top of page

Crowdfunding คืออะไร❓แหล่งเงินทุนของ SME


Crowdfunding คืออะไร❓แหล่งเงินทุนของ SME  👉🏻คราวด์ฟันดิง Crowdfunding คือ อะไร       ตามที่เพียร์ พาวเวอร์ได้บอกไปข้างต้นว่า Crowdfunding คือ การระดมทุนจากคนจำนวนมาก เพื่อโครงการหนึ่งหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง โดยเจ้าของโครงการนั้นต้องนำเอาความคิดหรือธุรกิจของตนเองออกมาขอระดมทุนจากนักลงทุนให้ได้จำนวนเงินตามที่ต้องการ โดยจะมีการให้ผลตอบแทนหรือไม่ก็แล้วแต่รูปแบบและวัตถุประสงค์ของการลงทุนนั้น ซึ่ง Crowdfunding แบ่งรูปแบบการลงทุนออกเป็น 4 แบบลักษณะการลงทุน   1. Donation-based Crowdfunding  เป็นการระดมทุนในรูปแบบ ‘บริจาค’ วัตถุประสงค์หลักของโครงการที่ขอระดมทุนมักจะเป็นโครงการที่ทำเพื่อสังคมหรือการกุศล ดังนั้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ เพราะลงเงินเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือนั่นเอง เช่น โครงการก้าวคนละก้าวของ ตูน บอดี้สแลม เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปมอบให้กับโรงพยาบาล    2. Reward-based Crowdfunding การระดมทุนเพื่อแลกกับ “สินค้าหรือของที่ระลึก” เป็นสิ่งตอบแทน คล้ายกับการจ่ายเงินเพื่อพรีออเดอร์สินค้าที่ยังไม่มีการผลิต มีเพียงต้นแบบและไอเดีย    ผู้ที่สนใจสินค้านั้นๆ ก็จะลงเงินเพื่อระดมทุนให้เจ้าของไอเดียผลิตสินค้าออกสู่ตลาดได้จริง ส่วนผู้ลงทุนก็จะได้สินค้านั้นๆ เป็นผลตอบแทน ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีแค่สินค้าเท่านั้น ยังมีการระดมทุนเพื่อทำหนังสั้น เกม เพลง หรือแม้แต่หนังสือการ์ตูน    ลองดูตัวอย่างไอเดียการระดมทุนอย่างสร้างสรรค์ที่ www.kickstarter.com ซึ่งมีโครงการดีๆ มากมายที่คุณก็สามารถร่วมระดมทุนได้    3. Peer-to-Peer Lending การระดมทุนที่เป็นการ “กู้ยืม” ระหว่างผู้ให้ยืม (นักลงทุน) และผู้กู้ยืม (บุคคลหรือผู้ประกอบการ) โดยมีแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นตัวกลางรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนตามจำนวนที่ผู้กู้ยืมต้องการ โดยที่ผู้กู้ยืมต้องชำระเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุนตามข้อตกลง   ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะยังไม่มีสถาบันทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยข้อดีก็คือ ผู้กู้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและเร็วขึ้น ในขณะที่นักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ก็ต้องแลกกับความเสี่ยงที่ผู้กู้จะผิดชำระหนี้    4. Investment-based Crowdfunding การระดมทุนในรูปแบบ “หลักทรัพย์” มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ  - กิจการระดมทุนด้วยการออก “หุ้น” (Equity based) ให้แก่ผู้ลงทุน เมื่อมีหุ้นก็เท่ากับมีสิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนเงินที่ลงทุน และมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลหรือสามารถนำหุ้นไปขายต่อได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท - กิจการระดมทุนโดยให้ “หุ้นกู้” (Debt based) แก่ผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนจะอยู่ในฐานะ “เจ้าหนี้” ของกิจการ จึงได้รับผลตอบแทนในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” และรับคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุ   👉🏻คราวด์ฟันดิง Crowdfunding เหมาะกับใคร เมื่อเป็นการขอระดมทุน และการลงทุน Crowdfunding จึงเกี่ยวข้องกับคน 2 กลุ่ม ที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียจากการระดมทุนในครั้งนี้  - ผู้ขอระดมทุนแบบ Crowdfunding จะเห็นได้ว่าการระดมทุนในลักษณะนี้ มีกลุ่มผู้ขอระดมทุนที่หลากหลายมาก เป็นได้ทั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร มูลนิธิ เจ้าของกิจการ ธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปจนถึงบุคคลทั่วไป Crowdfunding จึงมีความเหมาะสมตามแต่ประเภทและรูปแบบของการลงทุนไปด้วย โดยอาจแยกย่อยลงไปได้ดังนี้  - ต้องการระดมทุนในลักษณะเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคม เป็นการระดมทุนที่ชัดเจนว่าเป็นไปในลักษณะ Donation Based Crowdfunding และ Reward Based Crowdfunding ผู้ขอระดมทุนส่วนใหญ่จึงเป็นมูลนิธิ และองค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งต้องการระดมทุนในลักษณะเป็นโครงการหรือเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง อาจเป็นลักษณะอาหารกลางวันเพื่อเด็ก โครงการช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยเหลือสุนัข หรือ แมวบาดเจ็บเป็นต้น   แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่าผู้ขอระดมทุนในลักษณะ Donation Based Crowdfunding ไม่ได้เป็นองค์กรการกุศลเสมอไป อาจเป็นเพียงกลุ่มคนที่ต้องการร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงหรือช่วยเหลือสังคมก็ได้ ซึ่งลักษณะ Crowdfunding แบบนี้จะลิมิตยอดบริจาคหรือไม่ก็ได้  ส่วน Reward Based Crowdfunding เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีทุนในการจัดทำของที่ระลึก หรือมีเครือข่ายที่ให้สิทธิพิเศษกับผู้ให้ทุนได้ Crowdfunding ลักษณะนี้ ผู้ขอระดมทุนต้องระวังเรื่องต้นทุนในการผลิตของรางวัล โดยเฉพาะการขายเพื่อระดมทุน เช่น เสื้อ หมวก หรืออื่น ๆ เพราะโอกาสจะขายไม่หมดกลายเป็นต้นทุนที่ต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็มีสูง  - ต้องการระดมทุนเพื่อธุรกิจ การระดมทุนแบบนี้ทำได้ทั้งแบบ Debt Based Crowdfunding และแบบ Equity Based Crowdfunding  เพราะเป็นการขอระดมทุนเพื่อให้มีเงินในการดำเนินธุรกิจต่อไป เหมาะกับเจ้าของธุรกิจ ต่างกันตรงที่ Debt Based Crowdfunding เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ผู้ขอระดมทุนกับผู้ให้ทุนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันในแง่กฎหมาย แต่สำหรับแบบ Equity Based Crowdfunding ผู้ขอระดมทุนกับผู้ให้ทุนจะกลายเป็นหุ้นส่วนกันต่อไป จนกว่าจะมีการขายหุ้นนั้นไปให้กับบุคคลอื่น หรือเจ้าของธุรกิจที่นำหุ้นมาระดมทุนตกลงซื้อคืนมาได้    - ผู้ให้ทุนแบบ คราวด์ฟันดิง Crowdfunding Crowdfunding เป็นการระดมทุนที่เปิดกว้างให้กับผู้ให้ทุน ซึ่งสามารถลงเงินได้ทุกรูปแบบของ Crowdfunding ซึ่งรวมทั้งรูปแบบการให้เปล่าแบบการบริจาค การซื้อของที่ระลึกหรือ Reward รวมไปถึงการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนทั้งเป็นเงิน และเป็นหุ้น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ  - ผู้ให้ทุนแบบไม่ต้องการผลตอบแทน เป็นลักษณะของการบริจาคต่าง ๆ ซึ่งผู้ให้ทุนอาจต้องการร่วมผลักดันวัตถุประสงค์ของโครงการที่เปิดระดมทุนนั้นให้ประสบความสำเร็จ หรือต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคม ผู้ให้ทุนในรูปแบบนี้มักต้องการผลตอบแทนทางใจ บางแคมเปญที่ออกมาขอบริจาคจึงประสบความสำเร็จมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็น Crowdfunding ที่เล่นกับความรู้สึก จึงพบว่าบ่อยครั้งการให้ทุนในลักษณะนี้กลายเป็นการหลอกลวง ซึ่งผู้ให้ทุนต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนตัดสินใจลงเงิน หรือจะบริจาคผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกได้ การให้ทุนแบบนี้จึงมักเป็นการให้ทุนแบบ Donation Based Crowdfunding และ Reward Based Crowdfunding ซึ่งแบบหลังสิ่งตอบแทนเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มูลค่าจริงไม่ได้เท่ากับยอดบริจาค แต่ผู้ให้ทุนมักไม่รู้สึกเสียเปรียบ เพราะบวกมูลค่าทางใจที่ได้รับไปด้วยนั่นเอง  - ผู้ให้ทุนแบบต้องการผลตอบแทน มักเป็นนักลงทุนที่แสวงหาการลงทุนรูปแบบใหม่ ๆ และกล้าที่จะยอมรับความเสี่ยงได้ เพราะการลงทุนแบบ Crowdfunding อีกนัยหนึ่งก็คือการลงทุนในธุรกิจ ผ่านตัวกลางหรือแพลตฟอร์ม โดยผู้ให้ทุนที่ต้องการลงทุนแบบได้รับผลตอบแทนควรเลือกลงทุนแบบ Debt Based Crowdfunding ที่มีผลตอบแทนเป็นการชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย และ Equity Based Crowdfunding ที่มีผลตอบแทนเป็นหุ้นในธุรกิจที่ลงทุน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจลงทุนในรูปแบบนี้ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกัน   👉🏻Crowdfunding มีประโยชน์อย่างไร การระดมทุนแบบ Crowdfunding ถือเป็นรูปแบบในการขอและให้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน นับเป็นรูปแบบ Financial Inclusion อีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ระดมทุน ทั้งมูลนิธิ เจ้าของกิจการขนาดเล็กต่าง ๆ มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น และมีโอกาสได้รับเงินทุนก้อนเล็กหลาย ๆ ก้อนจากผู้ให้ทุนหลายคนที่รวมกันเป็นก้อนใหญ่ในที่สุด  ฝ่ายผู้ให้ทุนเอง หากมองในลักษณะการลงทุน รูปแบบ Crowdfunding จะเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะแทนที่จะลงเงินก้อนใหญ่ไปที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ก็ได้กระจายการลงทุนในหลาย ๆ ธุรกิจ ทำให้ถ้าผู้ขอระดมทุนรายใดรายหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ก็ยังมีรายอื่นที่จ่ายได้และให้ผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ   ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

