ชี้ช่องรวย เปิดร้านขายของชำ ขายดี กำไรรวย❗
ชี้ช่องรวย เปิดร้านขายของชำ ขายดี กำไรรวย❗
ร้านขายของชำ” หรือเรียกให้ทันยุคสมัย คือ ร้านมินิมาร์ท ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจยอดนิยมในไทย ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะเจอกับร้านขายของทุกที่ วันนี้ ฃี้ช่องรวย จึงอยากจะมาแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจนี้ให้กับใครก็ตามที่กำลังวางแผนจะเปิดร้านได้ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร และเตรียมตัวอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง?
1. ศึกษาตลาด และศึกษาคู่แข่ง
ร้านขายของชำ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากเพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะเจอร้านขายของอยู่ทุกที่ แต่ใช่ว่ามีร้านเปิดอยู่แล้วเราจะเปิดอีกไม่ได้ อยากให้ลองสังเกตุดูว่า หากคิดจะเปิดร้านขายของชำในหมู่บ้านหรือพื้นที่ไหน ก็ต้องดูว่า คนในพื้นที่นั้นยังต้องการสินค้าประเภทใดบ้าง
โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ร้านขายของชำ มินิมาร์ท และร้านสะดวกซื้อทั่วไปมีบริการ ได้แก่ อาหารพร้อมทาน อาหารแห้ง เครื่องดื่ม ของใช้ เป็นต้น ดังนั้น เราควรดูว่ามีสินค้าประเภทใดที่ยังขาดอยู่ แล้วเลือกสินค้านั้นมาขายให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พยายามมีสินค้าให้หลากหลาย ความหลากหลายจะช่วยดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าเข้าร้านมากขึ้น
2. ศึกษาขั้นตอนการจดทะเบียน
หากคุณกำลังวางแผนเปิดร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือว่าร้านสะดวกซื้อ ก็ต้องมีการยื่นเอกสารเพื่อการจดทะเบียนร้านหรือจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า/บุคคลธรรมดา ซึ่งตามหลักของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีการเตรียมเอกสารเพื่อใช้ควบคู่กับการดำเนินการ ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านของเจ้าของหรือของผู้จัดการแล้วแต่กรณี
- หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
- สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ให้เช่า
- แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่
- หนังสือมอบอำนาจ/สำเนาบัตรประชาชนประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
ทั้งนี้สามารถดูเอกสารในการจดทะเบียนพาณิชย์ได้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย ! และเมื่อคุณเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ก็จะช่วยให้จดทะเบียนร้านขายของชำ, ร้านโชห่วย, มินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อของคุณได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
หมายเหตุ :
- ในการจดทะเบียนพาณิชย์คุณจะต้องตั้งชื่อร้านไปด้วย
- หากจะขายเหล้า บุหรี่ ในการจดทะเบียนพาณิชย์คุณจะต้องตั้งชื่อร้านไปด้วย
3. เปิดร้านขายของชำในรูปแบบที่ต้องการ
- กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือ กิจการที่ดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียวทั้งหมด ข้อดีคือ จัดตั้งง่าย เจ้าของมีอิสระในการตัดสินใจ ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการบริหารมาก และสามารถเลิกกิจการได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือ อาจจะขาดความน่าเชื่อถือ หาเงินทุนยาก ไม่มีคนช่วยคิดและวางแผน เสียเปรียบภาษีอากร และก็อาจจะมีข้อจำกัดเมื่อต้องการขยายกิจการ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ (General Partnership) หรือ (Ordinary Partnership) คือ กิจการที่มีเจ้าของ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว แต่หุ้นส่วนทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบในการชำระหนี้สินร่วมกัน สามารถเลือกได้ว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบไม่ได้จดทะเบียน ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถฟ้องร้องใครก็ได้เมื่อเกิดคดีความ และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลที่แยกจากหุ้นส่วน หากทรัพย์สินของห้างไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ จะฟ้องร้องในนามของห้างหุ้นส่วนก่อน แล้วค่อยฟ้องร้องในหุ้นส่วนต่อไป
- หุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องทะเบียน และหากมีการดำเนินการนิติกรรมใด ๆ จะต้องทำในนามของห้างหุ้นส่วน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นกัน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดชอบ คือรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน โดยหุ้นส่วนไม่มีสิทธิ์จัดการห้างหุ้นส่วน สามารถแสดงความคิดเห็นได้เท่านั้น ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วไม่สามารถนำชื่อหุ้นส่วนชนิดจำกัดความรับผิดชอบมาตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน และหากหุ้นส่วนนี้ตายหรือล้มละลาย กิจการก็จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนแบบที่ 2 คือ หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ คือ รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน ต้องมีอย่างน้อย 1 คน ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์จัดการงานของห้างหุ้นส่วน
- บริษัทจำกัด (Limited Corporation) คือ กิจการที่เกิดจากการร่วมทุนของกลุ่มคนที่ทำธุรกิจร่วมกัน มีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 3 คน ทุนแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่เรียกว่า หุ้น และผู้ถือหุ้นสามารถโอนขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้ ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ และเป้าหมายของกิจการชนิดนี้ก็คือการหากำไรมาแบ่งกัน ข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของคนเดียว บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มในการขายหุ้น ส่วนข้อเสียคือ ขั้นตอนการจัดการค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เงินในการบริหารสูง ความลับเปิดเผยง่าย และอาจต้องจ้างคนนอกบริษัทเข้ามาช่วยงานในบางส่วน
เห็นรูปแบบของการจัดตั้งกิจการแล้วเป็นยังไงกันบ้าง ? ดูแล้วแบบไหนเหมาะกับร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทที่คุณกำลังจะเปิดมากที่สุด ? ยังไงก็อย่าลืมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการประกอบธุรกิจประเภทต่าง ๆ ให้ดีก่อนเปิดร้านขายของชำเป็นของคุณเองล่ะ
4. เลือกทำเลให้ดี ขายได้แน่นอน
ทำเล ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างมากสำหรับการเปิดร้านขายของ ซึงแนวทางของการเลือกทำเลมีดังนี้
- อยู่ในพื้นที่ที่มีคนเดินผ่านทั้งด้านหน้าและด้านหลังร้าน เพื่อให้มองเห็นได้หลายมุมและเพิ่มโอกาสในการขาย
- ไม่ควรอยู่ในบริเวณทางสามแพร่ง ซึ่งทางโบราณเชื่อว่าเป็นทำเลที่ไม่ดีและตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ทางสามแพร่งถือว่าไม่เป็นมงคลแก่การค้าขาย
- อยู่ใกล้กับร้านอื่น ไม่ควรอยู่โดด ๆ แต่ควรมีร้านค้าอื่น ๆ อยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย และจำไว้ว่าร้านขายของชำของคุณต้องอยู่ในแหล่งที่ผู้คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอย
- มีที่จอดรถสำหรับลูกค้า อาจจะเป็นที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเป็นที่ที่มีการคมนาคมสะดวกสบายก็ได้ ลองนึกดูว่าถ้าคุณเป็นลูกค้าเองและต้องเดินทางไปร้านที่ไม่มีที่จอดรถ ก็คงจะไม่อยากไปสักเท่าไหร่จริงไหมล่ะ ?
- อยู่ในทำเลที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาจจะเปิดในชุมชน ใกล้โรงเรียน ใกล้มหาลัย หรือพื้นที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก็พอ
- ขยายพื้นที่ได้ ทำเลที่ดีจะต้องช่วยให้คุณขยายพื้นที่ร้านในอนาคตได้ด้วย เพราะเมื่อร้านขายของชำเล็ก ๆ ของคุณไปได้สวย ยังไงคุณก็อยากขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับลูกค้าแน่นอน
5. ตกแต่งร้านให้โดนใจลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านขายของแบบห้องแถว ห้องเช่า แบบมีหน้าร้านถาวร หรือจะเป็นล็อคขายของในตลาดนัด การตกแต่งร้านก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสมัยนี้การตกแต่งที่สวย อาร์ต มีเอกลักษณ์ และเข้ากับสินค้าที่ขายนั้นเป็นตัวช่วยดึงดูดลูกค้าให้เราเป็นอย่างดี ส่วนใครที่คิดแนวทางการตกแต่งไม่ออก เน้นความเรียบง่าย โปร่ง โล่งสบาย และทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าได้สะดวกที่สุด หยิบสินค้ามาชำระเงินได้ง่ายที่สุด สิ่งเหล่านี้คือเทคนิคสำคัญที่เราอยากแนะนำ
6. ประเมินต้นทุนทั้งหมด
งบในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้านที่ต้องการเปิด งบโดยประมาณ
- หากไม่มีพื้นที่และต้องก่อสร้างใหม่ทั้งหมด งบเริ่มต้นก็อาจจะอยู่ที่ 100,000 บาท
- ถ้ามีพื้นที่อยู่แล้ว แค่ต้องจ่ายค่าสินค้าหมุนเวียนในร้าน ตุนสต๊อกสินค้า หรือตู้ทำความเย็นก็อาจจะเริ่มต้นที่ 50,000-80,000 บาท
- ถ้าต้องเช่าที่และซื้อสินค้ามาหมุนเวียนในร้าน ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 50,000-100,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำอีกทีว่า งบประมาณในการเปิดร้านขายของชำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน หากคุณวางแผนเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ และมีพื้นที่อยู่แล้วก็จะใช้งบน้อยหน่อยกว่านี้ ดังนั้นถ้าจะให้ดีจริง ๆ คุณควรค่อย ๆ ลงทุนเปิดร้านขายของชำตามงบที่มีก่อนจะดีกว่า แล้วถ้าร้านไปได้สวยก็ค่อยขยายกิจการร้านของชำของคุณ จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเจ๊ง
7. เลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ร้านขายของชำอย่างชาญฉลาด
หากคิดจะเปิดร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทให้รุ่ง คุณต้องบริหารจัดการร้านได้อย่างลื่นไหล คือ เริ่มจากคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ที่จะจัดส่งสินค้า หรือจะเป็นแหล่งรับซื้อสินค้ามาขายก็ได้ เพราะคุณต้องมีเครือข่ายคู่ค้าที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ ถึงจะเปิดร้านขายของชำได้อย่างสบายใจ
ลองหาร้านขายส่ง แหล่งซื้อสินค้าที่ขายสินค้าราคาเป็นกันเอง หรือเลือกแหล่งขายส่งที่คุณเป็นลูกค้าสมาชิก เพื่อซื้อสินค้าในราคาสมาชิก จะได้ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และยิ่งเมื่อหาซัพพลายเออร์ที่อยู่ใกล้แล้ว คุณก็จะประหยัดค่าเดินทางและค่าขนส่งไปได้อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นลองนำแนวคิดเหล่านี้ไปพิจารณาดู
หากพูดถึงแหล่งค้าส่งที่เจ้าของร้านค้า ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย หรือมินิมาร์ทนิยมไปซื้อสินค้ามาขายต่อในไทย ก็คงจะเป็น
- Big C
- Tesco Lotus
- Makro
นอกจากนี้ในเขตชุมชนก็อาจจะมีร้านขายส่งใกล้เคียงอยู่ก็ได้ ยังไงลองสำรวจพื้นที่ให้ดี แล้วก็เลือกคู่ค้าร้านขายของชำของคุณอีกที แล้วคุณจะรู้ว่าการมีซัพพลายเออร์ที่ไว้ใจได้นั้นสำคัญแค่ไหนในการเปิดร้านขายของชำหรือมินิมาร์ทของคุณ
8. ต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำ
- หากคุณตั้งราคาสินค้าต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อกำไรร้าน หรือเผลอ ๆ หากตั้งราคาผิดก็เสี่ยงต่อการขาดทุนไปเลย
- แต่ถ้าตั้งราคาสูงเกินไป ก็จะขายของไม่ออก ของแพงลูกค้าไม่อยากซื้อ
ดังนั้นทางร้านจะต้องมีกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าร้านขายของชำที่ดี จึงจะดึงดูดลูกค้าและช่วยให้ร้านขายดีไปพร้อม ๆ กันได้ อีกอย่างร้านคุณเองก็จะไม่เสียเปรียบคู่แข่งร้านอื่น ๆ !
แล้วหลักการในการตั้งราคาสินค้าสำหรับร้านขายของชำเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ? เรารวมเทคนิคการตั้งราคาจากเจ้าของร้านขายของชำที่จะช่วยให้คุณขายดี มีกำไร และเป็นราคาที่ยุติธรรมสำหรับลูกค้ามาไว้เแล้วที่นี่ !
- ตั้งราคาสินค้าโดยใช้เกณฑ์กำไรที่ 10 – 20% – คิดราคาเพิ่ม 10 – 20% จากราคาทุนสินค้าที่ขายในร้านขายของชำ เพราะอย่าลืมว่าคุณมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ แล้วไหนจะมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก
- ไม่ควรขายสินค้าบางราคาแพงเกินไป – มีสินค้าบางรายการที่คุณต้องขายตามราคาที่ระบุไว้บนฉลากและไม่สามารถคิดราคาเพิ่มได้ เช่น เหล้า, บุหรี่, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม, เครื่องปรุงรส และการเติมเงินมือถือออนไลน์ เป็นต้น
- กรณีมีร้านขายของชำร้านอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง – ควรตั้งราคาสินค้าขายในราคาที่ใกล้เคียงกัน ไม่ควรตัดราคากัน เพราะเราก็ต้องเห็นใจผู้ประกอบการด้วยกันด้วย
- จับคู่สินค้าขายในราคาถูกลง – อันนี้ออกแนวจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น 7-11 ก็มีโปรขายเครื่องดื่มกับขนมปังในราคาที่ถูกลง ช่วยให้ลูกค้าเป็นความคุ้มค่ามากขึ้น ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่น่าลองเช่นกัน
9. เปิดร้านขายของชำออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราและช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากขึ้นนี้ ทำให้ลูกค้าหันมาท่องโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการจะเปิดร้านขายของชำให้ประสบความสำเร็จและขายดีเป็นกอบเป็นกำนั้น คุณจึงต้องมองหาช่องทางเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นเป็นได้ คือเปิดเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ขายตามโลกโซเชียลอย่าง Facebook, Instagram และ LINE รวมถึงมีบริการเดลิเวอรี่สำหรับลูกค้าพื้นที่ใกล้เคียงด้วย
ทั้งนี้ยังมีการศึกษาของ Thumbsup พบว่า ผู้ซื้อกว่า 2 ล้านคนยังคงช้อปผ่านเว็บไซต์ของร้านค้าปลีก 50% ของผู้ซื้อของออนไลน์มาจาก Google และยังมีอีก 65% ของผู้ซื้อของผ่านร้านค้าปลีก โดย 25% ซื้อจากหน้าเว็บของร้านโดยตรง และอีก 40% ซื้อจาก Social Network แล้วแบบนี้คุณจะพิจารณาการเปิดร้านขายของชำออนไลน์ได้หรือยัง ?
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments