top of page

สต๊อกสินค้าคืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงต้องรู้❓


สต๊อกสินค้าคืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงต้องรู้❓  ในสมัยก่อน การเริ่มต้นธุรกิจนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมากๆ นั่นก็เพราะว่าในสมัยก่อนเรื่องของช่องทางการสื่อสาร, การขนส่ง หรือ แม้กระทั่งการเข้าถึงลูกค้านั้นไม่ได้ก้าวหน้าหรือล้ำยุคล้ำเทียบเท่าสมัยนี้ ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนถ้าหากเราอยากจะซื้อของอะไรสักอย่าง เราจำเป็นต้องเดินทางไปถึงหน้าร้าน เพื่อดูว่าร้านค้าเหล่านั้นได้มีการทำสต๊อกสินค้าที่เราต้องการรึเปล่า แต่ในทางกลับกัน ณ ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเพื่อเดินทางไปถึงหน้าร้านเพื่อเพียงแค่เช็คข้อมูลสินค้าว่า ราคาเท่าไหร่, คุณภาพเป็นอย่างไร หรือ สินค้าชิ้นนั้นยังเหลืออยู่ในคลังสินค้าของร้านหรือเปล่า นั่นก็เพราะว่า ณ ปัจจุบันเราเพียงแค่หยิบ Smart Phone, Laptop หรือ Tablet เราก็สามารถรู้ข้อมูลทุกอย่างได้ผ่านช่องทางไม่ว่าจะเป็น Social Media (Facebook, Line, Instagram), Search Engine อาทิ Google หรือว่าจะเป็น Application ในส่วนของ E-Commerce ต่างๆ เช่น Lazada หรือ Shopee  สต๊อกสินค้า (Stock) คือ สินค้าคงคลัง ดังนั้นการจัดการสต๊อกสินค้า จึงหมายถึง การติดตามและบริหารสินค้าในร้านให้พอดีกับความต้องการของลูกค้าหรือพอดีต่อการขาย โดยสินค้านี้อาจจะเป็นสินค้าขายหน้าร้านหรือวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่มก็ได้ และจุดประสงค์ของการจัดการสต๊อกสินค้าก็คือ - สั่งซื้อสินค้าได้พอดีกับความต้องการของลูกค้า - ลดต้นทุนสินค้าคงคลังเกินจำเป็น - ลดค่าใช้จ่ายในการกักตุนสินค้าและสต๊อกวัตถุดิบ - ตัดปัญหาสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือ Dead Stock - บอกลาปัญหาสินค้าคงคลังมากเกินไป - ป้องกันปัญหาเรื่องสินค้าหมดอายุ - ให้การขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง - รองรับความต้องการของลูกค้า/ตลาด - รู้ว่าเมื่อไหร่ควรสั่งสินค้าเพิ่ม  🔹ทำไมการจัดการสต๊อกสินค้าถึงสำคัญนัก ? อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า การจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสำคัญกับธุรกิจร้านค้าปลีกหรือธุรกิจร้านอาหารเป็นอย่างมาก เพราะคุณจะได้มั่นใจว่าร้านของคุณมีสต๊อกสินค้าเพียงพอต่อการขาย แล้วถ้าคุณเช็คสต๊อกสินค้าได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้ธุรกิจของคุณเสียโอกาสในการขายที่คุณไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ หรือส่งผลให้คุณเสียเงินเปล่าจากการสั่งสินค้ามาไว้ในสต๊อกมากเกินไป ดังนั้นข้อดีของการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงแบ่งเป็น 2 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ :-  1. การจัดการสต๊อกสินค้าช่วยลดค่าใช้จ่ายและประหยัดงบ - ป้องกันสินค้าเน่าเสีย – ถ้าร้านของคุณขายสินค้าที่มีวันหมดอายุอย่าง อาหาร หรือว่า เครื่องสำอาง สินค้าเหล่านี้ก็จะมีโอกาสเน่าเสียหรือหมดอายุหากคุณขายไม่ได้ก่อนถึงกำหนด ดังนั้นการจัดการสต๊อกสินค้าได้ถูกต้องเหมาะสมจึงช่วยป้องกันสินค้าเน่าเสียและช่วยให้คุณสต๊อกวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น - ป้องกันปัญหาสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว – Dead Stock หรือ สินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว คือ สินค้าที่ขายไม่ได้ อาจจะเป็นสินค้าหมดอายุ, สินค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการ, สินค้าที่หมดฤดูกาลไปแล้ว หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ โดยหากร้านมีการสต๊อกสินค้าประเภทนี้มากเกินไปก็จะมีแต่ผลเสีย และการจัดการ Stock สินค้าได้อย่างลงตัว ก็จะป้องกันปัญหานี้ได้ - ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า – แน่นอนว่าการจัดเก็บสินค้าในโกดังนั้นก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องเช่าโกดัง ค่าใช้จ่ายจะผันผวนไปตามจำนวนสินค้าที่จัดเก็บ เมื่อคุณสต๊อกสินค้ามากเกินไปหรือว่าสินค้าประเภทนั้น ๆ ขายไม่ค่อยได้ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าก็จะสูงขึ้น ดังนั้นบริหารจัดการสต๊อกให้ดีไว้ก่อน จะได้ประหยัดเงินในส่วนนี้ได้  2. การจัดการสต๊อกสินค้าช่วยให้กระแสเงินสดดีขึ้น กระแสเงินสด หรือ Cash Flow คือ การนับเงินไหลเข้า-ออกหรือเงินหมุนเวียนในร้าน ถ้าเดือนนี้มีเงินไหลเข้ามากกว่าไหลออก (มีรายได้มากกว่ารายจ่าย) กระแสเงินสดก็จะเป็นบวก แต่ถ้าเดือนนี้เงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า (รายจ่ายมากกว่ารายรับ) กระแสเงินสดก็จะเป็นลบ ถ้ากระแสเงินสดเป็นบวกมาก ๆ เงินสดในร้านก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน ถ้ากระแสเงินสดเป็นลบบ่อย ๆ สุดท้ายเงินสดก็จะขาดมือ และส่งผลให้ธุรกิจหรือร้านก็จะเดินต่อไปไม่ได้ในที่สุด ซึ่งเหตุผลก็คือ  การจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ส่งผลดีในเรื่องของค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กระแสเงินสดดีขึ้นด้วย เพราะสต๊อกก็คือสินค้าที่คุณจ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (โดยอาจจะจ่ายในรูปแบบของเงินสด เช็ค หรือว่าโอนก็ได้) แล้วคุณก็จะขายสินค้าเหล่านั้นเพื่อให้ได้เงินมา แต่เมื่อสินค้าที่ว่านี้ตั้งอยู่ในโกดัง เราจะเรียกเป็นเงินไม่ได้   นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสินค้าคงคลังหรือสต๊อกสินค้าถึงสำคัญกับการจัดการกระแสเงินสดนัก เพราะสต๊อกสินค้าส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายและค่าใช้จ่าย เนื่องจากสินค้าเหล่านี้บอกได้ว่าคุณจะขายได้เท่าไหร่และคุณต้องซื้ออะไร แล้วทั้งสองปัจจัยก็มีผลกระทบต่อเงินที่คุณมีอยู่เป็นอย่างมาก พูดง่าย ๆ ก็คือ การจัดการสต๊อกสินค้า หรือ การจัดการสินค้าคงคลัง ที่ดี จะนำไปสู่การจัดการกระแสเงินสดที่ดี  เมื่อคุณมีระบบการจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี คุณก็จะเช็คสต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำ สามารถคาดการณ์ยอดขายได้ และรู้ว่าเมื่อไหร่ควรสั่งสินค้าเพิ่ม ดังนั้นระบบนี้จะไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้คุณเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณวางแผนซื้อสินค้าเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสินค้าเพียงพอ  “เงินที่คุณใช้จ่ายไปกับสต๊อกสินค้าไม่ได้มีส่วนช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ดังนั้นคุณจึงต้องบริหารจัดการให้ดี”  🔹การจัดการสต๊อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากตรงไหน? การจัดการสต๊อกสินค้าเป็นสิ่งที่คุณสามารถกำหนดได้ ซึ่งก็ถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ แล้วระบบการจัดการของแต่ละร้านค้าหรือบริษัทก็จะแตกต่างกันออกไป  อย่างไรก็ตาม การจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มจากการกำจัดความผิดพลาดในการจัดการสต๊อกสินค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นหมายความว่าการใช้ระบบการจัดการสต๊อกสินค้าหรือว่าโปรแกรมสต๊อกสินค้าเป็นสิ่งที่น่าพิจารณา  แล้วถ้าคุณเป็นลูกค้าสโตร์ฮับหรือว่าใช้งานระบบ POS ของเราอยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่าโชคดีมาก