Crowdfunding คืออะไร❓แหล่งเงินทุนของ SME


👉🏻คราวด์ฟันดิง Crowdfunding คือ อะไร

Crowdfunding คือ การระดมทุนจากคนจำนวนมาก เพื่อโครงการหนึ่งหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง โดยเจ้าของโครงการนั้นต้องนำเอาความคิดหรือธุรกิจของตนเองออกมาขอระดมทุนจากนักลงทุนให้ได้จำนวนเงินตามที่ต้องการ โดยจะมีการให้ผลตอบแทนหรือไม่ก็แล้วแต่รูปแบบและวัตถุประสงค์ของการลงทุนนั้น ซึ่ง Crowdfunding แบ่งรูปแบบการลงทุนออกเป็น 4 แบบลักษณะการลงทุน


1. Donation-based Crowdfunding

เป็นการระดมทุนในรูปแบบ ‘บริจาค’ วัตถุประสงค์หลักของโครงการที่ขอระดมทุนมักจะเป็นโครงการที่ทำเพื่อสังคมหรือการกุศล ดังนั้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ เพราะลงเงินเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือนั่นเอง เช่น โครงการก้าวคนละก้าวของ ตูน บอดี้สแลม เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปมอบให้กับโรงพยาบาล

2. Reward-based Crowdfunding

การระดมทุนเพื่อแลกกับ “สินค้าหรือของที่ระลึก” เป็นสิ่งตอบแทน คล้ายกับการจ่ายเงินเพื่อพรีออเดอร์สินค้าที่ยังไม่มีการผลิต มีเพียงต้นแบบและไอเดีย

ผู้ที่สนใจสินค้านั้นๆ ก็จะลงเงินเพื่อระดมทุนให้เจ้าของไอเดียผลิตสินค้าออกสู่ตลาดได้จริง ส่วนผู้ลงทุนก็จะได้สินค้านั้นๆ เป็นผลตอบแทน ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีแค่สินค้าเท่านั้น ยังมีการระดมทุนเพื่อทำหนังสั้น เกม เพลง หรือแม้แต่หนังสือการ์ตูน

