top of page

Domain Name VS URL ต่างกันอย่างไร❓


  Domain Name VS URL ต่างกันอย่างไร❓  ถ้าพูดถึงสองคำนี้ บางคนอาจจะสับสนระหว่าง Domain และ URL เพราะพวกมันดูคล้ายคลึงกันมาก วันนี้เราจึงจะมาอธิบายความแตกต่างและตัวอย่าง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น  👉🏻ทำความเข้าใจ “ชื่อโดเมน (Domain Name) ประการแรกชื่อโดเมน หรือโดเมนเนม เป็นหนึ่งในทรัพยากรอินเทอร์เน็ต เรียกได้ว่าใช้เป็นที่ตั้งองค์กร หรือหน่วยงานบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยชื่อโดเมนคือ ที่อยู่ ซึ่งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ ผ่านการพิมพ์ชื่อโดเมนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการจดโดเมนจะต้องถูกต้องตามกฎและขั้นตอนของระบบชื่อโดเมน (DNS) เมื่อต้องการเข้าถึงบริการบนเว็บ ผู้ใช้จำเป็นต้องใส่ชื่อโดเมนที่ถูกต้อง  👉🏻ทำความเข้าใจ “ที่อยู่เว็บไซต์ (URL) URL ย่อมาจาก Uniform Resource Locator มันเป็นตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูล หรือไฟล์บนอินเทอร์เน็ต เป็นที่อยู่เว็บที่เราใช้ เพื่อระบุแหล่งข้อมูลเฉพาะบนเครือข่าย  👉🏻วิธีแยกชื่อโดเมน (Domain Name) ออกจากที่อยู่เว็บ (URL) วิธีแยกความแตกต่างง่าย ๆ เลยคือ ให้จำว่า URL เป็นชุดข้อมูลที่ให้ที่อยู่ของหน้าเว็บบนอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ชื่อโดเมนเป็นส่วนหนึ่งของ URL ซึ่งเป็นรูปแบบ IP Address ที่สามารถจดจำได้ง่าย  ตัวอย่างเช่น “http://www.anet.th/a/service” เป็น URL แต่ถ้าหากเป็น “anet.net.th” เป็น Domain Name  สำหรับ URL แล้วจะประกอบด้วยส่วนอื่น ๆ อีกนอกจากชื่อโดเมน ก็จะมีการแบ่งตามหน้าที่เราเปิด หรือเเบ่งตาม Path เป็นต้น ส่วนโดเมนเองก็มีการแบ่งเป็นโดเมนย่อย และโดเมนระดับบนสุดด้วย  👉🏻การแตกต่างนั้นสำคัญ เหมือนการรู้พื้นฐานของระบบภายในบ้านของคุณ การรู้ว่าชื่อโดเมน (Domain Name) และ URL ทำงานร่วมกันอย่างไร จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะช่วยให้คุณอธิบายปัญหาให้กับผู้เชี่ยวชาญหรือแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ ด้วยตัวคุณเองได้  ถ้าหากชื่อโดเมนของคุณแสดงเว็บไซต์ไม่ถูกต้อง สาเหตุอาจเกิดจากการที่โดเมนและเว็บไซต์ไม่ได้รับการซิงค์อย่างเหมาะสมและไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าโดเมนได้ชี้ไปที่เว็บไซต์อย่างถูกต้อง โดยผ่านผู้รับจดโดเมนและผู้ให้บริการเว็บไซต์  โดเมนเนม คือชื่อเฉพาะของเว็บไซต์นั้นๆ ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อนำไปใช้งาน โดยปกติแล้วควรตั้งให้สั้น กระชับ และบ่งบอกความเป็นตัวเราได้ทันที และพึงระลึกเสมอว่าชื่อโดเมนยิ่งสั้น ยิ่งดี ถ้ายาวเกินไปจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ โดยกลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่มักใช้ชื่อแบรนด์ของตนเองเป็นโดเมนเนมเพื่อการจดจำที่ง่ายขึ้น ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น “apple”.com, “fullrichbride”.com หรือ “makewebeasy”.com เป็นต้น  หลังจากเลือกชื่อโดเมนได้แล้ว สิ่งที่ควรรู้ต่อมาก็คือ นามสกุล ที่สามารถดูได้จากส่วนขยายที่ต่อท้ายจากชื่อโดเมน ซึ่งก็คือบรรดา .com .net .co.th .org ฯลฯ ซึ่งนามสกุลเหล่านี้แม้ในทางเทคนิคจะไม่แตกต่างกันมาก และมีให้เลือกใช้กว่าพันแบบ แต่สกุลที่เราได้ยินกันบ่อยๆ อย่าง .com .net .ac .co .org นามสกุลเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของ top-level domains (TLDs) หรือสกุลที่เป็นที่รู้จัก และคุ้นชินของผู้ใช้ทั่วโลกนั่นเอง ซึ่งนามสกุลแต่ละอันสามารถระบุประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ ได้ในบางครั้งด้วย อันเนื่องมาจากการใช้งานส่วนใหญ่ของประเภทเว็บไซต์ที่ใช้งานกันมายาวนาน โดยอาจจำแนกเป็นประเภทได้ ดังนี้ .com – เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ ร้านค้า หรือเว็บไซต์ทั่วไป .net – เว็บไซต์เกี่ยวกับระบบ Network .org – เว็บไซต์องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร .ac.th – เว็บไซต์สถาบันการศึกษาในประเทศไทย .co.th – เว็บไซต์องค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนพาณิชย์ในประเทศไทย .go.th – เว็บไซต์หน่วยงานของรัฐบาลไทย .or.th – เว็บไซต์ราชการ หรือองค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ นามสกุลที่ตามหลังชื่อโดเมนมีให้เลือกมากมายกว่าพันแบบ ซึ่งนามสกุลกลุ่มใหม่ๆ นี้อาจไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกรุ๊ป TLDs แต่เป็นกลุ่มใหม่ เช่น tv.line.me หรือ www.thinkparty.agency เป็นต้น  สาเหตุที่เว็บไซต์ส่วนใหญ่เลือกใช้นามสกุลเดิมๆ เป็นเพราะว่า ชื่อเหล่านั้นคุ้นหูผู้ใช้อยู่แล้ว จดจำง่าย และภาพลักษณ์ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าหากลองเปลี่ยนไปใช้นามสกุลอื่นที่ไม่คุ้นหู ผู้ใช้ก็อาจจะไม่เชื่อถือเว็บไซต์นั้นๆ ก็เป็นได้  👉🏻URL (Universal Resource Locator) URL คือรายละเอียดที่อยู่ที่จะสามารถนำทางไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ได้ สมมติง่ายๆ ให้เว็บไซต์เป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง Domain Name คือชื่อบ้านหลังนั้น ส่วน URL คือเส้นทางที่จะพาไปยังบ้านหลังนั้นนั่นเอง โดย URL จะประกอบไปด้วย ส่วนแรก – ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่เรียกว่า SSL ซึ่งเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยนี้จะมีชื่อ https อยู่ด้านหน้า URL (อ่านเรื่อง SSL อย่างละเอียดต่อได้ที่นี่) ส่วนที่สอง – ชื่อโดเมนของเรา เช่น www.makewebeasy ส่วนที่สาม – นามสกุลต่อท้าย เช่น .com .net .co.th เป็นต้น ถ้ารวมข้อมูลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์เป็น> https://www.makewebeasy.com ซึ่งถ้าเรานำเอา URL ทั้งหมดไปใส่ในช่องกรอก URL ก็จะเป็นการนำทางไปยังเว็บไซต์ของเรานั่นเอง  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

Domain Name VS URL ต่างกันอย่างไร❓


ถ้าพูดถึงสองคำนี้ บางคนอาจจะสับสนระหว่าง Domain และ URL เพราะพวกมันดูคล้ายคลึงกันมาก วันนี้เราจึงจะมาอธิบายความแตกต่างและตัวอย่าง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น


👉🏻ทำความเข้าใจ “ชื่อโดเมน (Domain Name)

ประการแรกชื่อโดเมน หรือโดเมนเนม เป็นหนึ่งในทรัพยากรอินเทอร์เน็ต เรียกได้ว่าใช้เป็นที่ตั้งองค์กร หรือหน่วยงานบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยชื่อโดเมนคือ ที่อยู่ ซึ่งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ ผ่านการพิมพ์ชื่อโดเมนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการจดโดเมนจะต้องถูกต้องตามกฎและขั้นตอนของระบบชื่อโดเมน (DNS) เมื่อต้องการเข้าถึงบริการบนเว็บ ผู้ใช้จำเป็นต้องใส่ชื่อโดเมนที่ถูกต้อง


👉🏻ทำความเข้าใจ “ที่อยู่เว็บไซต์ (URL)

URL ย่อมาจาก Uniform Resource Locator มันเป็นตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูล หรือไฟล์บนอินเทอร์เน็ต เป็นที่อยู่เว็บที่เราใช้ เพื่อระบุแหล่งข้อมูลเฉพาะบนเครือข่าย


👉🏻วิธีแยกชื่อโดเมน (Domain Name) ออกจากที่อยู่เว็บ (URL)

วิธีแยกความแตกต่างง่าย ๆ เลยคือ ให้จำว่า URL เป็นชุดข้อมูลที่ให้ที่อยู่ของหน้าเว็บบนอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ชื่อโดเมนเป็นส่วนหนึ่งของ URL ซึ่งเป็นรูปแบบ IP Address ที่สามารถจดจำได้ง่าย


ตัวอย่างเช่น “http://www.anet.th/a/service” เป็น URL แต่ถ้าหากเป็น “anet.net.th” เป็น Domain Name


สำหรับ URL แล้วจะประกอบด้วยส่วนอื่น ๆ อีกนอกจากชื่อโดเมน ก็จะมีการแบ่งตามหน้าที่เราเปิด หรือเเบ่งตาม Path เป็นต้น ส่วนโดเมนเองก็มีการแบ่งเป็นโดเมนย่อย และโดเมนระดับบนสุดด้วย


👉🏻การแตกต่างนั้นสำคัญ เหมือนการรู้พื้นฐานของระบบภายในบ้านของคุณ

การรู้ว่าชื่อโดเมน (Domain Name) และ URL ทำงานร่วมกันอย่างไร จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะช่วยให้คุณอธิบายปัญหาให้กับผู้เชี่ยวชาญหรือแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ ด้วยตัวคุณเองได้


ถ้าหากชื่อโดเมนของคุณแสดงเว็บไซต์ไม่ถูกต้อง สาเหตุอาจเกิดจากการที่โดเมนและเว็บไซต์ไม่ได้รับการซิงค์อย่างเหมาะสมและไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าโดเมนได้ชี้ไปที่เว็บไซต์อย่างถูกต้อง โดยผ่านผู้รับจดโดเมนและผู้ให้บริการเว็บไซต์


โดเมนเนม คือชื่อเฉพาะของเว็บไซต์นั้นๆ ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อนำไปใช้งาน โดยปกติแล้วควรตั้งให้สั้น กระชับ และบ่งบอกความเป็นตัวเราได้ทันที และพึงระลึกเสมอว่าชื่อโดเมนยิ่งสั้น ยิ่งดี ถ้ายาวเกินไปจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ โดยกลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่มักใช้ชื่อแบรนด์ของตนเองเป็นโดเมนเนมเพื่อการจดจำที่ง่ายขึ้น ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น “apple”.com, “fullrichbride”.com หรือ “makewebeasy”.com เป็นต้น


หลังจากเลือกชื่อโดเมนได้แล้ว สิ่งที่ควรรู้ต่อมาก็คือ นามสกุล ที่สามารถดูได้จากส่วนขยายที่ต่อท้ายจากชื่อโดเมน ซึ่งก็คือบรรดา .com .net .co.th .org ฯลฯ ซึ่งนามสกุลเหล่านี้แม้ในทางเทคนิคจะไม่แตกต่างกันมาก และมีให้เลือกใช้กว่าพันแบบ แต่สกุลที่เราได้ยินกันบ่อยๆ อย่าง .com .net .ac .co .org นามสกุลเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของ top-level domains (TLDs) หรือสกุลที่เป็นที่รู้จัก และคุ้นชินของผู้ใช้ทั่วโลกนั่นเอง ซึ่งนามสกุลแต่ละอันสามารถระบุประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ ได้ในบางครั้งด้วย อันเนื่องมาจากการใช้งานส่วนใหญ่ของประเภทเว็บไซต์ที่ใช้งานกันมายาวนาน โดยอาจจำแนกเป็นประเภทได้ ดังนี้

.com – เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ ร้านค้า หรือเว็บไซต์ทั่วไป

.net – เว็บไซต์เกี่ยวกับระบบ Network

.org – เว็บไซต์องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

.ac.th – เว็บไซต์สถาบันการศึกษาในประเทศไทย

.co.th – เว็บไซต์องค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนพาณิชย์ในประเทศไทย

.go.th – เว็บไซต์หน่วยงานของรัฐบาลไทย

.or.th – เว็บไซต์ราชการ หรือองค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทย

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ นามสกุลที่ตามหลังชื่อโดเมนมีให้เลือกมากมายกว่าพันแบบ ซึ่งนามสกุลกลุ่มใหม่ๆ นี้อาจไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกรุ๊ป TLDs แต่เป็นกลุ่มใหม่ เช่น tv.line.me หรือ www.thinkparty.agency เป็นต้น


สาเหตุที่เว็บไซต์ส่วนใหญ่เลือกใช้นามสกุลเดิมๆ เป็นเพราะว่า ชื่อเหล่านั้นคุ้นหูผู้ใช้อยู่แล้ว จดจำง่าย และภาพลักษณ์ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าหากลองเปลี่ยนไปใช้นามสกุลอื่นที่ไม่คุ้นหู ผู้ใช้ก็อาจจะไม่เชื่อถือเว็บไซต์นั้นๆ ก็เป็นได้


👉🏻URL (Universal Resource Locator)

URL คือรายละเอียดที่อยู่ที่จะสามารถนำทางไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ได้ สมมติง่ายๆ ให้เว็บไซต์เป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง Domain Name คือชื่อบ้านหลังนั้น ส่วน URL คือเส้นทางที่จะพาไปยังบ้านหลังนั้นนั่นเอง โดย URL จะประกอบไปด้วย

ส่วนแรก – ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่เรียกว่า SSL ซึ่งเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยนี้จะมีชื่อ https อยู่ด้านหน้า URL (อ่านเรื่อง SSL อย่างละเอียดต่อได้ที่นี่)

ส่วนที่สอง – ชื่อโดเมนของเรา เช่น www.makewebeasy

ส่วนที่สาม – นามสกุลต่อท้าย เช่น .com .net .co.th เป็นต้น

ถ้ารวมข้อมูลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์เป็น> https://www.makewebeasy.com ซึ่งถ้าเรานำเอา URL ทั้งหมดไปใส่ในช่องกรอก URL ก็จะเป็นการนำทางไปยังเว็บไซต์ของเรานั่นเอง


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 162 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page