top of page

Corporate Identity (CI) คืออะไร❓ทำไมทุกแบรนด์ต้องมี และสร้าง CI อย่างไรให้คนจดจำ


Corporate Identity (CI) คืออะไร❓ทำไมทุกแบรนด์ต้องมี และสร้าง CI อย่างไรให้คนจดจำ  เคยสงสัยกันไหม? ว่าอะไรบ้างที่ทำให้เราจดจำแบรนด์ดังๆได้ เช่น เราจดจำชื่อแบรนด์นี้ได้ เราเห็นสีแบบนี้แล้วเรานึกถึงแบรนด์นี้เป็นอันดับแรก logo Font การจัดวาง Artwork Template ถ้อยคำที่ใช้สื่อสาร หรือภาพลักษณ์ต่างๆที่สะท้อนให้ลูกค้าเห็นบ่อยๆ รวมไปถึงบุคลิกภาพของแบรนด์ที่สะท้อนผ่านการให้บริการ หรือคนในองค์กรที่มองเห็นและสะท้อนพันธกิจขององค์กรออกมาเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้แหละค่ะที่เป็นอัตลักษณ์ขององค์กร หรือเรียกว่า “Corporate Identity” (CI) หรือ Brand Identity นั่นเอง  บทความนี้เราจะพาไปดูก่อนว่า Corporate Identity คืออะไร มีองค์ประกอบสำคัญใดบ้าง แล้ว Corporate Identity สำคัญยังไงกับการสร้างแบรนด์ ทำไมเหล่าเจ้าของธุรกิจทั้งหลายถึงควรให้ความสำคัญกับมัน และการสร้าง CI อย่างไรให้คนจดจำ!  📍CI คืออะไร คำว่า Ci (ซี-ไอ) ที่เรามักจะได้ยินคนทำกราฟิกถามถึงอยู่บ่อยครั้งนั้นย่อมาจากคำว่า Corporate Identity หรือที่ศัพท์นักออกแบบเรียกว่า “อัตลักษณ์องค์กร” โดยคำว่า Ci นั้นเปรียบเสมือนกฎเกณฑ์การปฏิบัติในด้านการออกแบบ การนำเสนอภาพและบทความบนสื่อต่างๆ แน่นอนว่า Ci ไม่ใช่เพียงแค่โลโก้เพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึงรูปแบบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกฎการใช้งานกราฟิกต่างๆ การใช้ภาษาเขียน รวมถึงใช้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับการทำโซเชียลมีเดีย การโปรโมชั่น โปรโมทสินค้า ฯลฯ หากเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในเรื่องของ Ci ที่แท้จริงพวกเขาจะใช้สิ่งเหล่านี้ในทุกๆ บริบทของบริษัท  หรือถ้าอธิบายแบบให้เข้าใจได้รวบรัด Ci คือ สี รูปแบบอักษร โลโก้ รวมถึงวิธีการใช้โลโก้ รูปแบบการจัดเลย์เอาท์ รูปแบบภาพถ่าย (ลักษณะการถ่ายภาพ สีของภาพ ฯลฯ)  ลายเส้นภาพวาด ภาษาที่ใช้เขียนในสื่อต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ รวมความคือ Ci เป็นทุกสิ่งที่ทำให้คนทั่วไปจดจำคุณในฐานะแบรนด์ แบบที่คุณอยากให้พวกเขารู้จัก  📍ความสำคัญของ CI - สร้างภาพจำให้กับลูกค้า เพื่อสร้างความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ลองนึกภาพตามว่ามีลูกค้าเคยซื้อสินค้าจากร้านของเราบนแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่จำชื่อร้านไม่ได้ พอค้นหาสินค้าก็เจอสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด แต่ลูกค้าจำได้ว่าเคยซื้อจากร้านที่มีกรอบสีฟ้า จึงกลับมาซื้อสินค้ากับร้านเราถูก   - กำหนดทิศทางในการสื่อสารของธุรกิจ ยิ่งธุรกิจของเรามีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มีหน้าร้านออนไลน์ มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีแอดมินดูแลหลายคน CI จะยิ่งเข้ามามีบทบาทในการทำให้ภาพลักษณ์และการสื่อสารของธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีระเบียบแบบแผน และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น  - ลดความสับสน การมี Corporate Identity สามารถช่วยลดความสับสนในกรณีที่ธุรกิจมีช่องทางการขายหรือช่องทางการสื่อสารลูกค้าหลายช่องทาง เพราะหากธุรกิจนำ Brand CI มาปรับใช้กับทุกช่องทางการขายหรือช่องทางติดต่อ โดยอาจใช้โลโก้ ฟ้อนต์ และโทนสีเดียวกัน ลูกค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นของร้านค้าเดียวกัน  📍องค์ประกอบหลักของ Corporate Identity หลายคนเมื่อพูดถึง Corporate Identity อาจจะนึกถึงการออกแบบโลโก้ให้กับแบรนด์ แต่จริงๆ Corporate Identity นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องของดีไซน์เท่านั้น แต่สามารถมองได้ลึกกว่านั้น สำหรับบทความนี้ โนเรียจะแจกแจงถึงองค์ประกอบที่สำคัญของ Corporate Identity อยู่ 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่  - วัฒนธรรมและบุคลิกภาพของแบรนด์ (Culture and personality)  - การออกแบบ (Design)  📍วัฒนธรรมและบุคลิกภาพของแบรนด์ (Corporate culture and personality) อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า Corporate Identity นั้นมีมิติที่มากกว่าเรื่องของการออกแบบและดีไซน์ต่างๆ ให้กับแบรนด์ CI ยังหมายถึงสิ่งที่แบรนด์ยึดถือเป็นที่ตั้ง หรือการแสดงออกของแบรนด์ให้ลูกค้าเห็นถึงจุดยืนและตัวตนที่มากกว่าแค่เรื่องของสี หรือกราฟิก  📍เป้าหมายและวิสัยทัศน์ (Corporate vision and purpose) การสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ไม่ใช่แค่การมีสินค้าที่ไม่เหมือนใคร แต่ต้องเริ่มจากการที่แบรนด์สามารถตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำไมถึงเลือกที่จะสร้างสินค้า และบริการประเภทนี้ แบรนด์ทำไปเพื่ออะไร เป้าหมายของแบรนด์ และการสิ่งที่แบรนด์ยึดมั่นคืออะไร  📍ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมองค์กร (Corporate values, culture and behaviour) การกำหนดค่านิยมหรือคุณค่าให้กับแบรนด์จะช่วยให้คุณสามารถสร้าง Corporate Identity และวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาได้ ซึ่งจะหมายรวมไปถึงการออกแบบทุกๆ ขั้นตอนของการทำงานให้สอดคล้องกับ Identity ที่กำหนดไว้ด้วย   เช่น บริษัทที่มีชื่อเสียงก้องโลกอย่าง Google ที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับการทำงานในออฟฟิศให้สนุกสนาน แน่นอนการให้คุณค่ากับเรื่องนี้ก็หมายรวมไปถึงการให้ความสำคัญกับ Flexibility และ Creativity ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Google ก็จะนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับทุกๆ ขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่การว่าจ้างงาน การออกแบบออฟฟิศให้พนักงาน สวัสดิการต่างๆ ไปจนถึงเนื้อหาของงาน เช่นนี้เป็นต้น  📍การออกแบบ (Design) ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของการออกแบบเพื่อสร้าง Corporate Identity กันแล้ว ซึ่งในส่วนนี้หลายคนคงพอจะนึกภาพออก เช่น การออกแบบโลโก้ การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบกราฟิก การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า และสารพัดการออกแบบประเภทอื่นๆ อีกมากมาย  📍สี (Corporate colour palette) การเลือกสีให้กับแบรนด์นั้น เป็นเรื่องแรกๆ ที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะสีก็คือสิ่งที่ทำให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ดีที่สุด และเมื่อเลือกได้แล้วก็ควรจะนำไปใช้ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น สีของเว็บไซต์ สีของโลโก้ สีของเพจ Facebook และสีของแบรนด์ก็ควรให้เป็นไปในโทนเดียวกันเพื่อทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น  📍ฟอนต์ (Corporate font/s) การเลือกฟอนต์ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการเลือกใช้ฟอนต์ในกราฟิกจะต้องมีความสม่ำเสมอในการเลือกใช้ เช่น พวกฟอนต์ Sukhumvit, Supermarket, หรือ Prompt ก็จะเป็นฟอนต์ที่มีความทันสมัย ควรมีการเลือกฟอนต์ให้เหมาะสมกับตัวตนของแบรนด์ที่เราอยากนำเสมอนั่นเอง ที่สำคัญคือห้ามเปลี่ยนบ่อยเกินไปเป็นอันขาด แม้จะดูเป็นเรื่องไม่สำคัญขนาดนั้น