วิกฤติเศรษฐกิจในอดีต
วิกฤติเศรษฐกิจในอดีต
โรคระบาดโควิด-19 (Covid-19 Crisis)
เป็นวิกฤติที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ทำให้ทั่วโลกหยุดชะงักไปกว่า 1 ไตรมาส ซึ่งความแตกต่างของโรคระบาดนี้แตกต่างจากวิกฤติครั้งก่อนในหลายแง่ ดังนี้
- ความรุนแรงของเศรษฐกิจที่หดตัวมากกว่าในอดีต จากการปิดประเทศทั่วโลกทำให้ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1-2 หดตัวทั่วโลก
- ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ช้ากว่าในอดีต เนื่องจากมีผลกระทบหลายทางทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง นักวิชาการจึงคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวจะใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งช้ากว่าวิกฤติอื่น ๆ
- ศักยภาพของเศรษฐกิจที่อาจปรับตัวลง เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนทำให้เศรษฐกิจก็เปลี่ยนไปด้วย ทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อประคองต่อไปได้
วิกฤติต้มยำกุ้ง (Asian Financial Crisis)
มีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 14,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการดำเนินการผลิตเพื่อการส่งออกในช่วงก่อนหน้านั้น
- ปัญหาหนี้ต่างประเทศ หนี้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนมากถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศรวม
- การลงทุนที่เกินตัวและฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ จากที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้ลงทุนเข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างล้นหลาม จนเกิดเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
- การโจมตีค่าเงินบาท เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมมานาน ทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาสโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปค่าที่อ่อนกว่าถึง 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
วิกฤติฟองสบู่ดอทคอม (Dot Com Crisis)
ช่วงปี 1995 นักลงทุนในตลาดคาดหวังในหุ้นเทคโนโลยีไว้อย่างมาก ว่าผลประกอบการจะออกมาดีอย่างต่อเนื่องและเติบโตได้ถึงที่สุด ในช่วงนั้นหุ้นเทคโนโลยีเข้ามา IPO เป็นจำนวนมาก ผู้คนต่างทำเงินจากหุ้นเหล่านี้ได้อย่างมหาศาล ทำให้ P/E ในการซื้อขายสูงกว่า 100 เท่า ส่งผลให้ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้นจาก 800 จุด ไปที่ 5,000 จุด ในระยะเวลาแค่ 5 ปี (1995-2000) ซึ่งมันดูโอเวอร์เกินกว่าที่ควรจะเป็น ฟองสบู่ที่เคยพองก็เริ่มจะระเบิดออก จากนั้นก็เกิดการเทขายหุ้นขึ้นมา ทำให้ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงสู่จุดต่ำสุดในปี 2002 อยู่ที่ 1,100 จุดกว่า ๆ เป็นผลขาดทุน 78% จากจุดสูงสุดเมื่อต้นปี 2000
วิธีการเตรียมตัวรับมือวิกฤติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- มีรายได้หลายทาง คือ ให้มีทักษะมากกว่าหนึ่งอย่าง
- บริหารหนี้สินให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
- เตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยง โดยการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบ และนึกถึงสภาพคล่องของตนเองด้วย
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments