ประกันสังคม ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้❗
ประกันสังคม ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้❗
📍ประกันสังคมคืออะไร
ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
📍เมื่อเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องทำอย่างไร
แม้ว่าระบบประกันสังคมจะมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบการมือใหม่ที่ถือว่าเป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายนายจ้างจะต้องยื่นแบบ และมีหน้าที่ดังนี้
1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน
🔹กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)
- แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
- สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
- สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
🔹กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)
- สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
- สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
- สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03)
สำหรับผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อนหรือแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) นายจ้างสามารถส่งข้อมูลผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) แก่ประกันสังคม ได้ 3 วิธีดังนี้
- ยื่นตามแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) แบบขึ้้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส. 1-03 (สปส. 1-03/1) หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10)
- ยื่นข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Diskette)
- หรือยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)
🔹หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน
- กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้
- ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาตทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
- ลูกจ้าง ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
🔹นายจ้างสามารถยื่นเรื่องขอเป็นผู้ประกันตนเองได้หรือไม่
ทั้งนี้ผู้ประกอบการหน้าใหม่บางรายอาจจะยังไม่ทราบว่า หากคุณอยู่ในสถานะของนายจ้าง คุณไม่สามารถยื่นเรื่องให้ตนเองเป็นผู้ประกันตนได้
3. นำส่งเงินสมทบแก่ประกันสังคม (ทำได้ 2 วิธี)
นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยคำนวณเงินสมทบค่าจ้างหากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท แต่ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000 บาท โดยคูณกับอัตราเงินสมทบที่ต้องนำส่ง สำหรับเศษของเงินสมทบที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็นหนึ่งบาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง
และนำส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต หรือส่งทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้อง
- นำส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินสดหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต สาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
🔹หากนายจ้างไม่ส่งเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างจะเป็นอย่างไร
ถ้านายจ้างส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่งหรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่โดยต้องนำส่งด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น แต่หากนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง หากยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องอีกจะมีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
4. กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงานต้องทำอย่างไร
เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
5. กรณีที่ลูกจ้างมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต้องทำอย่างไร
หากลูกจ้างมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเช่น เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุลหรือข้อมูลสถานพยาบาลครอบครัวและข้อมูลจำนวนบุตรให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่นเดียวกันกับนายจ้างหากมีรายละเอียดอย่างเช่น เปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ของลำดับที่สาขา ย้ายสถานประกอบการ หรือยกเลิกกิจการ เป็นต้น นายจ้างต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงโดยใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส. 6-15) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปด้วยเช่นกัน
🔹ประกันสังคม ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องทำให้พนักงาน
สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดยเงินที่เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบให้กับพนักงานในแต่ละเดือนถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตตลอดช่วงทำงาน จนไปถึงเกษียณอายุ
🔹ซึ่งประโยชน์ที่พนักงานได้รับมีถึง 8 เรื่องด้วยกัน คือ
- ค่าหมอ ค่ายา ค่าทำฟัน ยามเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ
- ค่าเงินชดเชย กรณีทุพพลภาพ
- ค่าคลอดบุตร
- ค่านมลูก (เงินสงเคราะห์บุตร)
- ค่าใช้จ่ายยามตกงาน
- ค่าจัดงานกรณีเสียชีวิต
- ค่าใช้จ่ายยามเกษียณ
และยังส่งผลดีต่อเจ้าของธุรกิจและภาพลักษณ์ของธุรกิจด้วยคือ
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านความรับผิดชอบต่อชีวิตพนักงานของธุรกิจ ซึ่งพนักงานมองว่าเป็นหลักประกันชีวิตขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ
- เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ สำหรับการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานของพนักงาน
- รักษาพนักงานให้อยู่ทำงานด้วยกันต่อไปในระยะยาว เพราะมั่นใจได้ว่าธุรกิจตั้งใจจะดูแลคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
