“เซินเจิ้น” พลิกโฉมจากเมืองของก๊อป ยกระดับสู่ “Silicon Valley of Asia”✨
“เซินเจิ้น” พลิกโฉมจากเมืองของก๊อป ยกระดับสู่ “Silicon Valley of Asia”✨
เมื่อเอ่ยชื่อ “เซินเจิ้น” (Shenzhen) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จะนึกถึงเมืองแห่งของก๊อป หรือของลอกเลียนแบบ ตั้งแต่กระเป๋า นาฬิกา ปากกา เสื้อผ้า ไปจนถึงสินค้าเทคโนโลยี ถึงกับมีการพูดกันว่าสินค้าอะไรก็ตามในโลกที่กำลังฮิตอยู่ หากมาเซินเจิ้นก็จะเจอสินค้านั้นแบบเดียวกันเป๊ะ ที่เป็นงานระดับ Mirror ไปจนถึงลอกดีไซน์ แต่ดัดแปลงตัวอักษรแบรนด์ หรือเปลี่ยนชื่อแบรนด์
เหตุที่ทำให้ “เซินเจิ้น” ถูกมองว่าเป็นเมืองแห่งของก๊อปปี้ เพราะเป็นเมืองที่มีโรงงานผลิตสินค้าต่างๆ มากมาย ประกอบกับโลเกชั่นเมืองติดกับเกาะฮ่องกง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางข้ามจากฮ่องกง มาเซินเจิ้นได้ง่ายและสะดวกด้วยทางรถไฟ โดยกิจกรรมยอดนิยมที่บรรดาทัวร์จัดให้ลูกทัวร์เมื่อมาถึงเซินเจิ้น คือ ช้อปปิ้งที่ “Luohu Commercial City” หรือ “ห้างสรรพสินค้าหลอฮู” เป็นห้างฯ แรกๆ ของเซินเจิ้น
ภายในประกอบด้วยร้านค้าเช่ารายเล็กๆ จำนวนมาก ที่ขายของใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประทับ รองเท้า รวมถึงสินค้าหัตถกรรม ของที่ระลึก และสินค้าเทคโนโลยี โดยมีทั้งสินค้าลอกเลียนแบบแบรนด์ดังระดับโลก ดีกรีความเหมือนแบรนด์จริงมีให้เลือกหลายระดับ ตั้งแต่งาน Mirror ไปจนถึงลอกดีไซน์ แต่ดัดแปลงตัวอักษรแบรนด์ หรือเปลี่ยนชื่อแบรนด์ และสินค้าท้องถิ่นทั่วไป
นี่จึงทำให้ในสายตาของคนทั่วไป และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มอง “เซินเจิ้น” เป็นเมืองแห่งของก๊อปปี้ !!
แต่ในความเป็นจริงแล้ว… เมือง “เซินเจิ้น” ไม่ได้ถูกวางให้เป็นมหานครของก๊อปเช่นนั้น เพราะในยุค “เติ้งเสี่ยวผิง” ที่ปฏิรูปเศรษฐกิจประเทศจีนด้วยนโยบายเปิดประเทศ ได้จัดตั้ง “เมืองเซินเจิ้น” ที่ในอดีตเป็นหมู่บ้านชาวประมง สภาพความเป็นอยู่ยากจน ให้เป็น “เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของจีน” ตั้งแต่ปี 2523 โดยให้สิทธิประโยชน์การลงทุนด้านต่างๆ เช่น ด้านภาษี, ค่าแรงในจีน เพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามาสร้างฐานการผลิตที่นี่
การพัฒนาเมืองเซินเจิ้น หลังจากก่อตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ แบ่งเป็น 4 เฟสใหญ่ คือ
ปี 2523 – 2528 สร้างเมืองเซินเจิ้นให้เป็นเขตการแปรรูปเพื่อการส่งออกของจีน ซึ่งส่วนใหญ่นักลงทุนในช่วงแรก จะเป็นนักลงทุนจากประเทศฮ่องกง ไต้หวัน และจากแถบประเทศเอเชีย
ปี 2528 – 2530 เริ่มพัฒนาจากการพัฒนาช่วงที่ 1 ที่เน้นบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเข้ามาที่เมืองเซินเจิ้นจำนวนมาก และพัฒนาจากอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการแปรรูป มาสู่อุตสาหกรรมบริการ และการออกแบบมากขึ้น
ปี 2530 – 2535 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเซินเจิ้นมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในพื้นที่
ปี 2535 – ปัจจุบัน การพัฒนาเซินเจิ้นจากเมืองเศรษฐกิจแบบธรรมดา สู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทางภาคใต้ของประเทศจีน ที่มีความโดดเด่นทางด้านอุตสาหกรรมไฮเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยในปี 2550 อุตสาหกรรมโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นสัดส่วนทั้งหมดประมาณ 50% ของอุตสาหกรรมทั้งหมดในเมืองเซินเจิ้น
จากในยุค “เติ้งเสี่ยวผิง” จนมาถึงยุค “ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง” มลฑลกวางตุ้ง และเมืองเซินเจิ้น ยังคงเป็นเมืองเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญของจีน และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศ และดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศมายังจีน
📌เจาะลึก “เซินเจิ้น” ยกระดับเป็น “Silicon Valley of Asia”
ที่ผ่านมา เราจะคุ้นเคยกับ “Silicon Valley” เป็นชื่อเรียกการเป็นแหล่งรวมสำนักงานใหญ่บริษัทไอทีและเทคโนโลยีระดับโลกมากมาย เช่น Google, Facebook, Apple ตั้งอยู่ในย่านเบย์ แอเรีย ซานฟานซิสโก สหรัฐฯ พื้นที่สำคัญที่ถือเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลให้กับสหรัฐ และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้ทั่วโลกเห็นว่า “นวัตกรรมและเทคโนโลยี” มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ไม่เพียงแต่สหรัฐฯ เท่านั้นที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลักดันการพัฒนาของประเทศ เวลานี้ “รัฐบาลจีน” กำลังมุ่งผลักดัน “เซินเจิ้น” เมืองที่มีขนาด 3,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรกว่า 11 ล้านคน ให้เป็น “Silicon Valley of Asia” หรือ “ซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย” เหตุผลที่จีนเลือก “เซินเจิ้น” ให้เป็นซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย ปัจจัยหลักๆ ดังนี้
- ในบรรดาเมืองใหญ่ 9 แห่งบริเวณเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ประกอบด้วย นครกว่างโจว, เมืองเซินเจิ้น, เมืองฝอซาน, เมืองจูไห่, เมืองตงกว่าน, เมืองจงซาน, เมืองเจียงเหมิน, บางส่วนของเมืองจ้าวชิ่ง และบางส่วนของเมืองหุ้ยโจว (ข้อมูลรายชื่อ 9 เมืองจากศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน www.thaibizchina.com) พบว่า “เซินเจิ้น” เป็นเมืองที่มีภาคการผลิตใหญ่ที่สุด โดยมีมูลค่าเพิ่มด้านอุตสาหกรรมถึง 719,000 ล้านหยวน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การสื่อสาร คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ และด้านธุรกิจการเงิน
- ภูมิศาสตร์ของเมืองเซินเจิ้น มีความสะดวกในการสร้างระบบคมนาคมครบวงจร ทั้งทางอากาศ ถนน และทางน้ำ จึงทำให้เซินเจิ้น เป็นเมืองเศรษฐกิจและการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของจีน โดยมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ในจีน และเป็นอันดับ 2 ของมณฑลกวางตุ้ง รองจากเมืองกวางโจว
