top of page

สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันควรรู้✨


สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันควรรู้✨  สำหรับในบทความนี้ขอนำเสนอเรื่องควรรู้เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมนำมาฝากกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย  🔸ทำความรู้จักกับ ประกันสังคม ประกันสังคม คือ สิ่งที่เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตภายในกลุ่มที่มีสมาชิกที่มีรายได้และมีการจ่ายเงินเพื่อสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นการรับผิดชอบในการที่จะเฉลี่ยถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยต่างๆ การคลอดบุตร ทุพพลภาพ การเสียชีวิต การสงเคราะห์เกี่ยวกับบุตร การชราภาพและรวมไปถึงการว่างงาน เพื่อที่จะได้รับการรักษาพยาบาล และยังมีการทดแทนในเรื่องของรายได้อย่างมีความต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่ประกันตนภายใต้ในระบบของประกันสังคมนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มาตรา ดังนี้ มาตราที่ 33 , มาตราที่ 39, และมาตราที่ 40 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้  🔸ผู้ที่ประกันตนในมาตรา 33 ผู้ที่ประกันตนในมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุที่ไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่เข้าทำงานและทำงานอยู่ภายในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่จำนวนหนึ่งคนขึ้นไป   ซึ่งอัตราเงินสมทบของประกันสังคมในมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะต้อง มีการนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือนโดยมีการคำนวณจากฐานของค่าจ้างที่ต่ำที่สุด เดือนละ 1650 บาทและสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาทโดยทั้งนี้ทางรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกหนึ่งส่วน  สิทธิและประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในมาตรา 33 จะได้รับนั้นสามารถทำการแบ่งออกได้เป็น 7 กรณีโดยมีดังนี้ 1.กรณีที่เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งทางผู้ประกันตนนั้นมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและค่าป้องกันโรคโดยตามหลักเกณฑ์และตามอัตราที่ทางคณะกรรมการทางการแพทย์นั้นได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งรวมถึงเรื่องของการฉีดวัคซีนในตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปี ซึ่งสามารถเข้ารับการบริการได้ ณ สถานพยาบาลที่ทางสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดสิทธิไว้  2.กรณีเกิดการคลอดบุตร โดยทางผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินในค่าคลอดบุตรเป็นจำนวนเงิน 15000 บาท และไม่มีการจำกัดสถานพยาบาลและจำนวนครั้ง อีกทั้งยังสามารถพร้อมที่จะรับเงินสงเคราะห์ในการหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วันในกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้หญิง และกรณีผู้ที่ประกันตนเป็นผู้ชายถ้าหากมีภรรยาที่จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมีผู้หญิงที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจะได้รับเงินในการนำไปเป็นค่าคอดบุตรเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท  3.กรณีเกิดการทุพพลภาพ ซึ่งหากผู้ประกันตนนั้นจะได้รับ เงินในการทดแทนในการขาดรายได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี - ทุพพลภาพ ในระดับที่มีความเสียหายที่ไม่รุนแรง ซึ่งจะได้รับเงินทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวน 30% หรือได้รับในส่วนที่ลดลงโดยไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวันในตามมาตราที่ 57 และไม่เกิน 180 เดือน - ทุพพลภาพในระดับที่มีความเสียหายที่รุนแรง ซึ่งทางผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินในการทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างรายวันตามในมาตราที่ 57 เป็นจำนวนตลอดชีวิต  4.กรณีเกิดการเสียชีวิต ในกรณีที่ทางผู้ประกันตนนั้นมีการจ่ายค่าสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีการเสียชีวิตเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยสี่เดือนและพร้อมรับค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท และในกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีการเสียชีวิตเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยทั้งหมด 12 เดือนและพร้อมรับค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท  5.กรณีเกิดการชราภาพ ซึ่งหากผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่ทยอยจ่ายเป็นรายเดือนจำนวนตลอดชีวิต โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองกรณี - ในกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบครบเป็นจำนวน 180 เดือนหรือ 15 ปีจะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเป็นจำนวน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ยในระยะเวลา 60 เดือนสุดท้าย - และในกรณีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินบำนาญการชราภาพรายเดือนเพิ่มเป็นจำนวน 1.5% จากอัตราจำนวน 20% ในทุก 12 เดือน  6.กรณีเกิดการสงเคราะห์บุตร ซึ่งทางผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินในค่าสงเคราะห์บุตรคนละจำนวน 800 บาทต่อเดือนโดยที่จะต้องเป็นบุตรตามที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และครั้งละไม่เกินสามคน  7.