top of page

Search Engine คืออะไร❓ช่วยธุรกิจออนไลน์อย่างไร


Search Engine คืออะไร❓ช่วยธุรกิจออนไลน์อย่างไร  👉🏻Search Engine คืออะไร Search Engine (เสิร์ชเอนจิน) คือ โปรแกรมค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ Search Engine ต้องการทราบ โดยการใช้งาน Search Engine นั้น เมื่อผู้คนพิมพ์คำหรือวลีกับสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ (หรือที่เรียกว่า คีย์เวิร์ด) ในช่องค้นหา Search Engine ก็จะแสดงรายชื่อเว็บไซต์ วิดีโอ รูปภาพ หรืออื่นๆ (ขึ้นอยู่ว่าเราค้นหาอะไร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ เพื่อให้ผู้คนได้เข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการต่อไป  นอกจากการให้คำตอบแล้ว Search Engine ยังมีการเก็บสถิติ โปรแกรมให้คำตอบนี้จะสังเกตว่ามีผลลัพธ์ใดบ้างที่ถูกเลือก หรือไม่ถูกเลือกจากคีย์เวิร์ดนั้นๆ และใช้ข้อมูลสถิติการค้นหาเพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการค้นหาครั้งต่อไป เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ที่ว่าสิ่งที่มันนำเสนอจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือมีประโยชน์ที่สุดสำหรับผู้ค้นหานั่นเอง (เทคนิคเหล่านี้เรียกกว้างๆ ว่า Machine Learning)  👉🏻Search Engine มีกี่ประเภท ปัจจุบัน Search Engine ที่ทั่วโลกนิยมใช้งาน มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ดังนี้  1. Crawler Based มีหลักการทำงานคือ ผู้ให้บริการ Search Engine จะส่งโปรแกรมเก็บข้อมูล (Bot) ไปยังเว็บไซต์ทั้งหลายบนอินเตอร์เน็ต จากนั้น Bot ก็จะไต่ไปตามเว็บเพจต่างๆของเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลว่า แต่ละเว็บเพจมีเนื้อหาอะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องราวอะไรบ้าง  โดย Crawler Based เป็นประเภทของ Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดย Google Yahoo Bing Baidu รวมถึงเสิร์ชเอนจินยอดนิยมทั้งหลาย ต่างเป็นชนิด Crawler Based ทั้งสิ้น  2. Web Directory Web Directory คือเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์มาเป็นจำนวนมาก แล้วแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เมื่อผู้ชมเข้ามาที่ Web Directory ก็จะเข้าไปดูหมวดหมู่ที่ตัวเองสนใจ ซึ่งในหมวดหมู่นั้นจะมีรายชื่อเว็บไซต์จำนวนมาก ผู้ชมก็จะไล่พิจารณาหาเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพื่อจะเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป  👉🏻Search Engine มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร ปัจจุบัน การตลาดบน Search Engine หรือที่เรียกว่า Search Engine Marketing (SEM) ได้รับความนิยมมาก เพราะ เสิร์ชเอนจินคือหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก แต่ละวันมีคน 3.5 พันล้านคนหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนในประเทศไทย Google คือช่องทางอันดับหนึ่งที่คนใช้ค้นหาสินค้าและบริการ  ลองจินตนาการว่า เมื่อคนค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ แล้วพวกเขาเห็นสินค้าของคุณเป็นอันดับแรกๆ มันจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากมายขนาดไหน  ดังนั้น นอกจาก Search Engine มีประโยชน์ช่วยให้คนได้รับข้อมูลที่ต้องการแล้ว ยังเป็นช่องทางการตลาดที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้นักธุรกิจนำเสนอสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภคอีกด้วย  👉🏻หลักการทำงานของ Search Engine หากคุณเป็นคนที่สนใจเรื่องการตลาดบน Search Engine หนึ่งในข้อมูลพื้นฐานที่ต้องเข้าใจคือ หลักการทำงาน Search Engine เพราะหากเข้าใจ จะสามารถปรับแต่งโฆษณาหรือเนื้อหาเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มโอกาสที่สินค้าของคุณ จะปรากฏในลำดับต้นๆของผลการค้นหาได้  โดยบทความนี้ จะขออธิบาย หลักการทำงานของ Search Engine ยอดฮิตอย่าง Google เพราะนอกจากเป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของไทยและเทศแล้ว เสิร์ซเอนจินอื่น (Yahoo Bing Baidu) ก็มีหลักการทำงานไม่ต่างกัน  👉🏻โดยหลักการทำงานของ Search Engine จะมี 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. Crawling : การเก็บ รวบรวมข้อมูล ก่อนที่ Search Engine จะหาคำตอบมาให้กับเรา เขาก็ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลกันก่อน โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า Web Crawlers (ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่า Bot หรือ Spider) ติดตามไปยังลิงก์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล URLs เนื้อหาเว็บไซต์ รูปภาพ และวิดีโอ เมื่อบอทเจอข้อมูล หรือหน้าเว็บไซต์ใหม่ มันก็จะสแกน และส่งข้อมูลกลับมาให้ฐานข้อมูล เพื่อจัดทำดัชนี และก็ค้นหาหน้าเว็บใหม่ต่อไปเรื่อยๆ  2. Indexing : การจัดทำดัชนี เมื่อบอทเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการทำดัชนี ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ Search Engine จะตรวจสอบ จัดเก็บ และเรียบเรียงข้อมูลเว็บไซต์ไว้ในฐานข้อมูลหลัก คล้ายกับการนำหนังสือเล่มมาจัดเก็บไว้ในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ใช้เก็บข้อมูลเว็บไซต์ทั้งหมดบนโลกใบนี้  ที่สำคัญหากเราเป็นคนทำเว็บไซต์ เว็บไซต์ของเราจะต้องได้รับการจัดทำดัชนี เพื่อให้เว็บไซต์มีโอกาสถูกนำไปแสดงบน Search Engine เวลามีคนมาเสิร์ชจะได้เจอ และเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา  สำหรับ Search Engine ของ Google เราสามารถให้บอทเข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ พร้อมจัดทำดัชนีได้ทันที ด้วยเครื่องมือ Google Search Console และตรวจสอบเว็บไซต์ของเราว่าถูกจัดทำดัชนีแล้วรึยัง ด้วยการพิมพ์“site:domain.com” ลงในช่องเสิร์ชของ Google  3. Ranking : การจัดลำดับผลลัพธ์ ขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่ Search Engine จะนำคำตอบ หรือข้อมูลมาแสดงให้กับเรา คือการจัดลำดับเว็บไซต์เพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดมาให้กับเรา ซึ่งเกณฑ์ในการจัดอันดับของทุกเจ้า ส่วนใหญ่ยังคงถูกเก็บเป็นความลับอยู่  ถึงแม้เกณฑ์การจัดอันดับจะถูกเก็บเป็นความลับ แต่คนทำเว็บไซต์ และการตลาดออนไลน์ก็ยังมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางทำให้เว็บไซต์ของตัวเองขึ้นไปติดอันดับในหน้าแรกของ Search Engine ให้ได้ โดยการติดตามข่าวสารอัพเดต และศึกษาอัลกอริทึมของ Search Engine จนเป็นที่มาของการทำ Search Engine Optimized (SEO)  👉🏻รู้จักกับอัลกอริธึมของ Search Engine อัลกอริธึมของ Search Engine เป็นระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ และประเมินหน้าเว็บไซต์ที่ Search Engine จัดทำดัชนีไว้ทั้งหมด และเป็นตัวกำหนดว่าเว็บไซต์หน้าไหน