- เซินเจิ้น เป็นศูนย์กลางของเขตเศรษฐกิจใหม่ (กวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า) หรือ Greater Bay Area ภายใต้กรอบข้อตกลงเพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า โดยภายใต้ปี 2563 ผลิตทางเศรษบกิจโดยรวมจากเขต Greater Bay Area จะมีขนาดใกล้เคียงกับเขตอ่าวโตเกียว และคาดว่าภายในปี 2573 GDP ของเขต Greater Bay Area จะเท่ากับ 4.62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะก้าวขึ้นเป็นภูมิภาคอ่าวที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก
- รัฐบาลจีนยุค “สี จิ้นผิง” ประกาศนโยบาย “One Belt, One Road” หรือ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เพื่อเชื่อมต่อการค้าการลงทุน และด้านการเงินระหว่างอาเซียน เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา เพื่อพัฒนาประเทศจีน และเซินเจิ้น เป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์สำคัญของนโยบาย One Belt, One Road
- ปัจจุบัน “เซินเจิ้น” เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทข้ามชาติสัญชาติจีน ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น Huawei, Tencent, DJI, ZTE, BYD, Ping An Bank, China Merchants Bank, Vanke & Hytera อีกทั้งขณะนี้บริษัท Apple กำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมการตั้งศูนย์กลางด้านการวิจัย และพัฒนาที่เซินเจิ้นด้วยเช่นกัน
ในบรรดาบริษัทสัญชาติจีนเหล่านี้ บางรายติดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 500 อันดับ หรือ Fortune 500 และบริษัทที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เช่น “Huawei” ที่ปัจจุบันติด 3 อันดับแบรนด์สมาร์ทโฟนที่มียอดขายจำนวนเครื่องสูงที่สุดในโลก, “DJI” ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโดรนรายใหญ่ ที่มีส่วนแบ่งตลาด 70% ของตลาดโดรนทั่วโลก
- เป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินใหญ่ของโลก โดยดัชนีศูนย์กลางการเงินโลก (GFCI) จัดทำโดยบริษัทวิจัย Z/Yen Group ของอังกฤษ ระบุว่าปัจจุบัน “เซินเจิ้น” เป็นศูนย์กลางการเงินอันดับที่ 22 ของโลก และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น และเขตการค้าเสรีเฉียนไห่ เป็นหนึ่งในเขตการค้าเสรีในยุคแรกที่ดำเนินนโยบายการใช้ “นวัตกรรม” ที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจท้องถิ่น เช่น การจัดตั้ง Xinsiban เพื่อให้บริการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และมีโรงเรียนธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งผลิตผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะด้านการเงินชั้นสูงได้อย่างต่อเนื่อง
📌เหตุใดจึงได้รับฉายา เมืองแห่งการก็อปปี้
การวางรากฐานของเมืองเซินเจิ้น ถูกกำหนดให้เป็นเมืองแห่งการผลิต และการระดมนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาตั้งโรงงานของสินค้าสารพัดอย่าง โดยเน้นไปที่นาฬิกา เสื้อผ้ากระเป๋า และสินค้าเทคโนโลยี นอกจากจะเป็นการจัดตั้งโรงงานของบริษัทข้ามชาติแล้ว ยังเป็นการตั้งโรงงานขึ้นเพื่อรับผลิตตามออเดอร์จากต่างประเทศอีกด้วย ดังนั้นโรงงานในเซินเจิ้นจึงพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไปได้อย่างรวดเร็ว
เพราะสินค้าที่ส่งขายไปทั่วโลกในหมวดดังกล่าว ล้วนสั่งผลิตจากเซินเจิ้น ด้วยกำลังการผลิตมหาศาล ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อสินค้าเทคโนโลยีล่าสุดถูกสั่งผลิตที่จีน จะมีสินค้ายี่ห้อของจีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเดียวกันวางจำหน่ายในห้างค้าปลีกในเมืองเซินเจิ้นทันที และเมื่อแหล่งช็อปปิ้งในเซินเจิ้นมีเพียงไม่กี่ที่ และทุกที่ก็พร้อมใจจำหน่ายสินค้าเฮาส์แบรนด์ (หรือส่วนใหญ่ก็เป็นแบรนด์เดิมที่ก็อปปี้มา)
เมื่อมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่เซินเจิ้น ก็จะมีจุดหมายเดียวที่ไกด์จพาไป นั่นก็คือแหล่งจำหน่ายสินค้าก็อปปี้นั่นเอง นานวันเข้า ภาพจำของ เซินเจิ้น ในใจของนักท่องเที่ยวจึงถูกประทับลงไปว่า เป็นมหานครแห่งสินค้าก็อปปี้ไปโดยปริยาย ไม่ต่างจากที่ฝรั่งมองกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของธุรกิจโลกีย์ เพราะเมื่อฝรั่งก้าวลงจากเครื่องบินที่แรกที่ไกด์เถื่อนหรือแท็กซี่จะพาไป ไม่ใช่โรงแรม แต่เป็นสถานบันเทิงยามราตรี นานวันเข้าภาพจำของนักท่องเที่ยวก็บอกกันปากต่อปาก จนยากที่จะลบภาพเหล่านี้ได้ และเซินเจิ้นก็เช่นกัน
📌พลิกมุมใหม่ มองให้รอบด้าน เซินเจิ้นเปลี่ยนไปแล้ว
ด้วยเป็นมหานครแห่งการผลิตของโลก เซินเจิ้นได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างรวดเร็ว จนมีสินค้านวัตกรรมใหม่ๆมากมาย จากวันที่เคยก็อปปี้เทคโนโลยีของต่างชาติ วันนี้ เซินเจิ้น สร้างสรรค์เทคโนโลยีของตนเองได้แล้ว และกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของ Hardware Startup ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์, โดรน,อุปกรณ์ Wearable ต่างๆ, IoT หรือ Internet Of Things (ที่นี่คือที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Tencent ตัวพ่อเทคโนโลยีในด้าน IoT เลยทีเดียว) , และยังมีเทคโนโลยีสินค้าอิเลคทรอนิกส์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ผู้คนในเมืองเซินเจิ้น แทบจะไม่ใช้เงินสดกันแล้ว ไม่ว่าจะขึ้นรถเมล์หรือแท็กซี่ หรือซื้อของข้างทางต่างใช้โทรศัพท์มือถือในการจ่ายเงินทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรถแท็กซี่ หรือรถเมล์และรถสาธารณะทั้งหมด ต่างก็ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% แล้ว ท้องถนนจึงเงียบสงบแทบจะไม่มีเสียงเร่งเครื่องและมลภาวะเลย
เซินเจิ้นมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่วิ่งจากเซินเจิ้นไปกว่างโจวใช้เวลาเพียง ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ยังมีคำกล่าวที่ว่าหากจะดุว่าเมืองใดมีความเจริญหรือมั่งคั่งมากน้อยเพียงใด ให้ดูที่เส้นขอบฟ้า หรือ Sky Line ของเมืองนั้น ๆ ว่ามีตึกสูงมากน้อยแค่ไหน และค่าเฉลี่ยของความสูงนั้นเป็นเท่าไหร่ หากมองไปที่เส้นขอบฟ้าของเซินเจิ้นในวันนี้ จะเห็นว่าเต็มไปด้วยตึกระฟ้า ไม่ต่างจากมหานครใหญ่ของโลกอย่างนิวยอร์ก หรือลอนดอนเลย ตอนนี้เซินเจิ้นมีตึกที่สูงเกิน 200 เมตรทั้งหมด ถึง 11 ตึกด้วยกันแล้ว เรียกว่ามากกว่ามหานครใดๆในโลกเลยทีเดียว
📌Huawei วิ่งแซงหน้า Apple ประกาศให้โลกรู้ว่าจีนมาแล้ว
Huawei มีฐานที่มั่นอยู่ในเซินเจิ้น เทคโนโลยีของ หัวเหว่ย ถูกคิดค้นวิจัยและพัฒนาที่นี่ ด้วยศักยภาพของ หัวเหว่ย ไม่ได้มีเพียงโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนเท่านั้น หัวเหว่ยยังมีเทคโลยีอิเล็กทรอนิกส์อีกมากมาย ทั้งชิปเซ็ต แผงวงจร แผงควบคุม หน่วยประมวลผล ชิปสำหรับกล้องวงจรปิด ชิปสำหรับสมาร์ททีวี ชิปสำหรับอุปกรณ์ IoT มีบริการคลาวด์เซอร์วิส และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้ในองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้าในอันดับโลกตอนนี้เป็นรองเพียง ซัมซุงเท่านั้น
ล่าสุดเพิ่งจะทำยอดขายแซงหน้า Apple ให้หล่นไปอยู่ในอันดับ 3 โดย หัวเหว่ยรั้งเป็นอันดับ 2 และทำท่าว่าจะอยู่ยาวเลยทีเดียว การพัฒนาของหัวเหว่ยนั้นไม่เคยหยุดยั้ง มีการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามากถึง 16 แห่งทั่วโลก ระดมนักวิจัยจากทั่วโลกมาช่วยผลักดันเทคโนโลยีของหัวเหว่ยออกสู่ตลาดโลก ทำให้วันนี้ หัวเหว่ยสามารถ ปักธง ประกาศศักดิ์ดาอันดับ 2 ของโลกเทคโนโลยีได้สำเร็จ
📌ก้าวสู่การเป็น ซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย
หากอเมริกามี ซิลิคอนวัลย์ ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทเทคโนโลยี อย่าง Google Facebook หรือ Apple เซินเจิ้นก็เป็นซิลิคอนวัลเลย์ของเอเชียเช่นกัน ขณะนี้ เซินเจิ้นเป็นศูนย์กลางการเงินเป็นอันดับที่ 22 ของโลก เป็นเขตการคาเสรีที่ดำเนินนโยบายด้านนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุด เป็นแหล่งการเรียนการสอนด้านการเงินการคลังชึ้นสูง และ ด้านการผลิตและเทคดนโลยีชั้นสูง จึงเป็นเมืองที่สามารถผลิตนักการเงินการธนาคาร และวิศวกร จำนวนมากเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
เพราะหัวใจหลักของการพัฒนาชาติคือการศึกษา เซินเจิ้นนอกจากจะเป็นเมืองเทคโนโลยีในฉากหน้าแล้ว ยังเป็นเมืองแห่งการศึกษาชั้นนำอีกด้วย เนื่องจากผู้คนในเมืองนี้ มีฐานะค่อนข้างดี และค่าครองชีพที่เซินเจิ้นถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ของจีน เซินเจิ้น จึงเต็มไปด้วย โรงเรียน และศูนย์การศึกษาชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก มาเปิดสอนที่นี่
📌ทำให้คนจีนภูมิใจ กับ Made in China
การที่ภาครัฐจะผลักดันให้ เซินเจิ้น เป็นซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย ก็เพื่อให้ต่างชาติยอมรับในสินค้าที่ตีตรา Made in China และให้คนในชาติได้ภูมิใจกับคำนี้ โดยไม่ต้องปกปิด หลอกตัวเองหรือผู้อื่นด้วยคำว่า Made in PRC (ที่ PRC ย่อมาจาก People’s Republic of China) อีกต่อไป เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพเทียบเท่าหรือมากกว่ามาตรฐานระดับโลก ก็จะสามารถยกระดับแบรนด์จีน และสินค้าที่ผลิตในจีน หรือ Made in China ให้มีมูลค่าเพิ่มได้อีกมหาศาล
การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมั่นคงและต่อเนื่อง ใช้เวลาสร้างรากฐานอย่างยาวนาน เพื่อให้ออกดอกผลในวันนี้ วันที่ เซินเจิ้น ไม่ใช่เมืองก็อปปี้โชว์อีกต่อไป แต่กลายเป็นมหานครแห่งการผลิต และมหานครแห่งเทคโนโลยีของโลก
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Commentaires