แต่ก็อาจจะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณไม่ได้สักทีก็ได้  📍ตำแหน่งของโลโก้ (และการสร้างกราฟิก) (Corporate stationery) การนำโลโก้ไปวางไว้ในตำแหน่งต่างๆ เช่น ซองจดหมาย หัวจดหมาย เอกสารต่างๆ เป็นการแสดงถึงตัวตนขององค์กรในแบบที่ง่ายที่สุด ที่องค์กรใหญ่ๆ ทำกันมานานแล้ว และในยุคออนไลน์ที่แบรนด์สามารถเผยแพร่คอนเทนต์บนโลกออนไลน์กันได้สะดวกกว่าที่เคย ในข้อนี้อาจจะเปลี่ยนในส่วนของเป็นกราฟิกประกอบคอนเทนต์แทน  นอกจากนี้ ลายกราฟิกหรือแนวของรูป stock photos ที่ใช้ก็เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวตนของแบรนด์ผ่านงานออกแบบหมด เช่น การใช้กราฟิกทรงเรขาคณิต หรือใช้เทมเพลตกราฟิกแบบสำเร็จรูปอย่าง Canva หรือ Adobe Spark ก็เช่นเหมือนกัน งานออกแบบนั้น พวกรูปหรือกราฟิกที่ใช้ ต้องมีความ “คุมโทน” ให้เข้ากันที่พอเห็นแล้วจะนึกถึงแบรนด์ของคุณนั่นเอง  📍ทำไมธุรกิจต้องมี Corporate Identity เพราะคู่แข่งในตลาดที่เยอะขึ้นและสูงขึ้นมากในทุกๆ ปี การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำนั้น ถือเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดเป็นที่คุ้นตาและโดดเด่นจากคู่แข่งในสายธุรกิจเดียวกัน  คุณอาจจะคิดว่า เฮ้ย เราเป็นแค่บริษัทเล็กๆ เท่านั้นเองแหละน่า ไม่ได้จำเป็นต้องมี Corporate Identity ที่อลังการหรือเข้มแข็งอะไรขนาดนั้น แต่เชื่อไหมว่าการที่ความเป็นตัวตนขององค์กรมีความเข้มแข็งเป็นที่ตั้งไว้ก่อน จะทำให้ส่วนอื่นๆ ของธุรกิจของคุณมีความเข้มแข็งตามไปด้วยนะ  📍ประโยชน์อื่นๆ ของการสร้าง Corporate Identity ได้แก่ • เพิ่มพูนการทำงานที่มีความสอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้มากขึ้น • ทำให้คุณดูมีเอกลักษณ์ที่ต่างไปจากคู่แข่ง • ทำให้การทำงานในเชิงของการออกแบบสื่อ และการให้บริการลูกค้ามีความสะดวก รวดเร็ว และชัดเจน  📍CI กับการทำ BRANDING เป็นสองสิ่งที่คนทั่วไปมักจับมาผสมกันจนสับสนไปว่า Ci กับ Branding นั้นคือสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว “ไม่ได้เป็นเช่นนั้น” การทำ Branding นั้นจะเป็นงานในส่วนของแผนการตลาดซึ่งการจะทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่จดจำได้ต้องอาศัย Ci เป็นพื้นฐานอย่างที่เกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า Ci เปรียบเสมือนกฎที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา โปรโมทธุรกิจ ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องยึด Ci เป็นพื้นฐานก่อนจะนำเสนอสิ่งเหล่านั้นออกสู่สาธารณชน เท่ากับว่า Branding ก็คือการทำการตลาดโดยนำ Ci มาใช้ให้ถูกต้องนั่นเอง  📍การใช้ CI ในการออกแบบ หากคุณทำงานกับนักออกแบบหรือทีมสร้างสรรค์มืออาชีพล่ะก็ คำถามแรกๆ ที่จะออกจากปากพวกเขาคือ “Brand Ci ของคุณนั้นเป็นอย่างไร” เพราะการออกแบบนั้นจะเป็นภาพที่ชัดที่สุดที่เราจะกล่าวถึงในเรื่องของ Ci เหตุผลคือชิ้นงานกราฟิกต่างๆ จะเป็นตัวสร้างการรับรู้ การจดจำแบรนด์ของคุณกับสาธารณะได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าถ้าคุณไม่มีการกำหนด Ci ของแบรนด์เอาไว้ตั้งแต่แรก งานที่ออกมาจะไม่มีสไตล์ที่แน่ชัด แถมยังสร้างการจดจำได้ยากอีกด้วย  การจดจำแบรนด์ที่เราพูดถึงนั้นคือ การที่เพียงแค่ลูกค้าเห็นภาพโฆษณาหรือคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียของคุณเพียงไม่กี่วินาที แล้วรู้เลยว่านี่เป็นคอนเทนต์หรือโพสต์จากแบรนด์ของคุณ นั่นถือว่าประสบความสำเร็จในการทำ Branding ไปอีกขั้นและใช้ Ci ได้ถูกวิธีแล้ว เปรียบเสมือนกับที่เราจำ Coca Cola ว่าเป็นสีแดงและ Pepsi คือสีน้ำเงินนั่นเอง  แต่แน่นอนว่า Ci ไม่ใช่แค่สี คุณอาจต้องมีการทำคู่มือการใช้งาน Ci ของแบรนด์ (Brand Ci Manual Script) ในนั้นจะมีการกำหนดตั้งแต่ โลโก้แบบต่างๆ โลโก้หลัก-รอง ทั้งแบบสีเต็ม ขาว-ดำ สีเทา วิธีการนำโลโก้ไปใช้ การใช้ Clear Space (พื้นที่ปลอดภัยในการวางโลโก้) รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ สีหลัก-รอง   รวมถึงอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “รูปภาพ” ไม่ว่าจะเป็นสไตล์การถ่ายภาพ โทนสีของภาพไปจนถึงทิศทางการใช้รูปภาพ สิ่งที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ องค์ประกอบกราฟิกต่างๆ อาทิ ลวดลาย แพทเทิร์น รูปร่าง ลายเส้น ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่คุณต้องบอกกับนักออกแบบให้ทราบตั้งแต่เริ่มงาน หรือถ้าหากไม่มีคู่มือการใช้ ก็ต้องอธิบายและพูดคุยให้เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายว่าแบบไหนถูกต้องหรือแบบไหนที่ไม่ใช่อัตลักษณ์องค์กรที่คุณวางเอาไว้หรือหากคุณจ้างเอเจนซีหรือทีมข้างนอกทำก็ควรจะส่งไฟล์ทั้งหมดที่มีให้พวกเขา อาทิ ไฟล์โลโก้ (ไฟล์ .ai) รูปภาพของสินค้าหรือรูปที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณไปด้วย  📍CI และโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันสื่อที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดคงหนีไม่พ้นโซเชียลมีเดียและด้วยความที่มีผู้ใช้มหาศาลนี้เองการกำหนด Ci ให้ชัดเจนจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับตอนสร้างแบรนด์เลยทีเดียวหรือถ้าจะให้ถูก การทำโซเชียลมีเดียก็คือการสร้างแบรนด์ของคุณบนแพลตฟอร์มออนไลน์  ในส่วนนี้เราจะไม่พูดถึงภาพกราฟิกที่ใช้ในคอนเทนต์เพราะรายละเอียดจะเหมือนกับหัวข้อก่อนหน้า แต่สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ “ภาษาเขียน” หากคุณสังเกตโซเชียลมีเดียของแบรนด์ใหญ่ๆ อย่างเช่นเพจเฟซบุ๊กที่มีคนตามนับล้านเขาจะมีการใช้ภาษาเขียนที่ชัดเจน แน่นอนว่าเพจใหญ่ขนาดนั้นย่อมไม่ได้มีผู้ดูแลเพียงแค่คนเดียว แต่ Ci นี่ล่ะคือตัวกำหนดให้ผู้ดูแลเพจแต่ละคนปฏิบัติตาม อาทิเพจบันเทิงก็จะใช้ภาษาแรงๆ สนุกๆ จิกกัดบ้าง เล่นคำพิสดาลไปจนถึงภาษาวิบัติก็ไม่ผิด ในทางกลับกันหากเป็นเพจที่ต้องการให้ความรู้อย่างจริงจัง อาทิ เพจนักลงทุน เพจธนาคาร เพจแบรนด์สินค้า เพจโรงพยาบาล เหล่านี้เขาก็จะใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่วางเอาไว้  และไม่ใช่แค่ภาษาที่ใช้ทำบทความหรือคอนเทนต์เท่านั้น เพราะแม้แต่การพูดคุยการตอบกลับคอมเมนต์ต่างๆ ก็ต้องใช้ภาษาที่ไปในทิศทางเดียวกันด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมตอนเริ่มทำเพจใหม่ๆ เราถึงต้องกำหนด Brand Persona ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งใน Ci ด้วย เพราะผู้ดูแลเพจทุกคนจะได้รู้ว่าเพจของแบรนด์เป็นใคร ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ มีบุคลิกและใช้ภาษาอย่างไร เป็นต้น  📍CI กับการให้บริการลูกค้า ในส่วนของหัวข้อนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของ วัฒนธรรมและบุคลิกภาพของแบรนด์ (Culture and personality) ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นดู การสื่อสารกับลูกค้าคือการสร้างภาพลักษณ์และบุคลิกภาพขององค์กร การกล่าวทักทายลูกค้า การตอบแชท หรือตอบคอมเมนต์กลับลูกค้า ก็ต้องให้เป็นไปตามทิศทางหรือโทนของแบรนด์เราด้วยเช่นกัน และยิ่งตอนทำเพจใหม่ๆ ยิ่งต้องกำหนดข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้แอดมินด้วยเช่นกัน เพื่อให้เค้าสามารถตอบลูกค้าให้เป็นไปในทางเดียวกับภาพลักษณ์ของแบรนด์เราได้  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