ลองดูตัวอย่างไอเดียการระดมทุนอย่างสร้างสรรค์ที่ www.kickstarter.com ซึ่งมีโครงการดีๆ มากมายที่คุณก็สามารถร่วมระดมทุนได้

3. Peer-to-Peer Lending

การระดมทุนที่เป็นการ “กู้ยืม” ระหว่างผู้ให้ยืม (นักลงทุน) และผู้กู้ยืม (บุคคลหรือผู้ประกอบการ) โดยมีแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นตัวกลางรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนตามจำนวนที่ผู้กู้ยืมต้องการ โดยที่ผู้กู้ยืมต้องชำระเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุนตามข้อตกลง

ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะยังไม่มีสถาบันทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยข้อดีก็คือ ผู้กู้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและเร็วขึ้น ในขณะที่นักลงทุนก็ได้ผลตอบแทนในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ก็ต้องแลกกับความเสี่ยงที่ผู้กู้จะผิดชำระหนี้

4. Investment-based Crowdfunding

การระดมทุนในรูปแบบ “หลักทรัพย์” มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

- กิจการระดมทุนด้วยการออก “หุ้น” (Equity based) ให้แก่ผู้ลงทุน เมื่อมีหุ้นก็เท่ากับมีสิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนเงินที่ลงทุน และมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลหรือสามารถนำหุ้นไปขายต่อได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท

- กิจการระดมทุนโดยให้ “หุ้นกู้” (Debt based) แก่ผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนจะอยู่ในฐานะ “เจ้าหนี้” ของกิจการ จึงได้รับผลตอบแทนในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” และรับคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุ


👉🏻คราวด์ฟันดิง Crowdfunding เหมาะกับใคร

เมื่อเป็นการขอระดมทุน และการลงทุน Crowdfunding จึงเกี่ยวข้องกับคน 2 กลุ่ม ที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียจากการระดมทุนในครั้งนี้


- ผู้ขอระดมทุนแบบ Crowdfunding

จะเห็นได้ว่าการระดมทุนในลักษณะนี้ มีกลุ่มผู้ขอระดมทุนที่หลากหลายมาก เป็นได้ทั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร มูลนิธิ เจ้าของกิจการ ธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปจนถึงบุคคลทั่วไป Crowdfunding จึงมีความเหมาะสมตามแต่ประเภทและรูปแบบของการลงทุนไปด้วย โดยอาจแยกย่อยลงไปได้ดังนี้


- ต้องการระดมทุนในลักษณะเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคม

เป็นการระดมทุนที่ชัดเจนว่าเป็นไปในลักษณะ Donation Based Crowdfunding และ Reward Based Crowdfunding ผู้ขอระดมทุนส่วนใหญ่จึงเป็นมูลนิธิ และองค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งต้องการระดมทุนในลักษณะเป็นโครงการหรือเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง อาจเป็นลักษณะอาหารกลางวันเพื่อเด็ก โครงการช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยเหลือสุนัข หรือ แมวบาดเจ็บเป็นต้น


แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่าผู้ขอระดมทุนในลักษณะ Donation Based Crowdfunding ไม่ได้เป็นองค์กรการกุศลเสมอไป อาจเป็นเพียงกลุ่มคนที่ต้องการร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงหรือช่วยเหลือสังคมก็ได้ ซึ่งลักษณะ Crowdfunding แบบนี้จะลิมิตยอดบริจาคหรือไม่ก็ได้


ส่วน Reward Based Crowdfunding เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีทุนในการจัดทำของที่ระลึก หรือมีเครือข่ายที่ให้สิทธิพิเศษกับผู้ให้ทุนได้ Crowdfunding ลักษณะนี้ ผู้ขอระดมทุนต้องระวังเรื่องต้นทุนในการผลิตของรางวัล โดยเฉพาะการขายเพื่อระดมทุน เช่น เสื้อ หมวก หรืออื่น ๆ เพราะโอกาสจะขายไม่หมดกลายเป็นต้นทุนที่ต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็มีสูง


- ต้องการระดมทุนเพื่อธุรกิจ

การระดมทุนแบบนี้ทำได้ทั้งแบบ Debt Based Crowdfunding และแบบ Equity Based Crowdfunding เพราะเป็นการขอระดมทุนเพื่อให้มีเงินในการดำเนินธุรกิจต่อไป เหมาะกับเจ้าของธุรกิจ ต่างกันตรงที่ Debt Based Crowdfunding เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ผู้ขอระดมทุนกับผู้ให้ทุนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันในแง่กฎหมาย แต่สำหรับแบบ Equity Based Crowdfunding ผู้ขอระดมทุนกับผู้ให้ทุนจะกลายเป็นหุ้นส่วนกันต่อไป จนกว่าจะมีการขายหุ้นนั้นไปให้กับบุคคลอื่น หรือเจ้าของธุรกิจที่นำหุ้นมาระดมทุนตกลงซื้อคืนมาได้

- ผู้ให้ทุนแบบ คราวด์ฟันดิง Crowdfunding

Crowdfunding เป็นการระดมทุนที่เปิดกว้างให้กับผู้ให้ทุน ซึ่งสามารถลงเงินได้ทุกรูปแบบของ Crowdfunding ซึ่งรวมทั้งรูปแบบการให้เปล่าแบบการบริจาค การซื้อของที่ระลึกหรือ Reward รวมไปถึงการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนทั้งเป็นเงิน และเป็นหุ้น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ


- ผู้ให้ทุนแบบไม่ต้องการผลตอบแทน

เป็นลักษณะของการบริจาคต่าง ๆ ซึ่งผู้ให้ทุนอาจต้องการร่วมผลักดันวัตถุประสงค์ของโครงการที่เปิดระดมทุนนั้นให้ประสบความสำเร็จ หรือต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคม ผู้ให้ทุนในรูปแบบนี้มักต้องการผลตอบแทนทางใจ บางแคมเปญที่ออกมาขอบริจาคจึงประสบความสำเร็จมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็น Crowdfunding ที่เล่นกับความรู้สึก จึงพบว่าบ่อยครั้งการให้ทุนในลักษณะนี้กลายเป็นการหลอกลวง ซึ่งผู้ให้ทุนต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนตัดสินใจลงเงิน หรือจะบริจาคผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกได้ การให้ทุนแบบนี้จึงมักเป็นการให้ทุนแบบ Donation Based Crowdfunding และ Reward Based Crowdfunding ซึ่งแบบหลังสิ่งตอบแทนเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มูลค่าจริงไม่ได้เท่ากับยอดบริจาค แต่ผู้ให้ทุนมักไม่รู้สึกเสียเปรียบ เพราะบวกมูลค่าทางใจที่ได้รับไปด้วยนั่นเอง


- ผู้ให้ทุนแบบต้องการผลตอบแทน

มักเป็นนักลงทุนที่แสวงหาการลงทุนรูปแบบใหม่ ๆ และกล้าที่จะยอมรับความเสี่ยงได้ เพราะการลงทุนแบบ Crowdfunding อีกนัยหนึ่งก็คือการลงทุนในธุรกิจ ผ่านตัวกลางหรือแพลตฟอร์ม โดยผู้ให้ทุนที่ต้องการลงทุนแบบได้รับผลตอบแทนควรเลือกลงทุนแบบ Debt Based Crowdfunding ที่มีผลตอบแทนเป็นการชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย และ Equity Based Crowdfunding ที่มีผลตอบแทนเป็นหุ้นในธุรกิจที่ลงทุน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจลงทุนในรูปแบบนี้ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกัน

👉🏻Crowdfunding มีประโยชน์อย่างไร

การระดมทุนแบบ Crowdfunding ถือเป็นรูปแบบในการขอและให้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน นับเป็นรูปแบบ Financial Inclusion อีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ระดมทุน ทั้งมูลนิธิ เจ้าของกิจการขนาดเล็กต่าง ๆ มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น และมีโอกาสได้รับเงินทุนก้อนเล็กหลาย ๆ ก้อนจากผู้ให้ทุนหลายคนที่รวมกันเป็นก้อนใหญ่ในที่สุด


ฝ่ายผู้ให้ทุนเอง หากมองในลักษณะการลงทุน รูปแบบ Crowdfunding จะเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะแทนที่จะลงเงินก้อนใหญ่ไปที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ก็ได้กระจายการลงทุนในหลาย ๆ ธุรกิจ ทำให้ถ้าผู้ขอระดมทุนรายใดรายหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ก็ยังมีรายอื่นที่จ่ายได้และให้ผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 10 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page