กรณีเกิดการว่างงาน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี - กรณีที่เกิดการถูกเลิกจ้างซึ่งจะได้รับเงินทดแทนในช่วงเวลาของการว่างงานเป็นจำนวน 70% ของค่าจ้าง และครั้งละไม่เกิน 200 วัน - ในกรณีที่เกิดการลาออกหรือเกิดการสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในช่วงของเวลาว่างานเป็นจำนวน 45% ของค่าจ้างและครั้งละไม่เกิน 90 วันมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคมปีพุทธศักราช 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2565 - กรณีที่เกิดการว่างงานต่อเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งจะได้รับเงินทดแทนในช่วงเวลาในการว่างงานเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างและครั้งละไม่เกิน 90 วัน  🔸ผู้ที่ประกันตนโดยความสมัครใจ มาตราที่ 39 ผู้ประกันตนในมาตราที่39 คือ บุคคลที่มีการทำงานและเป็นผู้ประกันตนในมาตราที่33 มาก่อนหน้านี้และทำการออกจากงานแต่ยังคงต้องการการรักษาสิทธิทางประกันสังคม  ซึ่งเงินสมทบที่ทางผู้ประกันตนในมาตราที่39 จะต้องทำการนำส่งจะเท่ากับจำนวนเงิน 432 บาทต่อเดือน ซึ่งทั้งนี้ทางผู้ประกันตนนั้นจะต้องมีการส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนอย่างต่อเนื่องซึ่งถ้าหากไม่ส่งเงินสมทบภายในเวลา3เดือนติดต่อกันหรือภายในแล้วระยะเวลา 12 เดือนหรือส่งเงินสมทบไม่ครบเป็นจำนวน9เดือนซึ่งจะถือว่าสิ้นสุดสภาพในการเป็นผู้ประกันตนในมาตราที่39 ในทันที  - สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของผู้สมัครประกันตนในมาตราที่39 ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เคยอยู่ในผู้ประกันตนตามมาตราที่33 และต้องจ่ายเงินสมทบแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนและมีการออกจากงานไม่เกินระยะเวลาหกเดือนโดยนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน และรวมไปถึงจะต้องไม่เป็นผู้ที่รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพจากทางกองทุนประกันสังคม  - สิทธิและประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนในมาตราที่39 ซึ่งผู้ประกันตนในมาตราที่39 นั้นจะได้รับความคุ้มครองเป็นหกกรณีอย่างต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตราที่33 ซึ่งได้แก่ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย กรณีที่เกิดการคลอดบุตร กรณีเกิดการทุพพลภาพ กรณีการเสียชีวิต กรณีการสงเคราะห์บุตร และในกรณีการชราภาพซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับผู้ประกันตนในมาตราที่ 33  🔸ผู้ประกันตนนอกระบบมาตราที่ 40 ผู้ประกันตนในมาตราที่ 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีการประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นแรงงานนอกระบบและไม่เป็นผู้ประกันตนตามในมาตราที่33 หรือผู้ประกันตนตามในมาตราที่39  ซึ่งจะมีการจ่ายเงินค่าสมทบประกันสังคมในมาตราที่ 40 มีด้วยกันสามทางเลือกดังนี้การจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 70 บาทต่อเดือนการจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 100 บาทต่อเดือน และการจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อเดือน  สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของผู้สมัครมาตราที่ 40 - จะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทยโดยที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข0 ,6หรือ7 - มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ - เป็นผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ - ไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตราที่33 และในมาตราที่39 หรือข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ  โดยสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในมาตราที่ 40 จะได้รับนั้นสามารถแบ่ง ได้ตามเงินสมทบที่ทางผู้ประกันตนนั้นทำการจ่ายในทุกๆ เดือน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้  กรณีจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 70 บาทต่อเดือน - ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อวันและไม่เกิน 30 วันต่อปี - ในกรณีเกิดการทุพพลภาพซึ่งจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เป็นจำนวนเงิน 500 บาทถึง 1000 บาทต่อเดือนและไม่เกิน 15 ปี - กรณีเกิดการเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทและจะได้รับเพิ่ม 8000 บาทเมื่อจ่ายเงินสมทบครบเป็นระยะเวลาจำนวน 60 เดือนก่อนเสียชีวิต  กรณีจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 100 บาทต่อเดือน - กรณีเกิดประสบอุบัติเหตุหรือเกิดการเจ็บป่วย จะได้รับเงินทดแทนในการขาดรายได้สูงสุดเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อวันไม่เกิน 30 วันต่อปี - กรณีเกิดการทุพพลภาพ จะได้รับเงินในการทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวนเงิน 500 บาทถึง 1000 บาทต่อเดือนและไม่เกิน15ปี - กรณีเกิดการเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทและจะได้รับเงินเพิ่มจำนวน 8000 บาทเมื่อมีการจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนการเสียชีวิต - กรณีเกิดการชราภาพจะได้รับบำเหน็จชราภาพจำนวน 50 บาทต่อเดือนสามารถออมเพิ่มได้เป็นจำนวนเงิน 1000 บาทต่อเดือน  กรณีจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อเดือน - กรณีเกิดประสบอุบัติเหตุหรือเกิดการเจ็บป่วย จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อวันไม่เกิน 90 วันต่อปี - กรณีเกิดการทุพพลภาพ จะได้รับเงินในการทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวนเงิน 500 บาทถึง 1000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต - กรณีเกิดการเสียชีวิตจะได้รับเงินไหมการทำศพเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท - กรณีเกิดการชราภาพจะได้รับค่าบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเงิน 150 บาทต่อเดือนและกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทและสามารถทำการออมเพิ่มได้ 1000 บาทต่อเดือน - กรณีเกิดการสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเป็นจำนวนเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือนและครั้งละไม่เกินจำนวนสองคน  เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หวังว่าในบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านแล้วพบกันได้ใหม่ในบทความต่อไป  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันควรรู้✨


สำหรับในบทความนี้ขอนำเสนอเรื่องควรรู้เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมนำมาฝากกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย


🔸ทำความรู้จักกับ ประกันสังคม

ประกันสังคม คือ สิ่งที่เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตภายในกลุ่มที่มีสมาชิกที่มีรายได้และมีการจ่ายเงินเพื่อสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นการรับผิดชอบในการที่จะเฉลี่ยถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยต่างๆ การคลอดบุตร ทุพพลภาพ การเสียชีวิต การสงเคราะห์เกี่ยวกับบุตร การชราภาพและรวมไปถึงการว่างงาน เพื่อที่จะได้รับการรักษาพยาบาล และยังมีการทดแทนในเรื่องของรายได้อย่างมีความต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่ประกันตนภายใต้ในระบบของประกันสังคมนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มาตรา ดังนี้ มาตราที่ 33 , มาตราที่ 39, และมาตราที่ 40 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


🔸ผู้ที่ประกันตนในมาตรา 33

ผู้ที่ประกันตนในมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุที่ไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่เข้าทำงานและทำงานอยู่ภายในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่จำนวนหนึ่งคนขึ้นไป


ซึ่งอัตราเงินสมทบของประกันสังคมในมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะต้อง มีการนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือนโดยมีการคำนวณจากฐานของค่าจ้างที่ต่ำที่สุด เดือนละ 1650 บาทและสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาทโดยทั้งนี้ทางรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกหนึ่งส่วน


สิทธิและประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในมาตรา 33 จะได้รับนั้นสามารถทำการแบ่งออกได้เป็น 7 กรณีโดยมีดังนี้

1.กรณีที่เกิดการเจ็บป่วย

ซึ่งทางผู้ประกันตนนั้นมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและค่าป้องกันโรคโดยตามหลักเกณฑ์และตามอัตราที่ทางคณะกรรมการทางการแพทย์นั้นได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งรวมถึงเรื่องของการฉีดวัคซีนในตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปี ซึ่งสามารถเข้ารับการบริการได้ ณ สถานพยาบาลที่ทางสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดสิทธิไว้


2.กรณีเกิดการคลอดบุตร

โดยทางผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินในค่าคลอดบุตรเป็นจำนวนเงิน 15000 บาท และไม่มีการจำกัดสถานพยาบาลและจำนวนครั้ง อีกทั้งยังสามารถพร้อมที่จะรับเงินสงเคราะห์ในการหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วันในกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้หญิง และกรณีผู้ที่ประกันตนเป็นผู้ชายถ้าหากมีภรรยาที่จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมีผู้หญิงที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจะได้รับเงินในการนำไปเป็นค่าคอดบุตรเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท


3.กรณีเกิดการทุพพลภาพ

ซึ่งหากผู้ประกันตนนั้นจะได้รับ เงินในการทดแทนในการขาดรายได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี

- ทุพพลภาพ ในระดับที่มีความเสียหายที่ไม่รุนแรง ซึ่งจะได้รับเงินทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวน 30% หรือได้รับในส่วนที่ลดลงโดยไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวันในตามมาตราที่ 57 และไม่เกิน 180 เดือน

- ทุพพลภาพในระดับที่มีความเสียหายที่รุนแรง ซึ่งทางผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินในการทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างรายวันตามในมาตราที่ 57 เป็นจำนวนตลอดชีวิต


4.กรณีเกิดการเสียชีวิต

ในกรณีที่ทางผู้ประกันตนนั้นมีการจ่ายค่าสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีการเสียชีวิตเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยสี่เดือนและพร้อมรับค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท และในกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปจะได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีการเสียชีวิตเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยทั้งหมด 12 เดือนและพร้อมรับค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท


5.กรณีเกิดการชราภาพ

ซึ่งหากผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่ทยอยจ่ายเป็นรายเดือนจำนวนตลอดชีวิต โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองกรณี

- ในกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบครบเป็นจำนวน 180 เดือนหรือ 15 ปีจะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเป็นจำนวน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ยในระยะเวลา 60 เดือนสุดท้าย

- และในกรณีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินบำนาญการชราภาพรายเดือนเพิ่มเป็นจำนวน 1.5% จากอัตราจำนวน 20% ในทุก 12 เดือน


6.กรณีเกิดการสงเคราะห์บุตร

ซึ่งทางผู้ประกันตนนั้นจะได้รับเงินในค่าสงเคราะห์บุตรคนละจำนวน 800 บาทต่อเดือนโดยที่จะต้องเป็นบุตรตามที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และครั้งละไม่เกินสามคน


7.กรณีเกิดการว่างงาน

โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี

- กรณีที่เกิดการถูกเลิกจ้างซึ่งจะได้รับเงินทดแทนในช่วงเวลาของการว่างงานเป็นจำนวน 70% ของค่าจ้าง และครั้งละไม่เกิน 200 วัน

- ในกรณีที่เกิดการลาออกหรือเกิดการสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในช่วงของเวลาว่างานเป็นจำนวน 45% ของค่าจ้างและครั้งละไม่เกิน 90 วันมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคมปีพุทธศักราช 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2565

- กรณีที่เกิดการว่างงานต่อเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งจะได้รับเงินทดแทนในช่วงเวลาในการว่างงานเป็นจำนวน 50% ของค่าจ้างและครั้งละไม่เกิน 90 วัน


🔸ผู้ที่ประกันตนโดยความสมัครใจ มาตราที่ 39

ผู้ประกันตนในมาตราที่39 คือ บุคคลที่มีการทำงานและเป็นผู้ประกันตนในมาตราที่33 มาก่อนหน้านี้และทำการออกจากงานแต่ยังคงต้องการการรักษาสิทธิทางประกันสังคม


ซึ่งเงินสมทบที่ทางผู้ประกันตนในมาตราที่39 จะต้องทำการนำส่งจะเท่ากับจำนวนเงิน 432 บาทต่อเดือน ซึ่งทั้งนี้ทางผู้ประกันตนนั้นจะต้องมีการส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนอย่างต่อเนื่องซึ่งถ้าหากไม่ส่งเงินสมทบภายในเวลา3เดือนติดต่อกันหรือภายในแล้วระยะเวลา 12 เดือนหรือส่งเงินสมทบไม่ครบเป็นจำนวน9เดือนซึ่งจะถือว่าสิ้นสุดสภาพในการเป็นผู้ประกันตนในมาตราที่39 ในทันที


- สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของผู้สมัครประกันตนในมาตราที่39

ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เคยอยู่ในผู้ประกันตนตามมาตราที่33 และต้องจ่ายเงินสมทบแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนและมีการออกจากงานไม่เกินระยะเวลาหกเดือนโดยนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน และรวมไปถึงจะต้องไม่เป็นผู้ที่รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพจากทางกองทุนประกันสังคม


- สิทธิและประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนในมาตราที่39

ซึ่งผู้ประกันตนในมาตราที่39 นั้นจะได้รับความคุ้มครองเป็นหกกรณีอย่างต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตราที่33 ซึ่งได้แก่ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย กรณีที่เกิดการคลอดบุตร กรณีเกิดการทุพพลภาพ กรณีการเสียชีวิต กรณีการสงเคราะห์บุตร และในกรณีการชราภาพซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับผู้ประกันตนในมาตราที่ 33


🔸ผู้ประกันตนนอกระบบมาตราที่ 40

ผู้ประกันตนในมาตราที่ 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีการประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นแรงงานนอกระบบและไม่เป็นผู้ประกันตนตามในมาตราที่33 หรือผู้ประกันตนตามในมาตราที่39


ซึ่งจะมีการจ่ายเงินค่าสมทบประกันสังคมในมาตราที่ 40 มีด้วยกันสามทางเลือกดังนี้การจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 70 บาทต่อเดือนการจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 100 บาทต่อเดือน และการจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อเดือน


สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของผู้สมัครมาตราที่ 40

- จะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทยโดยที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข0 ,6หรือ7

- มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์

- เป็นผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ

- ไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตราที่33 และในมาตราที่39 หรือข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ


โดยสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ประกันตนในมาตราที่ 40 จะได้รับนั้นสามารถแบ่ง ได้ตามเงินสมทบที่ทางผู้ประกันตนนั้นทำการจ่ายในทุกๆ เดือน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


กรณีจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 70 บาทต่อเดือน

- ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อวันและไม่เกิน 30 วันต่อปี

- ในกรณีเกิดการทุพพลภาพซึ่งจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เป็นจำนวนเงิน 500 บาทถึง 1000 บาทต่อเดือนและไม่เกิน 15 ปี

- กรณีเกิดการเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทและจะได้รับเพิ่ม 8000 บาทเมื่อจ่ายเงินสมทบครบเป็นระยะเวลาจำนวน 60 เดือนก่อนเสียชีวิต


กรณีจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 100 บาทต่อเดือน

- กรณีเกิดประสบอุบัติเหตุหรือเกิดการเจ็บป่วย จะได้รับเงินทดแทนในการขาดรายได้สูงสุดเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อวันไม่เกิน 30 วันต่อปี

- กรณีเกิดการทุพพลภาพ จะได้รับเงินในการทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวนเงิน 500 บาทถึง 1000 บาทต่อเดือนและไม่เกิน15ปี

- กรณีเกิดการเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทและจะได้รับเงินเพิ่มจำนวน 8000 บาทเมื่อมีการจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนการเสียชีวิต

- กรณีเกิดการชราภาพจะได้รับบำเหน็จชราภาพจำนวน 50 บาทต่อเดือนสามารถออมเพิ่มได้เป็นจำนวนเงิน 1000 บาทต่อเดือน


กรณีจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อเดือน

- กรณีเกิดประสบอุบัติเหตุหรือเกิดการเจ็บป่วย จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดเป็นจำนวนเงิน 300 บาทต่อวันไม่เกิน 90 วันต่อปี

- กรณีเกิดการทุพพลภาพ จะได้รับเงินในการทดแทนในการขาดรายได้เป็นจำนวนเงิน 500 บาทถึง 1000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต

- กรณีเกิดการเสียชีวิตจะได้รับเงินไหมการทำศพเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท

- กรณีเกิดการชราภาพจะได้รับค่าบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเงิน 150 บาทต่อเดือนและกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทและสามารถทำการออมเพิ่มได้ 1000 บาทต่อเดือน

- กรณีเกิดการสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเป็นจำนวนเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือนและครั้งละไม่เกินจำนวนสองคน


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หวังว่าในบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านแล้วพบกันได้ใหม่ในบทความต่อไป


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page