นั่นก็หมายความว่า เมื่อพนักงานของธุรกิจมีความสุข และมีความมั่นคง ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินอย่างมั่นคง ส่งผลต่อลูกค้า และคู่ค้าในเชิงบวกด้วยเช่นกัน
หากยังคิดภาพไม่ออก ลองนึกภาพว่า เรากำลังสร้างครอบครัวที่แข็งแรงและมีความสุข เราก็จะหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับครอบครัว
องค์กรในรูปแบบบริษัทก็เช่นกัน หากอยากสร้างองค์กรให้แข็งแรง การมีสวัสดิการที่ดีย่อมช่วยสร้างความมั่นคงให้กับพนักงาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานตัดสินใจมาทำงานร่วมกับบริษัทเรา
และหากให้พูดตามหลักของกฎหมาย เมื่อกิจการเริ่มมีการจ้างพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป นายจ้างจะต้องเป็นผู้จัดทำประกันสังคมให้กับพนักงานทุกคน เพื่อให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่ช่วยเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต
🔹เจ้าของธุรกิจ ต้องทำอย่างไรเมื่อเริ่มมีพนักงานคนแรก
1. ขั้นตอนแรก เจ้าของธุรกิจต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างภายใน 30 วัน นับจากวันที่เริ่มรับพนักงาน
อัพเดต! จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เมื่อเจ้าของธุรกิจจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development) แล้วจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างต่อสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานโดยอัตโนมัติ (ซึ่งจะช่วยลดขั้นการเตรียมเอกสารเพื่อความสะดวกมากขึ้น) เริ่มใช้จริงวันที่ 16 ต.ค. 2019 เป็นต้นไป
2. เจ้าของธุรกิจสามารถใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก ดำเนินการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง/ผู้ประกันตน เมื่อมีการจ้างลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ได้ที่สำนักงานประกันสังคมต่อไป
เอกสารที่ต้องใช้ หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-02) พร้อมใบแนบแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ของพนักงาน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน
3. ยื่นข้อมูลเงินสมทบ (ตารางสรุปเงินพนักงานประจำเดือน โดยใส่ข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน, คำนำหน้า, ชื่อ-นามสกุล, ตำแหน่ง, เงินเดือน และเงินสมทบ)
🔹3 ขั้นตอนจัดทำไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ” ผ่านโปรแกรม New FlowAccount
โปรแกรมบัญชี New FlowAccount มีเมนูเงินเดือนที่ช่วยนายจ้างจัดทำไฟล์ข้อมูลอัตราเงินเดือนตามรายชื่อพนักงานได้อย่างรวดเร็ว โดยให้โปรแกรมคำนวณเงินยื่นส่งประกันสังคมได้อัตโนมัติ (หากเป็นกรณีรูปแบบบริษัท เราสามารถนำรายชื่อกรรมการบริษัทออก เนื่องจากกรรมการถือว่าเป็นนายจ้างตามเงื่อนไขของประกันสังคม)
🔹ขั้นตอนยื่นข้อมูลเงินสมทบ 10 นาทีเสร็จ! ผ่านทางออนไลน์ของทาง ประกันสังคม
ในเดือนถัดๆ ไป เจ้าของธุรกิจก็สามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคมในหัวข้อ “บริการอิเล็กทรอนิกส์” ลดเวลาการเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ และจัดเตรียมเอกสารหลายขั้นตอน เพื่อยื่นข้อมูล ดังนี้
1. ข้อมูลเงินสมทบ
2. แจ้งพนักงานเข้าใหม่ (ส.ป.ส. 1-03)
3. แจ้งพนักงานลาออก (ส.ป.ส. 6-09)
🔹ขั้นตอนยื่นข้อมูลเงินสมทบ
- เข้าสู่ระบบและเลือกเมนู “ส่งข้อมูลเงินสมทบ”
- เลือก วิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ
- เลือกสถานประกอบการ
- เลือกวิธีการนำส่ง กรอกเดือน, ปี, อัตราเงินสมทบ
- เลือกอัพโหลดไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ”
- สรุปข้อมูลเงินสมทบ
- ส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ
- จากนั้นประกันสังคมจะส่งข้อมูลยืนยันตามแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2) ผ่านทางอีเมลเพื่อดำเนินการชำระเงินต่อไป
🔹ขั้นตอนยื่นเอกสารพนักงานเข้าใหม่
- เข้าสู่ระบบและเลือกเมนู “ทะเบียนผู้ประกันตน”
- คลิกเลือกข้อ 1 กรณีที่พนักงานเข้าใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกับทางประกันสังคม คลิกเลือกข้อ 2 กรณีที่ พนักงานเคยขึ้นทะเบียนแล้ว และเลือกสถานพยาบาลเดิม
- เพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ทั้งหมด กรณีพนักงานใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใส่เลขที่บัตรประชาชน กรณีพนักงานใหม่เลือกสถานพยาบาลเดิม
- ตรวจสอบข้อมูล
- ยืนยันบันทึกข้อมูล
🔹เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าประกันสังคมเท่าไหร่/เมื่อไหร่
เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่ายสมทบประกันสังคมในส่วนที่หักจากพนักงาน และส่วนที่สมทบให้กับพนักงาน ตามแบบ สปส.1-10 (ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2) จะต้องส่งในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หลังจากที่ยื่นเอกสารเพื่อนำส่งประกันสังคมในครั้งแรก
🔹วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
ฐานของเงินค่าจ้างพนักงานขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
พนักงานจะถูกหักจากเงินเดือน 5% + เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบ 5% + รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบ 2.75%
ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงออกเงินสมทบประกันสังคมให้ 1 เท่าของเงินที่พนักงานถูกหักออกจากเงินเดือนในแต่ละเดือนตามมาตรา 33 (แต่ในกรณีที่ต้องนำส่งด้วยตัวเองในสถานะฟรีแลนซ์ก็จะยื่นนำส่งในมาตรา 39 โดยมีเงื่อนไขว่า เคยยื่นมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และว่างงานมาไม่เกิน 6 เดือน)
🔹ยกตัวอย่างวิธีคำนวณ
ให้เงินเดือนพนักงาน 18,000 บาท (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้นเงินประกันสังคมที่จะต้องยื่นคือ 5% เท่ากับ 15,000 x 5% = 750 บาท และทางนายจ้างจ่ายสมทบเพิ่มอีกหนึ่งเท่า รวมเป็น 750+750 = 1,500 บาท
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments