top of page

เจาะกลุ่มผู้บริโภค JOMO และ FOMO ให้ธุรกิจปัง❗


เจาะกลุ่มผู้บริโภค JOMO และ FOMO ให้ธุรกิจปัง❗  เทรนด์การตลาดบนสื่อออนไลน์ล้วนเกิดมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็คงจะเห็นภาพผู้คนเดินถือสมาร์ทโฟนในมือกันตลอดเวลา ทั้งระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน กินข้าว เล่นเกม ดูหนัง รับข่าวสาร ทุกอย่างล้วนทำผ่านโซเชียลได้ทั้งสิ้น จนเกิดเป็นพฤติกรรมเสพติดโซเชียลมีเดีย        แต่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเน้นการรับสื่อทางโซเชียล ก็มีผู้บริโภคที่ไม่ได้มีพฤติกรรมเสพติดโซเชียลด้วยเช่นกัน หนำซ้ำพฤติกรรมยังโน้มเอียงไปทางหลีกหนีจากโซเชียลอีกด้วย ซึ่งนักการตลาดได้แบ่งผู้บริโภคออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ FOMO และ JOMO ที่จะเข้ามาท้าทายผู้ทำธุรกิจออนไลน์ ในการวางแผนสื่อสารให้เจาะกลุ่มผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ  📍FOMO คืออะไร FOMO มาจากคำว่า Fear of Missing Out แปลว่า ความกลัวที่จะพลาดบางสิ่งบางอย่าง พฤติกรรมพื้นฐานของประชากรโลกในยุคดิจิตอล ที่เสพติดสารรับสื่อและข่าวสารทางโซเชียล มีเดียผ่านสมาร์ทโฟนหรือรวมถึงมีอาการติดมือถือตลอดเวลาที่เรียกกันว่า “สังคมก้มหน้า” นั่นเอง  คนที่มีพฤติกรรมนี้มักจะกลัวการตกเทรนด์ ตกข่าวฮอตร้อนแรงที่กำลังเป็นประเด็นบนโลกอินเทอร์เน็ต  📍เช็คอาการของกลุ่ม FOMO เป็นยังไงนะ? ติดโทรศัพท์ มือถือเครื่องเดียวทำได้ทุกอย่าง ไม่เพียงการรับข่าวสารบ้านเมือง ติดตามสินค้าลดราคา โปรโมทชั่น หรือดราม่าต่าง ๆ  แต่เพราะสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวสามารถเป็นได้ทุกอย่าง จึงทำให้ชาว FOMO ไม่มีความจำเป็นต้องเอามือถือออกห่างตัวแม้แต่น้อย  เพื่อนทักมาต้องรีบตอบ – ชาว FOMO ผู้ชื่นชอบการสื่อสารมักทนไม่ได้ที่จะตอบแชทสนทนาช้าไปแม้แต่วินาทีเดียว ดังนั้นหากชาว FOMO ได้ยินหรือได้เห็นหน้าจอแชทเด้งขึ้นมาเมื่อไหร่ พวกเขาจะรีบโต้ตอบอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าตอบช้าไปจะทำให้เขารู้สึกผิดนั่นเอง  อัปเดตชีวิตผ่านโซเชียล มีเดียตลอด  – ติดตามข่าวสารทันเหตุการณ์ก็ส่วนหนึ่ง แต่ชาว FOMO ย่อมพลาดไม่ได้ที่จะแชร์วิถีชีวิตตนเองผ่านโซเชียล มีเดีย ที่เพื่อนๆ ได้รับรู้โดยทั่วกันไม่ว่าจะกินข้าว ไปเที่ยวนอกสถานที่หรือเจอเรื่องสนุกที่คาดไม่ถึงก็ตาม  📍FOMO ติดโซเชียลขนาดนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรวางแผนเข้าถึงพวกเขาอย่างไร ? เอาความเร็วมาช่วยกระตุ้น – เพราะชาว FOMO มีพฤติกรรมชอบเสพข่าวสารที่รวดเร็ว การนำโปรโมทชั่นลดราคาสินค้า ที่เอาราคามาเป็นข้อจำกัด อย่างโปรโมทลดราคาเฉพาะเที่ยงคืน หรือ Sale กระหน่ำเพียง 1 วัน จะช่วยกระตุ้นอาการอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้ลูกค้า FOMO กดสั่งซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว โดยที่ยังไม่รู้ว่าตนเองต้องการสินค้าชิ้นนั้นจริงๆ ไหม รู้ตัวอีกทีก็โอนเงินไปเรียบร้อยซะแล้ว  โฆษณาโหนกระแส – เพราะชาว FOMO ไม่ชอบตกเทรนด์ แบรนด์ก็ไม่ควรตกเทรนด์ด้วยเช่นกัน หากช่วงไหนมีกระแสที่สามารถหยิบมาสร้างสีสันให้กับการทำสื่อโฆษณาได้ ก็ไม่ควรปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป เนื่องจากช่วยให้แบรนด์ดูทันสมัยไม่ตกเทรนด์ ยังมีโอกาสที่ชาว FOMO จะช่วยแชร์ Content หรือส่งต่อไปให้ชาว FOMO ด้วยกันอีกด้วย  Story ต้องมา  – ฟีเจอร์ Story บนแพลตฟอร์ม IG และ Facebook เป็นสิ่งที่ชาว FOMO ชื่นชอบ เนื่องจากสามารถอัปเดตและแชร์ได้เรียลไทม์ พร้อมลูกเล่นมากมายทั้งในรูปแบบ VDO และภาพถ่าย การที่แบรนด์หันมาใช้ฟีเจอร์นี้ในการนำเสนอสินค้า ก็จะช่วยดึงดูดลูกค้า FOMO ให้มาเจอกับสินค้าของแบรนด์ได้  📍คนไทย 25 ล้านคน มีอาการ FOMO จากตัวเลข 82% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าสัดส่วน 43% ของประชากร หรือจำนวน 25.3 ล้านคนมีอาการ FOMO เสพติดสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย กลุ่มนี้เติบโต 4-5% ต่อเนื่องทุกปี  📍กลุ่ม FOMO  ในไทยส่วนใหญ่มี “ทุกวัย” และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก  - Gen Z  ไทยสัดส่วน 90% ทั่วโลก 67% - Millennial ไทยมีสัดส่วน 88% ทั่วโลก 57% - Gen X  ไทยมีสัดส่วน 75%  ทั่วโลก 36% - Baby Boom ไทยสัดส่วน 43% ทั่วโลก 19% ในยุคดิจิทัลต้องบอกว่า FOMO เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง และนักการตลาดเองมีการทำกลยุทธ์ FOMO เพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เช่น แคมเปญประเภท Deal of the day, ลดราคาเฉพาะ 3 วันนี้เท่านั้น, ซื้อตอนนี้ลด 15% เป็นต้น ถือเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นอาการ FOMO ให้ต้องรีบตัดสินใจซื้อแม้ยังไม่ต้องการก็ตาม กลยุทธ์กระตุ้นยอดขายให้ได้ผล 90% คือ “ส่งฟรี”   📍JOMO คืออะไร? JOMO ย่อมาจาก Joy of Missing Out หรือที่แปลว่า ความสุขที่ได้พลาดบางสิ่งบางอย่างไป JOMO เป็นขั้วตรงข้ามของ FOMO เป็นพฤติกรรมถอยห่างจากโซเซียลมีเดีย เพื่อเอาเวลาไปโฟกัสกับกิจกรรมรอบตัว ไม่ยึดติดว่าสมาร์ทโฟนเป็นทุกอย่างของชีวิตและคิดว่าชีวิตนี้หากพลาดกระแสไปสักอย่างก็ไม่ใช่เรื่องผิด  📍เช็คอาการของกลุ่ม JOMO เป็นยังไงนะ  โฟกัสกิจกรรมที่ไม่ต้องติดกับสมาร์ทโฟนตลอดเวลา – ชาว JOMO ไม่โฟกัสกิจกรรมที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความเอียนการใช้โซเชียล มีเดีย จนต้องหาทางหลีกหนีออกมาโฟกัสกับกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา เช่น การออกไปเที่ยว อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เป็นต้น  ไม่รู้สึกผิดที่จะตกเทรนด์ – เพราะชาว JOMO เกิดขึ้นจากอาการเบื่อโลกโซเชียลเป็นทุนเดิม ทำให้มีพฤติกรรมถอยห่างจากหรือตัดขาดจากสื่อออนไลน์ พวกเขาจึงไม่รู้สึกผิดที่จะพลาดข่าวสารหรือยอมตกเทรนด์บางอย่างไป เพื่อที่จะมีเวลาพักผ่อนสบาย ๆ อย่างแท้จริง รวมถึงพวกเขาอาจจะตัดขาดการสนทนาผ่านแชท ตอบไลน์ ตอบ Inbox ช้าไปเป็นวัน ๆ โดยไม่รู้สึกผิดเลยก็ได้เช่นกัน  📍JOMO ถอยห่างโซเชียลขนาดนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรวางแผนเข้าถึงพวกเขาอย่างไร ? สร้างสื่อที่สามารถเสพได้พร้อมกับการทำกิจกรรมอื่น ถึงชาว JOMO จะเอาใจออกห่างจากโซเชีลยมีเดีย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถตัดอินเทอร์เน็ตออกไปจากชีวิตได้อยู่ดี โดยเฉพาะการค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าหรือความรู้ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบรนด์สามารถนำพฤติกรรมของชาว JOMO มาวิเคราะห์ พร้อมประยุกต์แนวทางสร้าง Content ที่จะสื่อสารไปถึงพวกเขาได้  Content SEO – นำทางให้ชาว JOMO มายัง Content ของแบรนด์ด้วย Google ผ่านการเสิร์ทค้นหาข้อมูลสินค้า หรือการค้นหาความรู้ต่างๆ โดยอาจจะเป็น Content ให้ความรู้ที่ตอบโจทย์ชาว JOMO พร้อม Tie – in สินค้า ของแบรนด์แบบเนียน ๆ ในช่วงท้าย แบบนี้ลูกค้าก็จะได้ทั้งความรู้พร้อมจดจำผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไปพร้อมกัน  Podcast – ฟังไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วยเพลินๆ ก็สะดวกดี สื่อที่ตอบโจทย์ชาว JOMO ที่เอาใจออกห่างแพลตฟอร์มโซเชียลไปโฟกัสกิจกรรมรอบตัว เหมือนกับการฟังวิทยุ เพียงแต่ Podcast สามารถเลือกฟัง Content ตามหัวข้อที่ต้องการได้อย่างอิสระ น่าจะถูกใจชาว JOMO ไม่น้อยทีเดียว  📍ส่วนในไทยเริ่มเห็นเช่นกัน โดย กลุ่ม JOMO ในไทยมีประมาณ 5.7 ล้านคน   คิดเป็นสัดส่วน 10% ของประชากรไทย เติบโต 0.5% ในปีที่ผ่านมา แม้จำนวนไม่มาก แต่เป็นสิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดต้องจับตา เพื่อหาเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้  พบว่า JOMO คือ คนที่ใช้ออนไลน์ มาถึงจุดอิ่มตัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกวัย ที่ซับซ้อนกว่านั้น JOMO เป็นอาการที่เกิดขึ้นกลุ่ม FOMO ในบางโมเมนต์ ส่วนใหญ่ JOMO จะอยู่ในกรุงเทพฯ และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เปรียบเทียบกลุ่ม JOMO ในไทยกับต่างประเทศ - Gen Z  ไทยสัดส่วน 43% ทั่วโลก 17% - Millennial ไทยสัดส่วน 36% ทั่วโลก 13% - Gen X  ไทยสัดส่วน 26% ทั่วโลก 8% - Baby Boom  ไทยสัดส่วน 12% ทั่วโลก 4%  ปัจจุบันเทรนด์ JOMO ไทยในกลุ่ม Gen X  เติบโตสูงสุดที่ 204% สาเหตุหลักๆ ที่กลุ่มนี้ใช้สื่อออนไลน์ลดลง มาจากเทรนด์สุขภาพ เพราะ Gen X มักมีปัญหาเรื่องสายตา จากการเสพสื่อออนไลน์ ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอาการ JOMO มาจากการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเช่นกัน และต้องการสร้างสมดุลการใช้ชีวิต ที่ไม่เพียงอยู่แต่ในโลกออนไลน์เท่านั้น  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

เจาะกลุ่มผู้บริโภค JOMO และ FOMO ให้ธุรกิจปัง❗


เทรนด์การตลาดบนสื่อออนไลน์ล้วนเกิดมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็คงจะเห็นภาพผู้คนเดินถือสมาร์ทโฟนในมือกันตลอดเวลา ทั้งระหว่างเดินทางไปไหนมาไหน กินข้าว เล่นเกม ดูหนัง รับข่าวสาร ทุกอย่างล้วนทำผ่านโซเชียลได้ทั้งสิ้น จนเกิดเป็นพฤติกรรมเสพติดโซเชียลมีเดีย


แต่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเน้นการรับสื่อทางโซเชียล ก็มีผู้บริโภคที่ไม่ได้มีพฤติกรรมเสพติดโซเชียลด้วยเช่นกัน หนำซ้ำพฤติกรรมยังโน้มเอียงไปทางหลีกหนีจากโซเชียลอีกด้วย ซึ่งนักการตลาดได้แบ่งผู้บริโภคออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ FOMO และ JOMO ที่จะเข้ามาท้าทายผู้ทำธุรกิจออนไลน์ ในการวางแผนสื่อสารให้เจาะกลุ่มผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ


📍FOMO คืออะไร

FOMO มาจากคำว่า Fear of Missing Out แปลว่า ความกลัวที่จะพลาดบางสิ่งบางอย่าง พฤติกรรมพื้นฐานของประชากรโลกในยุคดิจิตอล ที่เสพติดสารรับสื่อและข่าวสารทางโซเชียล มีเดียผ่านสมาร์ทโฟนหรือรวมถึงมีอาการติดมือถือตลอดเวลาที่เรียกกันว่า “สังคมก้มหน้า” นั่นเอง คนที่มีพฤติกรรมนี้มักจะกลัวการตกเทรนด์ ตกข่าวฮอตร้อนแรงที่กำลังเป็นประเด็นบนโลกอินเทอร์เน็ต


📍เช็คอาการของกลุ่ม FOMO เป็นยังไงนะ?

ติดโทรศัพท์ มือถือเครื่องเดียวทำได้ทุกอย่าง ไม่เพียงการรับข่าวสารบ้านเมือง ติดตามสินค้าลดราคา โปรโมทชั่น หรือดราม่าต่าง ๆ แต่เพราะสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวสามารถเป็นได้ทุกอย่าง จึงทำให้ชาว FOMO ไม่มีความจำเป็นต้องเอามือถือออกห่างตัวแม้แต่น้อย


เพื่อนทักมาต้องรีบตอบ – ชาว FOMO ผู้ชื่นชอบการสื่อสารมักทนไม่ได้ที่จะตอบแชทสนทนาช้าไปแม้แต่วินาทีเดียว ดังนั้นหากชาว FOMO ได้ยินหรือได้เห็นหน้าจอแชทเด้งขึ้นมาเมื่อไหร่ พวกเขาจะรีบโต้ตอบอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าตอบช้าไปจะทำให้เขารู้สึกผิดนั่นเอง


อัปเดตชีวิตผ่านโซเชียล มีเดียตลอด – ติดตามข่าวสารทันเหตุการณ์ก็ส่วนหนึ่ง แต่ชาว FOMO ย่อมพลาดไม่ได้ที่จะแชร์วิถีชีวิตตนเองผ่านโซเชียล มีเดีย ที่เพื่อนๆ ได้รับรู้โดยทั่วกันไม่ว่าจะกินข้าว ไปเที่ยวนอกสถานที่หรือเจอเรื่องสนุกที่คาดไม่ถึงก็ตาม


📍FOMO ติดโซเชียลขนาดนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรวางแผนเข้าถึงพวกเขาอย่างไร ?

เอาความเร็วมาช่วยกระตุ้น – เพราะชาว FOMO มีพฤติกรรมชอบเสพข่าวสารที่รวดเร็ว การนำโปรโมทชั่นลดราคาสินค้า ที่เอาราคามาเป็นข้อจำกัด อย่างโปรโมทลดราคาเฉพาะเที่ยงคืน หรือ Sale กระหน่ำเพียง 1 วัน จะช่วยกระตุ้นอาการอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้ลูกค้า FOMO กดสั่งซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว โดยที่ยังไม่รู้ว่าตนเองต้องการสินค้าชิ้นนั้นจริงๆ ไหม รู้ตัวอีกทีก็โอนเงินไปเรียบร้อยซะแล้ว


โฆษณาโหนกระแส – เพราะชาว FOMO ไม่ชอบตกเทรนด์ แบรนด์ก็ไม่ควรตกเทรนด์ด้วยเช่นกัน หากช่วงไหนมีกระแสที่สามารถหยิบมาสร้างสีสันให้กับการทำสื่อโฆษณาได้ ก็ไม่ควรปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป เนื่องจากช่วยให้แบรนด์ดูทันสมัยไม่ตกเทรนด์ ยังมีโอกาสที่ชาว FOMO จะช่วยแชร์ Content หรือส่งต่อไปให้ชาว FOMO ด้วยกันอีกด้วย


Story ต้องมา – ฟีเจอร์ Story บนแพลตฟอร์ม IG และ Facebook เป็นสิ่งที่ชาว FOMO ชื่นชอบ เนื่องจากสามารถอัปเดตและแชร์ได้เรียลไทม์ พร้อมลูกเล่นมากมายทั้งในรูปแบบ VDO และภาพถ่าย การที่แบรนด์หันมาใช้ฟีเจอร์นี้ในการนำเสนอสินค้า ก็จะช่วยดึงดูดลูกค้า FOMO ให้มาเจอกับสินค้าของแบรนด์ได้


📍คนไทย 25 ล้านคน มีอาการ FOMO

จากตัวเลข 82% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าสัดส่วน 43% ของประชากร หรือจำนวน 25.3 ล้านคนมีอาการ FOMO เสพติดสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย กลุ่มนี้เติบโต 4-5% ต่อเนื่องทุกปี


📍กลุ่ม FOMO ในไทยส่วนใหญ่มี “ทุกวัย” และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

- Gen Z ไทยสัดส่วน 90% ทั่วโลก 67%

- Millennial ไทยมีสัดส่วน 88% ทั่วโลก 57%

- Gen X ไทยมีสัดส่วน 75% ทั่วโลก 36%

- Baby Boom ไทยสัดส่วน 43% ทั่วโลก 19%

ในยุคดิจิทัลต้องบอกว่า FOMO เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง และนักการตลาดเองมีการทำกลยุทธ์ FOMO เพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เช่น แคมเปญประเภท Deal of the day, ลดราคาเฉพาะ 3 วันนี้เท่านั้น, ซื้อตอนนี้ลด 15% เป็นต้น ถือเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นอาการ FOMO ให้ต้องรีบตัดสินใจซื้อแม้ยังไม่ต้องการก็ตาม กลยุทธ์กระตุ้นยอดขายให้ได้ผล 90% คือ “ส่งฟรี”


📍JOMO คืออะไร?

JOMO ย่อมาจาก Joy of Missing Out หรือที่แปลว่า ความสุขที่ได้พลาดบางสิ่งบางอย่างไป JOMO เป็นขั้วตรงข้ามของ FOMO เป็นพฤติกรรมถอยห่างจากโซเซียลมีเดีย เพื่อเอาเวลาไปโฟกัสกับกิจกรรมรอบตัว ไม่ยึดติดว่าสมาร์ทโฟนเป็นทุกอย่างของชีวิตและคิดว่าชีวิตนี้หากพลาดกระแสไปสักอย่างก็ไม่ใช่เรื่องผิด


📍เช็คอาการของกลุ่ม JOMO เป็นยังไงนะ

โฟกัสกิจกรรมที่ไม่ต้องติดกับสมาร์ทโฟนตลอดเวลา – ชาว JOMO ไม่โฟกัสกิจกรรมที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความเอียนการใช้โซเชียล มีเดีย จนต้องหาทางหลีกหนีออกมาโฟกัสกับกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา เช่น การออกไปเที่ยว อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เป็นต้น


