Brand CI คืออะไร❓เจ้าของธุรกิจต้องรู้
Brand CI คืออะไร❓เจ้าของธุรกิจต้องรู้
Brand CI หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Corporate Identity หรือ Brand Identity คือ อัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์ ที่กำหนดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดและเพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภคนั่นเอง
🔸Brand CI คืออะไร?
CI ย่อมาจากคำว่า Corporate Identity ภาษาไทยคือ “อัตลักษณ์แบรนด์” หลายคนอาจจะงงนะคะ แต่ถ้าขวัญพูดว่า ออกแบบโลโก้ ออกแบบลายกราฟฟิค ออกแบบ Facebook cover ฯลฯ ทุกคนก็อาจจะถึงบางอ้อกัน เพียงแต่ที่ทุกคนรู้จัก เคยเห็น หรือ เคยทำมาก่อนนั้น อาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการออกแบบ Brand CI เท่านั้นค่ะ
แบรนด์ CI จริง ๆ แล้ว จะเป็นเสมือน Framework หรือ กรอบใหญ่ ๆ ของงานดีไซน์ งานออกแบบต่าง ๆ ทั้งหมดของแบรนด์เรา เป็นสิ่งที่จะช่วยกำหนดทิศทางงานออกแบบต่าง ๆ ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ เป็นสื่อการตลาดต่าง ๆ เช่น โพสเตอร์สินค้า นามบัตร โบรชัวร์ ว่าควรจะเป็นไปแบบไหน ใช้สีอะไร ฟ้อนต์อะไร จัดวางเลย์เอาท์อย่างไรเป็นต้น
พูดง่ายๆ เวลาที่เราจะสร้างแบรนด์ให้โดดเด่น เราจะต้องสร้างระบบกราฟฟิกของบริษัท หรือของธุรกิจเราที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา โดยที่มันจะไม่ใช่แค่โลโกหรือแพ็คเกจจิ้งอย่างเดียว มันจะรวมถึงหลายๆ อย่าง ที่ประกอบกันออกมาเป็นหน้าตาของแบรนด์เราที่จะออกสู่สายตาลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น โลโก้ แพ็คเกจจิ้ง รวมไปถึงการออกแบบโซเชียลมีเดีย อย่างเวลาเราจะโพสต์อะไรลงไปในเฟสบุ๊ค หรือว่าการออกแบบเว็บไซต์ก็เป็นส่วนหนึ่ง แม้แต่เครื่องแบบยูนิฟอร์มของพนักงาน ของที่ระลึกที่เราให้ลูกค้า นามบัตร แฟ้มเอกสาร ฯลฯ เหล่านี้ก็ถือเป็นการออกแบบ Brand CI แบบหนึ่งเช่นกัน
บริษัทหรือแบรนด์ที่ออกแบบตัว CI ได้อย่างเป็นระบบ มีเอกลักษณ์ และมีความสวยงาม จะมีข้อได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ ที่สำคัญคือ ทำให้แบรนด์ของเรามีเอกลักษณ์แตกต่างออกมาจากคู่แข่งค่ะ ลองดูภาพตัวอย่างที่ขวัญนำมาจากเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Packaing of the World ด้านล่าง จะเห็นได้ว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดมีจุดเชื่อมโยงเดียวกัน เช่น การจัดวางเลย์เอาท์ การใช้ตัวอักษร ฯลฯ และดูเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การเลือกใช้โทนสี เป็นต้น แบบนี้แหละค่ะที่เรียกว่า “ดูมีความเป็นแบรนด์”
🔸ความสำคัญของ CI
1. สร้างภาพจำให้กับลูกค้า
เพื่อสร้างความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ลองนึกภาพตามว่ามีลูกค้าเคยซื้อสินค้าจากร้านของเราบนแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่จำชื่อร้านไม่ได้ พอค้นหาสินค้าก็เจอสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด แต่ลูกค้าจำได้ว่าเคยซื้อจากร้านที่มีกรอบสีฟ้า จึงกลับมาซื้อสินค้ากับร้านเราถูก
2. กำหนดทิศทางในการสื่อสารของธุรกิจ
ยิ่งธุรกิจของเรามีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มีหน้าร้านออนไลน์ มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีแอดมินดูแลหลายคน CI จะยิ่งเข้ามามีบทบาทในการทำให้ภาพลักษณ์และการสื่อสารของธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีระเบียบแบบแผน และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
3. ลดความสับสน
การมี Corporate Identity สามารถช่วยลดความสับสนในกรณีที่ธุรกิจมีช่องทางการขายหรือช่องทางการสื่อสารลูกค้าหลายช่องทาง เพราะหากธุรกิจนำ Brand CI มาปรับใช้กับทุกช่องทางการขายหรือช่องทางติดต่อ โดยอาจใช้โลโก้ ฟ้อนต์ และโทนสีเดียวกัน ลูกค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นของร้านค้าเดียวกัน
🔸ขั้นตอนการทำ CI
หลักการเบื้องต้นของการทำ CI ที่ธุรกิจควรคำนึงถึงมีดังนี้เลย
1. โลโก้
นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้นพื้นฐานเลยสำหรับแบรนด์ หากธุรกิจของคุณยังไม่มีโลโก้เป็นของตนเอง อาจเริ่มจากการดีไซน์อย่างง่าย ๆ โดยคำนึงเรื่องการเล่าเรื่องให้โลโก้สื่อถึงผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจของเรา ซึ่งสมัยนี้ก็มีโปรแกรมตัวช่วยในการออกแบบโลโก้สำเร็จรูปมากมาย ที่ร้านค้าสามารถนำไปปรับใช้กันได้ หรือหากต้องการให้โลโก้ของเรามีความโดดเด่น ไม่เหมือนใครอย่างแท้จริงก็อาจเลือกใช้บริการออกแบบโลโก้ต่าง ๆ ตามงบประมาณที่มีอยู่ได้เลย
2. สี
บางครั้งแล้วลูกค้าก็เกิดการจดจำแบรนด์หรือธุรกิจที่สี ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือธุรกิจขนส่งเจ้าสีเหลือง สีส้ม สีแดง พอพูดแค่นี้ลูกค้าก็ทราบทันทีว่าเป็นเจ้าไหน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้สีที่บ่งบอกถึงธุรกิจเรา โดยอาจเลือกจากความหมายหรืออารมณ์ที่สื่อออกมาผ่านสี และที่สำคัญคือควรเลือกสีที่โดดเด่น ต่างจากแบรนด์คู่แข่ง และเป็นที่น่าจดจำ
3. ฟ้อนต์
ในการทำ Artwork ต่าง ๆ ของร้านค้า ก็สามารถทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้มากยิ่งขึ้นจากดีไซน์ฟอนต์ที่เราใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ถ้าเป็นร้านค้าเครื่องสำอาง อาจต้องเลือกใช้ฟ้อนต์ที่สื่อถึงความอ่อนหวาน น่ารัก หรือหากเป็นร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็อาจจะต้องเลือกใช้ฟอนจ์ต์ที่ดูทันสมัย ล้ำยุด แต่สิ่งสำคัญคือต้องอ่านง่ายด้วยนะ
🔸Brand CI ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?
องค์ประกอบที่ 1: โลโก้
โลโก้เป็นองค์ประกอบของแบรนด์ CI ที่สำคัญมากนะคะ เพราะเป็นอันดับต้น ๆ เลยที่จะช่วยให้คนสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้ ในโลโก้จะต้องประกอบไปด้วยสีประจำแบรนด์ ตัวอักษรประจำแบรนด์ อาจจะมีลายกราฟิคประจำแบรนด์ด้วย ที่สำคัญคือทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วจะต้องสามารถสื่อสาร Brand Concept ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจนและมีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้วย เมื่อลูกค้าเห็นสินค้าที่มีโลโก้ของเราอยู่ปุ๊ป ควรต้องรู้ได้เลยทันทีว่าเป็นสินค้าของแบรนด์เรา ไม่ใช่ของคู่แข่ง แบบนี้เป็นต้น
นอกเหนือจากการออกแบบและการสื่อสารแบรนด์คอนเซ็ปท์แล้ว เราจำเป็นต้องมี Logo Usage หรือข้อกำหนดการใช้โลโก้ด้วยนะคะ ยกตัวอย่างเช่น
- ลักษณะโลโก้ที่สามารถใช้ได้ ทั้งแบบสี แบบโมโนโทน และแบบที่เป็นขาวดำ
- ขนาดเล็กสุดของโลโก้เมื่อนำไปประกอบงานออกแบบอื่น ๆ
- สีพื้นหลัง (Backgroud) ที่สามารถจัดวางโลโก้ได้ และเมื่อจัดวางแล้วจะมีการสลับสีโลโก้หรือไม่ อย่างไร
- ระยะห่างของโลโก้กับกรอบข้อความ และ ระยะห่างจากองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ
ฯลฯ
สาเหตุที่เราต้องมีกำหนดการใช้งาน ก็เพื่อให้โลโก้ของเราเมื่อเวลาปรากฏสู่สายตาลูกค้า จะต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีและต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และธุรกิจของเราได้นั่นเองค่ะ
องค์ประกอบที่ 2: Font ประจำแบรนด์
Font หรือ ตัวหนังสือประจำแบรนด์มีความสำคัญมากเช่นกันนะคะ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างการจดจำแล้วยังสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้อีกด้วยค่ะ การเลือก Font ประจำแบรนด์ก็มีหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องคำนึงถึงดังนี้
- Font ที่เลือก ต้องมีลักษณะที่เหมาะกับประเภทธุรกิจ
- Font ที่เลือก ต้องเหมาะกับคอนเซปท์และบุคลิกของแบรนด์ เช่น เข้มแข็ง น่าเชื่อถือ น่ารัก อ่อนหวาน สนุกสนาน เป็นต้น
- แนะนำให้เลือกทั้ง Font ภาษาไทย และ Font ภาษาอังกฤษไปเลยค่ะ โดย Font ที่เราเลือกทั้ง 2 ภาษา จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกันด้วย เพราะเมื่อเรานำมาทำอาร์ตเวิร์ค หรือในงานออกแบบบางชิ้นที่ต้องมีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เช่น โบรชัวร์ เว็บไซต์ เป็นต้น เมื่อออกแบบมาแล้วต้องดูสอดคล้องกลมกลืนกันค่ะ
- Font ที่เลือก ควรมีภาษาละ 2 ฟ้อนท์ สำหรับไว้ทำ Headline / Title คือ พาดหัวหรือหัวข้อ และสำหรับเป็นข้อความธรรมดา โดย Headline เราอาจเลือกฟ้อนต์ที่ดูน่าสนใจ ดึงดูดสายตา เช่น ตัวหนา ไม่มีหัว ดูทันสมัย แต่ในขณะที่ฟ้อนต์สำหรับข้อความอาจจะเลือกเป็นฟ้อนต์มีหัวที่อ่านง่าย ดูสบายตา เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 3 สีประจำแบรนด์
สีประจำแบรนด์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ส่งผลโดยตรงต่อแบรนด์ค่ะ ช่วยให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ดี นอกจากนี้สียังส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ รวมถึงสีบางสียังทำให้คนเราสามารถเชื่อมโยงกับบางสิ่งหรือบางเรื่องได้ ยกตัวอย่างเช่น
- สีแดง ให้ความรู้สึกและแสดงออกถึง ความร้อนแรง พลังงาน ความก้าวหน้า ความทะเยอะทะยาน บางครั้งสีแดงหมายถึงอันตราย สารเคมี มีพิษร้ายแรงก็ได้เช่นกันค่ะ
- สีน้ำเงิน แสดงถึง ความมั่นคง ความเข้มแข็ง ความน่าเชื่อถือ ความทันสมัย เทคโนโลยี ถ้าเป็นสีน้ำเงินเข้มก็จะให้ความรู้สึกเงิน สงบ แต่ถ้าน้ำเงินเข้มจนเกือบดำก็จะแสดงถึงความลึกลับ
- สีเขียว สื่อถึงความสบายปลอดโปร่ง ธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สดใส
- สีส้ม สื่อถึง พลังงานด้านบวก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเริ่มต้นใหม่ สติปัญญา เป็นต้น
ในการเลือกสีประจำแบรนด์ ขวัญแนะนำให้เลือกเป็นเฉดสีไปเลยนะคะ เพราะถ้าเป็นสีแบบแม่สีทั่วไป ก็มีแนวโน้มว่าจะไปซ้ำไปเหมือนกับแบรนด์หรือธุรกิจอื่น ๆ ได้ง่ายค่ะ แต่ถ้าเป็นเฉดสี โอกาสจะเลือกสีซ้ำกันกับแบรนด์อื่นก็จะน้อยลงค่ะ นอกจากนี้ยังควรเลือกสีที่จะมาจับคู่กันไว้ด้วยเพื่อให้การนำไปใช้งานมีความสะดวก สวยงาม และดูมีมิติมากกว่าการใช้สีเดียวค่ะ
องค์ประกอบสำคัญที่ 4: ลายกราฟิกประจำแบรนด์
ลายกราฟิกเป็นเหมือนสัญลักษณ์บางอย่างที่ช่วยสร้างการจดจำให้กับลูกค้าของเราได้ สาเหตุที่ต้องมีลายกราฟิกประจำแบรนด์ส่วนหนึ่งก็เพราะในบางครั้งคู่สีหรือฟ้อนต์ที่เราเลือกมานั้นอาจจะยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้มากนัก ยกตัวอย่าง เช่น เราเป็นธุรกิจรับทำความสะอาดที่คนส่วนใหญ่กว่า 90% เลือกใช้สีฟ้า สีเขียว ทีนี้พอทุกแบรนด์ใช้สีเดียวกัน ฟ้อนต์ก็ดูคล้ายๆ กัน เราก็จำเป็นต้องนำเสนออย่างอื่นให้ลูกค้าได้จดจำ ก็ได้แก่สัญลักษณ์บางอย่าง ลายกราฟิกต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ช่วยให้จดจำเพิ่มมากขึ้น
ยกตัวอย่างสัญลักษณ์ของสตาร์ทอัพ นาว จะเป็นสัญลักษณ์ที่เหมือนตัว Play โดยขวัญตั้งชื่อมันว่าตัว Play Forward สื่อถึงการเดินไปข้างหน้า ตรงตามความตั้งใจและคอนเซปต์ของสตาร์ทอัพนาว ที่ทางขวัญอยากจะทำแบรนด์หรือธุรกิจที่ช่วยให้ SMEs ได้เดินต่อไปข้างหน้าได้
หลักการออกแบบกราฟิกประจำแบรนด์แบบง่าย ๆ ส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีเลือกหยิบลายเส้นบางส่วนออกมาจากโลโก้ แล้วลดทอนรายละเอียดบางอย่างลง เหลือแค่สัดส่วนที่สำคัญ ที่มีความหมาย ที่สื่อถึงแบรนด์และช่วยสร้างการจดจำ เหมือนอย่างตัวสัญลักษณ์ Play Forward ที่มีลายเส้นอยู่ในตัวโลโก้ของสตาร์ทอัพนาว เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 5 ของ Brand CI: ไอคอนต่างๆ
สำหรับองค์ประกอบนี้ ถ้าเราเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการอาศัยความน่าเชื่อมาก ๆ เราอาจจะต้องสร้างไอคอนเฉพาะของบริษัทเราขึ้นมา เพื่อใส่ลงในเว็บไซต์ เอกสารทางการตลาด ในแคตตาล็อก ในพรีเซนเทชั่นแนะนำบริษัท หรือแม้แต่บนฉลากสินค้าหรือแท็กห้อยสินค้า เป็นต้น
หรืออย่างบริษัท สตาร์ทอัพนาว ขวัญก็ได้ออกแบบไอคอนประจำแบรนด์ไว้สำหรับใส่ลงในเว็บไซต์ รวมถึงสื่อการตลาดต่าง ๆ เช่น โบรชัวร์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าไอคอนประจำแบรนด์สตาร์ทอัพนาวจะสื่อถึงกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตลาดออนไลน์ สื่อออนไลน์
แต่ถ้าสมมติว่าคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขวัญมองว่าอาจจะไม่ต้องวาดไอคอนประจำแบรนด์ขึ้นมาใหม่ แต่แนะนำให้ใช้วิธีเลือกดาวน์โหลดไอคอนสำเร็จรูปจากเว็บไซต์ Stock Photo อย่างเช่น Shutter Stock , Freepik ก็มีให้เลือกดาวน์โหลดเป็นพัน ๆ แบบเลยค่ะ
สำหรับเว็บไซต์ที่มีให้ดาวน์โหลดไอคอนได้ ขวัญแนะนำให้ อ่านบทความเรื่อง “แนะนำแหล่งดาวน์โหลดรูปฟรีอย่างถูกวิธี” ซึ่งขวัญเขียนไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากขวัญจะแนะนำเว็บไซต์แล้วยังมีคลิปสอนขั้นตอนการดาวน์โหลดรูป/ไอคอนอย่างถูกวิธี รวมถึงหลักในการดูลิขสิทธิ์ของภาพด้วยค่ะ
องค์ประกอบที่ 6 Moon&Tone
Mood & Tone หมายถึง อารมณ์ ความรู้สึก ของลูกค้าเมื่อได้สัมผัสกับแบรนด์ ซึ่งมาจากการพยายามสื่อสารตัวตน คอนเซปท์ จุดเด่น บุคลิกภาพของแบรนด์ที่เราต้องการสื่อให้ไปถึงลูกค้า โดยอาจนำเสนอผ่านทางการออกแบบต่าง ๆ ที่แบรนด์เลือกใช้ อาทิ ภาพถ่ายสินค้า รูปภาพประกอบคอนเทนต์ ภาพกราฟิก โทนสีและลวดลายที่อยู่บนแพคเกจจิ้ง เหล่านี้เป็นต้น
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าสินค้าของเราคือ สกินแคร์ หรือ เครื่องสำอางออแกนิค จุดเด่นของแบรนด์ที่เราอยากให้ลูกค้าจดจำแบรนด์เราก็คือ เป็นสินค้าออแกนนิค ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี สิ่งที่เราจะต้องสื่อสารออกไปให้ถึงลูกค้าก็คือ ความเป็นธรรมชาติ ความอบอุ่นอ่อนโยน ความปลอดภัย ผิวสุขภาพดี เป็นต้น ดังนั้น Mood & Tone ของงานดีไซน์ ภาพที่เราเลือกใช้ก็ต้องเป็นไปในทิศทางดังกล่าวด้วย เช่น เราอาจจะเลือกใช้โทนสีขาว-เขียว เพื่อสื่อถึงความเป็นธรรมชาติ เลือกใช้โทนสีอ่อนเพื่อสื่อถึงความอ่อนโยน เป็นต้น
อย่างภาพตัวอย่างด้านล่างนี้นะคะ เป็น Mood & Tone ของทางสตาร์ทอัพนาว ที่เน้นสื่อสารความรู้สึกของเจ้าของธุรกิจ เจ้าของแบรนด์ ในแง่มุมต่าง ๆ ที่เป็นไปในเชิงบวก เช่น ความมั่นใจ ความเชื่อมั่น ความคิดสร้างสรรค์ ทีมเวิร์ค เป็นต้น และความรู้สึกที่เราต้องการสื่อให้ถึงใจลูกค้าก็คือ ให้มั่นใจได้ว่าเราเป็นที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ที่พร้อมแบ่งปันให้คุณก้าวไปสู่ความสำเร็จ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องพยายามคุม Mood & Tone ของงานออกแบบของแบรนด์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกช่องทางการตลาด เช่น ลูกค้าที่เข้าหน้าเพจของเรามา ต้องรู้สึกและสัมผัสถึงอารมณ์ความรู้สึกได้แบบเดียวกันกับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงสื่อการตลาดต่าง ๆ อย่างโบรชัวร์ แพคเกจจิ้งสินค้า นามบัตรเซลล์ ก็ต้องเป็นไปในทิศทางที่กำหนดด้วย
องค์ประกอบที่ 7: Brand Communication Design
คือการที่เรานำ Brand CI ทั้ง 6 องค์ประกอบข้างต้น มาออกแบบเป็น Mock-up หรือแบบจำลองตัวอย่างงานจริงที่จะนำมาใช้กับแบรนด์หรือธุรกิจของเรา ก็คือไม่ว่าจะเป็นการนำ Font นำคู่สี นำลายกราฟฟิกประจำแบรนด์ เอามาใช้ออกแบบเลยค่ะเพื่อให้เห็นภาพการนำไปใช้งานจริง ๆ ว่าควรจะต้องกำหนดขนาดเท่าไหร่ มีการจัดวางเลย์เอาท์ (Layout) ของแต่ละชิ้นงานอย่างไร เพื่อให้มีความสวยงามและสื่อสารแบรนด์ได้ดีที่สุด
🔸Brand Design Book สิ่งที่ต้องมีเมื่อทำ Brand CI
ในการออกแบบ Brand CI เราจำเป็นต้องจัดทำขึ้นมาเป็นเอกสารที่เรียกว่า Brand Design Book หรืออย่างของ Startup Now ขวัญจะใช้ชื่อว่า Brand Manual คือ เป็นเอกสารคู่มือการออกแบบแบรนด์ที่รวบรวมแนวทาง ทิศทาง รูปแบบ และข้อกำหนดต่าง ๆ ในการทำงานออกแบบของแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสำหรับการใช้งานออฟไลน์ หรือ การใช้งานออนไลน์ก็ตาม รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถหยิบมาใช้เป็น reference งานออกแบบของแบรนด์ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการรีแบรนด์ (Rebranding) ค่ะ
การมีเอกสารคู่มือการออกแบบแบรนด์ หรือ Brand Design Book / Brand Manual จะช่วยให้เราสามารถต่อยอดงานออกแบบต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นค่ะ เพราะมีกรอบและทิศทางการออกแบบที่กำหนดไว้อยู่แล้ว เราจึงสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเสียเวลามาคิดเรื่องการสื่อสารตัวตนแบรนด์ทุกครั้งก่อนออกแบบ
นอกจากนี้ หากองค์กรของเราไม่ได้มีกราฟิกที่เป็นพนักงานประจำ แต่เราใช้วิธีจ้างบริษัทออกแบบหรือจ้างฟรีแลนซ์มาทำงานออกแบบสื่อการตลาดต่าง ๆ อาทิ ทำคอนเทนต์ ทำโพสต์ ทำเว็บไซต์ ทำโปสเตอร์ โบรชัวร์ เป็นต้น ทำเป็นจ๊อบเป็นชิ้นงานไป ตลอดการทำธุรกิจเราอาจจะไม่ได้จ้างแค่เจ้าใดเจ้าเดียว แต่อาจจะจ้างหลายเจ้า ดังนั้นการที่เรามีเอกสารคู่มือมาเป็นกรอบกว้าง ๆ ของการออกแบบ ก็จะช่วยให้เราบรีฟงาน outsource เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถคุมภาพแบรนด์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ด้วยแม้ว่าจะมาจากการออกแบบของกราฟิกดีไซเนอร์หลาย ๆ คนก็ตาม
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Commentaires