ควรไปแสดงผลลัพธ์ที่คำเสิร์ชไหน ตัวอย่างเช่น อัลกอริธึมของ Google จะมีปัจจัยในเรื่องของ  Meaning of the query : การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเสิร์ช เช่น หากเราเสิร์ชคำว่า “เครื่องออกกำลังกาย” Google จะดึงหน้าเว็บไซต์ที่เป็นประเภท สินค้า มาให้เรา แต่ถ้าเราเสิร์ชคำว่า “รีวิวเครื่องออกกำลังกาย” Google จะดึงหน้าเว็บไซต์ที่เป็นประเภท บทความ หรือกระทู้ ที่เกี่ยวข้องกับการรีวิวการใช้งานมาให้เรานั่นเอง   - Page relevance : เป็นการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างหน้าเว็บไซต์กับ Keyword ว่า หน้าเว็บที่จะนำมาแสดงให้เราเห็นตอบคำถาม หรือ Keyword ที่เราใช้เสิร์ชหรือไม่  - Content quality : การวัดคุณภาพของเนื้อหา เป็นตัวประเมินว่าเนื้อหาเว็บไซต์นี้มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน โดยวัดจากปัจจัยภายใน และภายนอกมากมายเช่น ความยาวของเนื้อหา, ภาพประกอบ/วิดีโอ, ลิงก์ที่กลับเข้ามาในเว็บไซต์(Backlink) และอื่นๆ  - Page usability : การใช้งานเพจ โดยประเมินจาก การตอบสนอง ความเร็วของเพจ ความปลอดภัย ทั้งบน PC และ Mobile  👉🏻5 อันดับ Search Engine ยอดนิยม ที่คนทั่วโลกใช้ แน่นอนว่าอันดับ 1 ตกเป็นของ Google แน่นอน แต่เรามาลองทำความรู้จักกับ Search Engine ทั้ง 5 อันดับ กันดูว่า แต่ละตัวมีจุดเด่นอะไรกันบ้าง (เผื่อวันนึง Google ขัดข้อง จะได้มีตัวสำรอง 5555+)  - Google Google เป็น Search Engine ที่เรียกได้ว่าใหญ่ และครอบคลุมที่สุดในโลก โดยครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้นด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่า 90% ทั่วโลก  มีอัลกอริธึมที่เยอะ และซับซ้อน การรวบรวมข้อมูล การจัดทำดัชนี และการจัดอันดับมีประสิทธิภาพ ให้ผลการค้นหาที่ดีเยี่ยม จนเป็น 1 ในเครื่องมือที่ชีวิตประจำวันของเราจะขาดไปไม่ได้  - Microsoft Bing Bing เป็นอันดับ 2 รองมาจาก Google ซึ่ง Microsoft เป็นเจ้าของ มีส่วนแบ่งตลาดของ Search Engine อยู่ที่ 2% – 3% เป็นอีกตัวเลือกที่ดี สำหรับคนที่อยากลองใช้งานเครื่องมือใหม่ๆ แต่ก็ยังมีความคล้ายคลึงกับ Google ในหลายๆ ด้าน โดยให้ผลการค้นหาเป็นเว็บไซต์ รูปภาพ วิดีโอ สถานที่ แผนที่ เหมือนกัน  - Yahoo! Yahoo เป็นอีก 1 เว็บไซต์ยอดนิยม ที่เป็นผู้ให้บริการอีเมล และเป็น Search Engine ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกอีกด้วย มีส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเกือบ 2% ซึ่งครั้งหนึ่ง Yahoo ก็เคยเป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมอยู่มาก แต่ก็ลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและถูก Google บดบังไป  - Yandex หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกัน เพราะ Yandex เป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมในประเทศฝั่งตะวันออก แม้ว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเพียงแค่ 1% แต่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศอย่าง รัสเซีย ตุรกี ยูเครน หรือเบลารุส  - Baidu Baidu เป็น Search Engine ที่นิยมมากที่สุดในประเทศจีน แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกโดยรวมจะอยู่ที่ 1%แต่ในประเทศจีน กลับมีส่วนแบ่งตลาดถึง 80% โดยมีการค้นหานับพันล้านครั้งทุกวัน  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

Search Engine คืออะไร❓ช่วยธุรกิจออนไลน์อย่างไร


👉🏻Search Engine คืออะไร

Search Engine (เสิร์ชเอนจิน) คือ โปรแกรมค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ Search Engine ต้องการทราบ โดยการใช้งาน Search Engine นั้น เมื่อผู้คนพิมพ์คำหรือวลีกับสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ (หรือที่เรียกว่า คีย์เวิร์ด) ในช่องค้นหา Search Engine ก็จะแสดงรายชื่อเว็บไซต์ วิดีโอ รูปภาพ หรืออื่นๆ (ขึ้นอยู่ว่าเราค้นหาอะไร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ เพื่อให้ผู้คนได้เข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการต่อไป


นอกจากการให้คำตอบแล้ว Search Engine ยังมีการเก็บสถิติ โปรแกรมให้คำตอบนี้จะสังเกตว่ามีผลลัพธ์ใดบ้างที่ถูกเลือก หรือไม่ถูกเลือกจากคีย์เวิร์ดนั้นๆ และใช้ข้อมูลสถิติการค้นหาเพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการค้นหาครั้งต่อไป เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ที่ว่าสิ่งที่มันนำเสนอจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือมีประโยชน์ที่สุดสำหรับผู้ค้นหานั่นเอง (เทคนิคเหล่านี้เรียกกว้างๆ ว่า Machine Learning)


👉🏻Search Engine มีกี่ประเภท

ปัจจุบัน Search Engine ที่ทั่วโลกนิยมใช้งาน มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ดังนี้


1. Crawler Based

มีหลักการทำงานคือ ผู้ให้บริการ Search Engine จะส่งโปรแกรมเก็บข้อมูล (Bot) ไปยังเว็บไซต์ทั้งหลายบนอินเตอร์เน็ต จากนั้น Bot ก็จะไต่ไปตามเว็บเพจต่างๆของเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลว่า แต่ละเว็บเพจมีเนื้อหาอะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องราวอะไรบ้าง


โดย Crawler Based เป็นประเภทของ Search Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดย Google Yahoo Bing Baidu รวมถึงเสิร์ชเอนจินยอดนิยมทั้งหลาย ต่างเป็นชนิด Crawler Based ทั้งสิ้น


2. Web Directory

Web Directory คือเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์มาเป็นจำนวนมาก แล้วแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เมื่อผู้ชมเข้ามาที่ Web Directory ก็จะเข้าไปดูหมวดหมู่ที่ตัวเองสนใจ ซึ่งในหมวดหมู่นั้นจะมีรายชื่อเว็บไซต์จำนวนมาก ผู้ชมก็จะไล่พิจารณาหาเว็บไซต์ที่น่าสนใจเพื่อจะเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป


👉🏻Search Engine มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร

ปัจจุบัน การตลาดบน Search Engine หรือที่เรียกว่า Search Engine Marketing (SEM) ได้รับความนิยมมาก เพราะ เสิร์ชเอนจินคือหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก แต่ละวันมีคน 3.5 พันล้านคนหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนในประเทศไทย Google คือช่องทางอันดับหนึ่งที่คนใช้ค้นหาสินค้าและบริการ


ลองจินตนาการว่า เมื่อคนค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ แล้วพวกเขาเห็นสินค้าของคุณเป็นอันดับแรกๆ มันจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากมายขนาดไหน


ดังนั้น นอกจาก Search Engine มีประโยชน์ช่วยให้คนได้รับข้อมูลที่ต้องการแล้ว ยังเป็นช่องทางการตลาดที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้นักธุรกิจนำเสนอสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภคอีกด้วย


👉🏻หลักการทำงานของ Search Engine

หากคุณเป็นคนที่สนใจเรื่องการตลาดบน Search Engine หนึ่งในข้อมูลพื้นฐานที่ต้องเข้าใจคือ หลักการทำงาน Search Engine เพราะหากเข้าใจ จะสามารถปรับแต่งโฆษณาหรือเนื้อหาเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มโอกาสที่สินค้าของคุณ จะปรากฏในลำดับต้นๆของผลการค้นหาได้


โดยบทความนี้ จะขออธิบาย หลักการทำงานของ Search Engine ยอดฮิตอย่าง Google เพราะนอกจากเป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของไทยและเทศแล้ว เสิร์ซเอนจินอื่น (Yahoo Bing Baidu) ก็มีหลักการทำงานไม่ต่างกัน


👉🏻โดยหลักการทำงานของ Search Engine จะมี 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ

1. Crawling : การเก็บ รวบรวมข้อมูล

ก่อนที่ Search Engine จะหาคำตอบมาให้กับเรา เขาก็ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลกันก่อน โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า Web Crawlers (ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่า Bot หรือ Spider) ติดตามไปยังลิงก์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล URLs เนื้อหาเว็บไซต์ รูปภาพ และวิดีโอ เมื่อบอทเจอข้อมูล หรือหน้าเว็บไซต์ใหม่ มันก็จะสแกน และส่งข้อมูลกลับมาให้ฐานข้อมูล เพื่อจัดทำดัชนี และก็ค้นหาหน้าเว็บใหม่ต่อไปเรื่อยๆ


2. Indexing : การจัดทำดัชนี

เมื่อบอทเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการทำดัชนี ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ Search Engine จะตรวจสอบ จัดเก็บ และเรียบเรียงข้อมูลเว็บไซต์ไว้ในฐานข้อมูลหลัก คล้ายกับการนำหนังสือเล่มมาจัดเก็บไว้ในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ใช้เก็บข้อมูลเว็บไซต์ทั้งหมดบนโลกใบนี้


ที่สำคัญหากเราเป็นคนทำเว็บไซต์ เว็บไซต์ของเราจะต้องได้รับการจัดทำดัชนี เพื่อให้เว็บไซต์มีโอกาสถูกนำไปแสดงบน Search Engine เวลามีคนมาเสิร์ชจะได้เจอ และเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา


สำหรับ Search Engine ของ Google เราสามารถให้บอทเข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ พร้อมจัดทำดัชนีได้ทันที ด้วยเครื่องมือ Google Search Console และตรวจสอบเว็บไซต์ของเราว่าถูกจัดทำดัชนีแล้วรึยัง ด้วยการพิมพ์“site:domain.com” ลงในช่องเสิร์ชของ Google


3. Ranking : การจัดลำดับผลลัพธ์

ขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่ Search Engine จะนำคำตอบ หรือข้อมูลมาแสดงให้กับเรา คือการจัดลำดับเว็บไซต์เพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดมาให้กับเรา ซึ่งเกณฑ์ในการจัดอันดับของทุกเจ้า ส่วนใหญ่ยังคงถูกเก็บเป็นความลับอยู่


ถึงแม้เกณฑ์การจัดอันดับจะถูกเก็บเป็นความลับ แต่คนทำเว็บไซต์ และการตลาดออนไลน์ก็ยังมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางทำให้เว็บไซต์ของตัวเองขึ้นไปติดอันดับในหน้าแรกของ Search Engine ให้ได้ โดยการติดตามข่าวสารอัพเดต และศึกษาอัลกอริทึมของ Search Engine จนเป็นที่มาของการทำ Search Engine Optimized (SEO)


👉🏻รู้จักกับอัลกอริธึมของ Search Engine

อัลกอริธึมของ Search Engine เป็นระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ และประเมินหน้าเว็บไซต์ที่ Search Engine จัดทำดัชนีไว้ทั้งหมด และเป็นตัวกำหนดว่าเว็บไซต์หน้าไหน ควรไปแสดงผลลัพธ์ที่คำเสิร์ชไหน ตัวอย่างเช่น อัลกอริธึมของ Google จะมีปัจจัยในเรื่องของ


Meaning of the query : การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเสิร์ช เช่น หากเราเสิร์ชคำว่า “เครื่องออกกำลังกาย” Google จะดึงหน้าเว็บไซต์ที่เป็นประเภท สินค้า มาให้เรา แต่ถ้าเราเสิร์ชคำว่า “รีวิวเครื่องออกกำลังกาย” Google จะดึงหน้าเว็บไซต์ที่เป็นประเภท บทความ หรือกระทู้ ที่เกี่ยวข้องกับการรีวิวการใช้งานมาให้เรานั่นเอง

- Page relevance : เป็นการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างหน้าเว็บไซต์กับ Keyword ว่า หน้าเว็บที่จะนำมาแสดงให้เราเห็นตอบคำถาม หรือ Keyword ที่เราใช้เสิร์ชหรือไม่


- Content quality : การวัดคุณภาพของเนื้อหา เป็นตัวประเมินว่าเนื้อหาเว็บไซต์นี้มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน โดยวัดจากปัจจัยภายใน และภายนอกมากมายเช่น ความยาวของเนื้อหา, ภาพประกอบ/วิดีโอ, ลิงก์ที่กลับเข้ามาในเว็บไซต์(Backlink) และอื่นๆ


- Page usability : การใช้งานเพจ โดยประเมินจาก การตอบสนอง ความเร็วของเพจ ความปลอดภัย ทั้งบน PC และ Mobile


👉🏻5 อันดับ Search Engine ยอดนิยม ที่คนทั่วโลกใช้

แน่นอนว่าอันดับ 1 ตกเป็นของ Google แน่นอน แต่เรามาลองทำความรู้จักกับ Search Engine ทั้ง 5 อันดับ กันดูว่า แต่ละตัวมีจุดเด่นอะไรกันบ้าง (เผื่อวันนึง Google ขัดข้อง จะได้มีตัวสำรอง 5555+)


- Google

Google เป็น Search Engine ที่เรียกได้ว่าใหญ่ และครอบคลุมที่สุดในโลก โดยครองตลาดเสิร์ชเอ็นจิ้นด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่า 90% ทั่วโลก


มีอัลกอริธึมที่เยอะ และซับซ้อน การรวบรวมข้อมูล การจัดทำดัชนี และการจัดอันดับมีประสิทธิภาพ ให้ผลการค้นหาที่ดีเยี่ยม จนเป็น 1 ในเครื่องมือที่ชีวิตประจำวันของเราจะขาดไปไม่ได้


- Microsoft Bing

Bing เป็นอันดับ 2 รองมาจาก Google ซึ่ง Microsoft เป็นเจ้าของ มีส่วนแบ่งตลาดของ Search Engine อยู่ที่ 2% – 3% เป็นอีกตัวเลือกที่ดี สำหรับคนที่อยากลองใช้งานเครื่องมือใหม่ๆ แต่ก็ยังมีความคล้ายคลึงกับ Google ในหลายๆ ด้าน โดยให้ผลการค้นหาเป็นเว็บไซต์ รูปภาพ วิดีโอ สถานที่ แผนที่ เหมือนกัน


- Yahoo!

Yahoo เป็นอีก 1 เว็บไซต์ยอดนิยม ที่เป็นผู้ให้บริการอีเมล และเป็น Search Engine ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกอีกด้วย มีส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเกือบ 2% ซึ่งครั้งหนึ่ง Yahoo ก็เคยเป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมอยู่มาก แต่ก็ลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและถูก Google บดบังไป


- Yandex

หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกัน เพราะ Yandex เป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมในประเทศฝั่งตะวันออก แม้ว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมเพียงแค่ 1% แต่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศอย่าง รัสเซีย ตุรกี ยูเครน หรือเบลารุส


- Baidu

Baidu เป็น Search Engine ที่นิยมมากที่สุดในประเทศจีน แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกโดยรวมจะอยู่ที่ 1%แต่ในประเทศจีน กลับมีส่วนแบ่งตลาดถึง 80% โดยมีการค้นหานับพันล้านครั้งทุกวัน


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 10 ครั้ง

Comentários


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page