ไม่รู้สึกผิดที่จะตกเทรนด์ – เพราะชาว JOMO เกิดขึ้นจากอาการเบื่อโลกโซเชียลเป็นทุนเดิม ทำให้มีพฤติกรรมถอยห่างจากหรือตัดขาดจากสื่อออนไลน์ พวกเขาจึงไม่รู้สึกผิดที่จะพลาดข่าวสารหรือยอมตกเทรนด์บางอย่างไป เพื่อที่จะมีเวลาพักผ่อนสบาย ๆ อย่างแท้จริง รวมถึงพวกเขาอาจจะตัดขาดการสนทนาผ่านแชท ตอบไลน์ ตอบ Inbox ช้าไปเป็นวัน ๆ โดยไม่รู้สึกผิดเลยก็ได้เช่นกัน


📍JOMO ถอยห่างโซเชียลขนาดนี้ ธุรกิจออนไลน์ควรวางแผนเข้าถึงพวกเขาอย่างไร ?

สร้างสื่อที่สามารถเสพได้พร้อมกับการทำกิจกรรมอื่น ถึงชาว JOMO จะเอาใจออกห่างจากโซเชีลยมีเดีย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถตัดอินเทอร์เน็ตออกไปจากชีวิตได้อยู่ดี โดยเฉพาะการค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าหรือความรู้ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบรนด์สามารถนำพฤติกรรมของชาว JOMO มาวิเคราะห์ พร้อมประยุกต์แนวทางสร้าง Content ที่จะสื่อสารไปถึงพวกเขาได้


Content SEO – นำทางให้ชาว JOMO มายัง Content ของแบรนด์ด้วย Google ผ่านการเสิร์ทค้นหาข้อมูลสินค้า หรือการค้นหาความรู้ต่างๆ โดยอาจจะเป็น Content ให้ความรู้ที่ตอบโจทย์ชาว JOMO พร้อม Tie – in สินค้า ของแบรนด์แบบเนียน ๆ ในช่วงท้าย แบบนี้ลูกค้าก็จะได้ทั้งความรู้พร้อมจดจำผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไปพร้อมกัน


Podcast – ฟังไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วยเพลินๆ ก็สะดวกดี สื่อที่ตอบโจทย์ชาว JOMO ที่เอาใจออกห่างแพลตฟอร์มโซเชียลไปโฟกัสกิจกรรมรอบตัว เหมือนกับการฟังวิทยุ เพียงแต่ Podcast สามารถเลือกฟัง Content ตามหัวข้อที่ต้องการได้อย่างอิสระ น่าจะถูกใจชาว JOMO ไม่น้อยทีเดียว


📍ส่วนในไทยเริ่มเห็นเช่นกัน โดย กลุ่ม JOMO ในไทยมีประมาณ 5.7 ล้านคน

คิดเป็นสัดส่วน 10% ของประชากรไทย เติบโต 0.5% ในปีที่ผ่านมา แม้จำนวนไม่มาก แต่เป็นสิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดต้องจับตา เพื่อหาเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้


พบว่า JOMO คือ คนที่ใช้ออนไลน์ มาถึงจุดอิ่มตัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกวัย ที่ซับซ้อนกว่านั้น JOMO เป็นอาการที่เกิดขึ้นกลุ่ม FOMO ในบางโมเมนต์ ส่วนใหญ่ JOMO จะอยู่ในกรุงเทพฯ และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เปรียบเทียบกลุ่ม JOMO ในไทยกับต่างประเทศ

- Gen Z ไทยสัดส่วน 43% ทั่วโลก 17%

- Millennial ไทยสัดส่วน 36% ทั่วโลก 13%

- Gen X ไทยสัดส่วน 26% ทั่วโลก 8%

- Baby Boom ไทยสัดส่วน 12% ทั่วโลก 4%


ปัจจุบันเทรนด์ JOMO ไทยในกลุ่ม Gen X เติบโตสูงสุดที่ 204% สาเหตุหลักๆ ที่กลุ่มนี้ใช้สื่อออนไลน์ลดลง มาจากเทรนด์สุขภาพ เพราะ Gen X มักมีปัญหาเรื่องสายตา จากการเสพสื่อออนไลน์ ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอาการ JOMO มาจากการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเช่นกัน และต้องการสร้างสมดุลการใช้ชีวิต ที่ไม่เพียงอยู่แต่ในโลกออนไลน์เท่านั้น


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

ดู 82 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page