงทุน ไม่งั้นเราจะไม่รู้การเคลื่อนไหวของเงินในบริษัท ทำให้พอถึงยามที่ต้องใช้จ่ายก้อนใหญ่อาจจะทำให้ช็อตแล้วหาเงินมาได้ไม่ทัน ไปจนถึงเสียหลายๆ โอกาสในการพัฒนาธุรกิจ
- ทุนหมุนเวียน
การหมุนเวียนเงินในการดำเนินธุรกิจไปวันต่อวัน อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้รายรับ-รายจ่ายเลยก็คือเงินเหลือ เช่น รายได้เราน้อยกว่ารายจ่าย ยอดที่ขาดหายไปคือเงินเหลือ ที่เราต้องพยายามกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ลดส่วนของเงินเหลือไป
- สินค้า
สินค้าแต่ละชนิด แต่ละธุรกิจ มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำธุรกิจแบบที่มีสินค้าหลายรูปแบบล่ะ เราจะต้องลงทุนสูงมากในการเก็บรักษาคุณภาพของสินค้าให้ดีอยู่เสมอจนกว่าจะถึงมือลูกค้า เช่น ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ที่ต้องแช่แข็ง มีคลังเก็บอาหารที่มีตู้แช่ ต้องมีการจัดสรรพื้นที่แบ่งหมวดหมู่ เพิ่มห้องสำหรับเก็บสินค้าอีกมากมาย เป็นต้นเหตุของการเสียเงินไปกับรายจ่ายเพิ่มเติมที่ตามมาทีหลัง ไม่ว่าจะค่าที่ ค่าพนักงาน ค่าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ
วิธีการจัดการ
- ควบคุมระบบการเงิน
พอเรามีบัญชีที่ช่วยในการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย เราก็ต้องย้อนกลับมามองภาพรวมอีกครั้งว่าถ้าเราลงทุนตรงส่วนนี้จะคุ้มหรือไม่ แล้วลงทุนกับส่วนไหนดีกว่า เช่น ลงทุนกับสินค้าทั่วไป กับ สินค้าที่กำลังเป็นกระแส ขายดี แน่นอนการเลือกลงทุนในการผลิตสินค้าที่ขายดีย่อมดีต่อการสร้างรายได้กลับมาให้เรามากกว่า เราควรมองภาพว่าส่วนไหนที่จำเป็น ควรลงทุนมากกว่า ส่วนที่ยังไม่มีความจำเป็นเราก็สามารถลดงบในส่วนนั้นก่อนเพื่อเอาเงินไปเพิ่มในส่วนอื่นได้
- รักษาเงิน
เมื่อลูกค้าทำการซื้อสินค้าเรา ทำให้เรามีรายได้เพิ่ม เราก็ควรตอบแทน หรือเรียกว่าเป็นการกระตุ้นเพื่อให้ลูกค้ามีความต้องการสินค้าของเรา สร้างจุดยืน เสนอความแตกต่าง จุดแข็งของสินค้าเรา ทำให้ลูกค้าหน้าเก่าอยากกลับมาซื้อสินค้าของเรา ลูกค้าใหม่อยากลองซื้อสินค้าของเรา
- บริหารคลัง
ทำการเช็กสินค้าในคลังว่าสินค้าชิ้นไหนที่เหลือมากเหลือน้อย ทำการสำรวจแล้ววางแผนแก้ไขปัญหา สินค้าที่ขายไม่ค่อยได้ อาจจะเอาไปทำการจัดโปรโมชันช่วยเสริมในการขายก็ได้ ส่วนสินค้าที่ขายดี เป็นที่นิยม เราก็ทำการลงทุนเพิ่ม
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Kommentare