Corporate Identity (CI) คืออะไร❓ทำไมทุกแบรนด์ต้องมี และสร้าง CI อย่างไรให้คนจดจำ


เคยสงสัยกันไหม? ว่าอะไรบ้างที่ทำให้เราจดจำแบรนด์ดังๆได้ เช่น เราจดจำชื่อแบรนด์นี้ได้ เราเห็นสีแบบนี้แล้วเรานึกถึงแบรนด์นี้เป็นอันดับแรก logo Font การจัดวาง Artwork Template ถ้อยคำที่ใช้สื่อสาร หรือภาพลักษณ์ต่างๆที่สะท้อนให้ลูกค้าเห็นบ่อยๆ รวมไปถึงบุคลิกภาพของแบรนด์ที่สะท้อนผ่านการให้บริการ หรือคนในองค์กรที่มองเห็นและสะท้อนพันธกิจขององค์กรออกมาเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้แหละค่ะที่เป็นอัตลักษณ์ขององค์กร หรือเรียกว่า “Corporate Identity” (CI) หรือ Brand Identity นั่นเอง


บทความนี้เราจะพาไปดูก่อนว่า Corporate Identity คืออะไร มีองค์ประกอบสำคัญใดบ้าง แล้ว Corporate Identity สำคัญยังไงกับการสร้างแบรนด์ ทำไมเหล่าเจ้าของธุรกิจทั้งหลายถึงควรให้ความสำคัญกับมัน และการสร้าง CI อย่างไรให้คนจดจำ!


📍CI คืออะไร

คำว่า Ci (ซี-ไอ) ที่เรามักจะได้ยินคนทำกราฟิกถามถึงอยู่บ่อยครั้งนั้นย่อมาจากคำว่า Corporate Identity หรือที่ศัพท์นักออกแบบเรียกว่า “อัตลักษณ์องค์กร” โดยคำว่า Ci นั้นเปรียบเสมือนกฎเกณฑ์การปฏิบัติในด้านการออกแบบ การนำเสนอภาพและบทความบนสื่อต่างๆ แน่นอนว่า Ci ไม่ใช่เพียงแค่โลโก้เพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึงรูปแบบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกฎการใช้งานกราฟิกต่างๆ การใช้ภาษาเขียน รวมถึงใช้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับการทำโซเชียลมีเดีย การโปรโมชั่น โปรโมทสินค้า ฯลฯ หากเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในเรื่องของ Ci ที่แท้จริงพวกเขาจะใช้สิ่งเหล่านี้ในทุกๆ บริบทของบริษัท


หรือถ้าอธิบายแบบให้เข้าใจได้รวบรัด Ci คือ สี รูปแบบอักษร โลโก้ รวมถึงวิธีการใช้โลโก้ รูปแบบการจัดเลย์เอาท์ รูปแบบภาพถ่าย (ลักษณะการถ่ายภาพ สีของภาพ ฯลฯ) ลายเส้นภาพวาด ภาษาที่ใช้เขียนในสื่อต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ รวมความคือ Ci เป็นทุกสิ่งที่ทำให้คนทั่วไปจดจำคุณในฐานะแบรนด์ แบบที่คุณอยากให้พวกเขารู้จัก


📍ความสำคัญของ CI

- สร้างภาพจำให้กับลูกค้า

เพื่อสร้างความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ลองนึกภาพตามว่ามีลูกค้าเคยซื้อสินค้าจากร้านของเราบนแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่จำชื่อร้านไม่ได้ พอค้นหาสินค้าก็เจอสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด แต่ลูกค้าจำได้ว่าเคยซื้อจากร้านที่มีกรอบสีฟ้า จึงกลับมาซื้อสินค้ากับร้านเราถูก


- กำหนดทิศทางในการสื่อสารของธุรกิจ

ยิ่งธุรกิจของเรามีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มีหน้าร้านออนไลน์ มีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีแอดมินดูแลหลายคน CI จะยิ่งเข้ามามีบทบาทในการทำให้ภาพลักษณ์และการสื่อสารของธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีระเบียบแบบแผน และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น


- ลดความสับสน

การมี Corporate Identity สามารถช่วยลดความสับสนในกรณีที่ธุรกิจมีช่องทางการขายหรือช่องทางการสื่อสารลูกค้าหลายช่องทาง เพราะหากธุรกิจนำ Brand CI มาปรับใช้กับทุกช่องทางการขายหรือช่องทางติดต่อ โดยอาจใช้โลโก้ ฟ้อนต์ และโทนสีเดียวกัน ลูกค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นของร้านค้าเดียวกัน


📍องค์ประกอบหลักของ Corporate Identity

หลายคนเมื่อพูดถึง Corporate Identity อาจจะนึกถึงการออกแบบโลโก้ให้กับแบรนด์ แต่จริงๆ Corporate Identity นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องของดีไซน์เท่านั้น แต่สามารถมองได้ลึกกว่านั้น สำหรับบทความนี้ โนเรียจะแจกแจงถึงองค์ประกอบที่สำคัญของ Corporate Identity อยู่ 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่

- วัฒนธรรมและบุคลิกภาพของแบรนด์ (Culture and personality)

- การออกแบบ (Design)


📍วัฒนธรรมและบุคลิกภาพของแบรนด์ (Corporate culture and personality)

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า Corporate Identity นั้นมีมิติที่มากกว่าเรื่องของการออกแบบและดีไซน์ต่างๆ ให้กับแบรนด์ CI ยังหมายถึงสิ่งที่แบรนด์ยึดถือเป็นที่ตั้ง หรือการแสดงออกของแบรนด์ให้ลูกค้าเห็นถึงจุดยืนและตัวตนที่มากกว่าแค่เรื่องของสี หรือกราฟิก


📍เป้าหมายและวิสัยทัศน์ (Corporate vision and purpose)

การสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ไม่ใช่แค่การมีสินค้าที่ไม่เหมือนใคร แต่ต้องเริ่มจากการที่แบรนด์สามารถตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำไมถึงเลือกที่จะสร้างสินค้า และบริการประเภทนี้ แบรนด์ทำไปเพื่ออะไร เป้าหมายของแบรนด์ และการสิ่งที่แบรนด์ยึดมั่นคืออะไร


📍ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมองค์กร (Corporate values, culture and behaviour)

การกำหนดค่านิยมหรือคุณค่าให้กับแบรนด์จะช่วยให้คุณสามารถสร้าง Corporate Identity และวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาได้ ซึ่งจะหมายรวมไปถึงการออกแบบทุกๆ ขั้นตอนของการทำงานให้สอดคล้องกับ Identity ที่กำหนดไว้ด้วย


เช่น บริษัทที่มีชื่อเสียงก้องโลกอย่าง Google ที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับการทำงานในออฟฟิศให้สนุกสนาน แน่นอนการให้คุณค่ากับเรื่องนี้ก็หมายรวมไปถึงการให้ความสำคัญกับ Flexibility และ Creativity ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Google ก็จะนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับทุกๆ ขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่การว่าจ้างงาน การออกแบบออฟฟิศให้พนักงาน สวัสดิการต่างๆ ไปจนถึงเนื้อหาของงาน เช่นนี้เป็นต้น


📍การออกแบบ (Design)

ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของการออกแบบเพื่อสร้าง Corporate Identity กันแล้ว ซึ่งในส่วนนี้หลายคนคงพอจะนึกภาพออก เช่น การออกแบบโลโก้ การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบกราฟิก การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า และสารพัดการออกแบบประเภทอื่นๆ อีกมากมาย


📍สี (Corporate colour palette)

การเลือกสีให้กับแบรนด์นั้น เป็นเรื่องแรกๆ ที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะสีก็คือสิ่งที่ทำให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ดีที่สุด และเมื่อเลือกได้แล้วก็ควรจะนำไปใช้ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น สีของเว็บไซต์ สีของโลโก้ สีของเพจ Facebook และสีของแบรนด์ก็ควรให้เป็นไปในโทนเดียวกันเพื่อทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น


📍ฟอนต์ (Corporate font/s)

การเลือกฟอนต์ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการเลือกใช้ฟอนต์ในกราฟิกจะต้องมีความสม่ำเสมอในการเลือกใช้ เช่น พวกฟอนต์ Sukhumvit, Supermarket, หรือ Prompt ก็จะเป็นฟอนต์ที่มีความทันสมัย ควรมีการเลือกฟอนต์ให้เหมาะสมกับตัวตนของแบรนด์ที่เราอยากนำเสมอนั่นเอง ที่สำคัญคือห้ามเปลี่ยนบ่อยเกินไปเป็นอันขาด แม้จะดูเป็นเรื่องไม่สำคัญขนาดนั้น แต่ก็อาจจะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณไม่ได้สักทีก็ได้


📍ตำแหน่งของโลโก้ (และการสร้างกราฟิก) (Corporate stationery)

การนำโลโก้ไปวางไว้ในตำแหน่งต่างๆ เช่น ซองจดหมาย หัวจดหมาย เอกสารต่างๆ เป็นการแสดงถึงตัวตนขององค์กรในแบบที่ง่ายที่สุด ที่องค์กรใหญ่ๆ ทำกันมานานแล้ว และในยุคออนไลน์ที่แบรนด์สามารถเผยแพร่คอนเทนต์บนโลกออนไลน์กันได้สะดวกกว่าที่เคย ในข้อนี้อาจจะเปลี่ยนในส่วนของเป็นกราฟิกประกอบคอนเทนต์แทน


นอกจากนี้ ลายกราฟิกหรือแนวของรูป stock photos ที่ใช้ก็เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวตนของแบรนด์ผ่านงานออกแบบหมด เช่น การใช้กราฟิกทรงเรขาคณิต หรือใช้เทมเพลตกราฟิกแบบสำเร็จรูปอย่าง Canva หรือ Adobe Spark ก็เช่นเหมือนกัน งานออกแบบนั้น พวกรูปหรือกราฟิกที่ใช้ ต้องมีความ “คุมโทน” ให้เข้ากันที่พอเห็นแล้วจะนึกถึงแบรนด์ของคุณนั่นเอง


📍ทำไมธุรกิจต้องมี Corporate Identity

เพราะคู่แข่งในตลาดที่เยอะขึ้นและสูงขึ้นมากในทุกๆ ปี การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำนั้น ถือเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดเป็นที่คุ้นตาและโดดเด่นจากคู่แข่งในสายธุรกิจเดียวกัน


คุณอาจจะคิดว่า เฮ้ย เราเป็นแค่บริษัทเล็กๆ เท่านั้นเองแหละน่า ไม่ได้จำเป็นต้องมี Corporate Identity ที่อลังการหรือเข้มแข็งอะไรขนาดนั้น แต่เชื่อไหมว่าการที่ความเป็นตัวตนขององค์กรมีความเข้มแข็งเป็นที่ตั้งไว้ก่อน จะทำให้ส่วนอื่นๆ ของธุรกิจของคุณมีความเข้มแข็งตามไปด้วยนะ


📍ประโยชน์อื่นๆ ของการสร้าง Corporate Identity ได้แก่

• เพิ่มพูนการทำงานที่มีความสอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้มากขึ้น

• ทำให้คุณดูมีเอกลักษณ์ที่ต่างไปจากคู่แข่ง

• ทำให้การทำงานในเชิงของการออกแบบสื่อ และการให้บริการลูกค้ามีความสะดวก รวดเร็ว และชัดเจน


📍CI กับการทำ BRANDING

เป็นสองสิ่งที่คนทั่วไปมักจับมาผสมกันจนสับสนไปว่า Ci กับ Branding นั้นคือสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว “ไม่ได้เป็นเช่นนั้น” การทำ Branding นั้นจะเป็นงานในส่วนของแผนการตลาดซึ่งการจะทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่จดจำได้ต้องอาศัย Ci เป็นพื้นฐานอย่างที่เกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า Ci เปรียบเสมือนกฎที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา โปรโมทธุรกิจ ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องยึด Ci เป็นพื้นฐานก่อนจะนำเสนอสิ่งเหล่านั้นออกสู่สาธารณชน เท่ากับว่า Branding ก็คือการทำการตลาดโดยนำ Ci มาใช้ให้ถูกต้องนั่นเอง


📍การใช้ CI ในการออกแบบ

หากคุณทำงานกับนักออกแบบหรือทีมสร้างสรรค์มืออาชีพล่ะก็ คำถามแรกๆ ที่จะออกจากปากพวกเขาคือ “Brand Ci ของคุณนั้นเป็นอย่างไร” เพราะการออกแบบนั้นจะเป็นภาพที่ชัดที่สุดที่เราจะกล่าวถึงในเรื่องของ Ci เหตุผลคือชิ้นงานกราฟิกต่างๆ จะเป็นตัวสร้างการรับรู้ การจดจำแบรนด์ของคุณกับสาธารณะได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าถ้าคุณไม่มีการกำหนด Ci ของแบรนด์เอาไว้ตั้งแต่แรก งานที่ออกมาจะไม่มีสไตล์ที่แน่ชัด แถมยังสร้างการจดจำได้ยากอีกด้วย


การจดจำแบรนด์ที่เราพูดถึงนั้นคือ การที่เพียงแค่ลูกค้าเห็นภาพโฆษณาหรือคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียของคุณเพียงไม่กี่วินาที แล้วรู้เลยว่านี่เป็นคอนเทนต์หรือโพสต์จากแบรนด์ของคุณ นั่นถือว่าประสบความสำเร็จในการทำ Branding ไปอีกขั้นและใช้ Ci ได้ถูกวิธีแล้ว เปรียบเสมือนกับที่เราจำ Coca Cola ว่าเป็นสีแดงและ Pepsi คือสีน้ำเงินนั่นเอง


แต่แน่นอนว่า Ci ไม่ใช่แค่สี คุณอาจต้องมีการทำคู่มือการใช้งาน Ci ของแบรนด์ (Brand Ci Manual Script) ในนั้นจะมีการกำหนดตั้งแต่ โลโก้แบบต่างๆ โลโก้หลัก-รอง ทั้งแบบสีเต็ม ขาว-ดำ สีเทา วิธีการนำโลโก้ไปใช้ การใช้ Clear Space (พื้นที่ปลอดภัยในการวางโลโก้) รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ สีหลัก-รอง


รวมถึงอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “รูปภาพ” ไม่ว่าจะเป็นสไตล์การถ่ายภาพ โทนสีของภาพไปจนถึงทิศทางการใช้รูปภาพ สิ่งที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ องค์ประกอบกราฟิกต่างๆ อาทิ ลวดลาย แพทเทิร์น รูปร่าง ลายเส้น ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่คุณต้องบอกกับนักออกแบบให้ทราบตั้งแต่เริ่มงาน หรือถ้าหากไม่มีคู่มือการใช้ ก็ต้องอธิบายและพูดคุยให้เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายว่าแบบไหนถูกต้องหรือแบบไหนที่ไม่ใช่อัตลักษณ์องค์กรที่คุณวางเอาไว้หรือหากคุณจ้างเอเจนซีหรือทีมข้างนอกทำก็ควรจะส่งไฟล์ทั้งหมดที่มีให้พวกเขา อาทิ ไฟล์โลโก้ (ไฟล์ .ai) รูปภาพของสินค้าหรือรูปที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณไปด้วย


📍CI และโซเชียลมีเดีย

ปัจจุบันสื่อที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดคงหนีไม่พ้นโซเชียลมีเดียและด้วยความที่มีผู้ใช้มหาศาลนี้เองการกำหนด Ci ให้ชัดเจนจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับตอนสร้างแบรนด์เลยทีเดียวหรือถ้าจะให้ถูก การทำโซเชียลมีเดียก็คือการสร้างแบรนด์ของคุณบนแพลตฟอร์มออนไลน์


ในส่วนนี้เราจะไม่พูดถึงภาพกราฟิกที่ใช้ในคอนเทนต์เพราะรายละเอียดจะเหมือนกับหัวข้อก่อนหน้า แต่สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ “ภาษาเขียน” หากคุณสังเกตโซเชียลมีเดียของแบรนด์ใหญ่ๆ อย่างเช่นเพจเฟซบุ๊กที่มีคนตามนับล้านเขาจะมีการใช้ภาษาเขียนที่ชัดเจน แน่นอนว่าเพจใหญ่ขนาดนั้นย่อมไม่ได้มีผู้ดูแลเพียงแค่คนเดียว แต่ Ci นี่ล่ะคือตัวกำหนดให้ผู้ดูแลเพจแต่ละคนปฏิบัติตาม อาทิเพจบันเทิงก็จะใช้ภาษาแรงๆ สนุกๆ จิกกัดบ้าง เล่นคำพิสดาลไปจนถึงภาษาวิบัติก็ไม่ผิด ในทางกลับกันหากเป็นเพจที่ต้องการให้ความรู้อย่างจริงจัง อาทิ เพจนักลงทุน เพจธนาคาร เพจแบรนด์สินค้า เพจโรงพยาบาล เหล่านี้เขาก็จะใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่วางเอาไว้


และไม่ใช่แค่ภาษาที่ใช้ทำบทความหรือคอนเทนต์เท่านั้น เพราะแม้แต่การพูดคุยการตอบกลับคอมเมนต์ต่างๆ ก็ต้องใช้ภาษาที่ไปในทิศทางเดียวกันด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมตอนเริ่มทำเพจใหม่ๆ เราถึงต้องกำหนด Brand Persona ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งใน Ci ด้วย เพราะผู้ดูแลเพจทุกคนจะได้รู้ว่าเพจของแบรนด์เป็นใคร ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ มีบุคลิกและใช้ภาษาอย่างไร เป็นต้น


📍CI กับการให้บริการลูกค้า

ในส่วนของหัวข้อนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของ วัฒนธรรมและบุคลิกภาพของแบรนด์ (Culture and personality) ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นดู การสื่อสารกับลูกค้าคือการสร้างภาพลักษณ์และบุคลิกภาพขององค์กร การกล่าวทักทายลูกค้า การตอบแชท หรือตอบคอมเมนต์กลับลูกค้า ก็ต้องให้เป็นไปตามทิศทางหรือโทนของแบรนด์เราด้วยเช่นกัน และยิ่งตอนทำเพจใหม่ๆ ยิ่งต้องกำหนดข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้แอดมินด้วยเช่นกัน เพื่อให้เค้าสามารถตอบลูกค้าให้เป็นไปในทางเดียวกับภาพลักษณ์ของแบรนด์เราได้


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

ดู 1,335 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page