เพราะในระบบของเรามีฟีเจอร์จัดการและนับสต๊อกสินค้ามาให้ในตัวด้วย  และด้วยระบบ POS ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์การจัดการสต๊อกสินค้าอันทรงประสิทธิภาพนี้เอง ที่จะทำให้การบริหารจัดการสินค้าและธุรกิจของคุณง่ายขึ้น ซึ่งเราก็มี 6 เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากเจ้าของร้านเช่นคุณ ดังนี้   🔹6 เทคนิคที่จัดการสต๊อกสินค้าได้แบบอยู่หมัด 1. ตั้งระดับการแจ้งเตือนสต๊อก คุณสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้นได้ด้วย “การตั้งระดับการแจ้งเตือนสต๊อก” ของแต่ละสินค้า โดยระดับแจ้งเตือนที่ว่านี้ก็คือ ปริมาณขั้นต่ำของสินค้าที่คุณเตรียมไว้ให้พร้อมขายตลอดเวลา แล้วเมื่อสินค้าเหลือน้อยกว่าที่ตั้งไว้ ฟีเจอร์นี้ในระบบ POS ของคุณก็จะแจ้งเตือนทันที แล้วคุณก็จะรู้ว่ามีจำนวนสินค้าที่ต้องเติมเท่าไหร่ แถมยังแม่นยำกว่าการคำนวณสต๊อกสินค้าใน Excel หรือวิธีนับแบบจดกระดาษเสียอีก  จริง ๆ แล้วระดับการแจ้งเตือนสต๊อกสินค้าจะแตกต่างกันออกไปตามสินค้าแต่ละรายการและความต้องการของลูกค้า ซึ่งการที่คุณจะต้องระดับการแจ้งเตือนสต๊อกสินค้าได้นั้น ก็ต้องหาข้อมูลและเลือกว่าต้องมีสินค้าเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อการขายในร้าน  อย่าลืมเช็คจำนวนสินค้าขั้นต่ำที่ว่านี้เป็นประจำด้วย เพราะในแต่ละช่วงเวลาอาจจะมีความต้องการของสินค้าแต่ละประเภทไม่เท่ากัน อย่ากลัวที่จะปรับระดับการแจ้งเตือนสินค้าให้เข้ากับสถานการณ์ของร้าน เท่านี้การจัดการสต๊อกสินค้าของคุณก็ง่ายขึ้นแล้ว  2. มาก่อนก็ไปก่อน มาก่อน ก็ไปก่อน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “First-In First-Out (FIFO)” เป็นหลักการสำคัญในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า หมายความว่า ถ้าซื้อสินค้าไหนมาก่อน ก็ต้องขายสินค้านั้นไปก่อน แล้วหลักการนี้ก็สำคัญมากกับสินค้าที่เน่าเปื่อยหรือมีวันหมดอายุ เช่น สต๊อกวัตถุดิบในการทำอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าของชำ และเครื่องสำอาง เป็นต้น  หรือคุณจะใช้หลักการนี้กับการทำสต๊อกสินค้าทั่วไปก็ยังได้ เช่น สินค้าที่นั่งนิ่งอยู่ด้านหลังชั้นวางและไม่มีใครหยิบถึง เพราะแพ็คเกจและดีไซน์ของสินค้าก็มีช่วงที่ได้รับความนิยมกับช่วงที่กระแสตกเช่นกัน และแน่นอนว่าคุณคงไม่อยากให้สินค้าเหล่านั้นกลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ออกหรอกจริงไหม ?  ดังนั้นหากต้องการจัดสต๊อกสินค้าอย่างเหมาะสม คุณต้องมีการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่สอดคล้องกับหลักการ “First-In First-Out (FIFO)” นั่นหมายความว่า คุณต้องจัดวางสินค้าใหม่ไว้ด้านหลัง แล้ววางสินค้าที่สั่งซื้อมาก่อนไว้ด้านหน้า จะได้หยิบจากโกดังไปขายได้คล่องยิ่งขึ้น แล้วเทคนิคนี้ก็ใช้กับการจัดวางสินค้าในร้านได้ด้วยนะ  3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ ซัพพลายเออร์ คือ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้กับคุณ ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการจัดการสต๊อกสินค้าหรือสินค้าคงคลัง แล้วคุณก็ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้เร็วพอ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ, คืนสินค้าที่ขายไม่ค่อยออกเพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับสินค้าใหม่ ๆ, เติมสต๊อกสินค้าขายดี, แก้ไขปัญหาการผลิต หรือว่าเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า คุณล้วนแต่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นกับซัพพลายเออร์ทั้งนั้น เพราะนี่จะทำให้ซัพพลายเออร์ยินดีที่จะทำงานกับคุณ หรือแม้กระทั่งเต็มใจช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา  มากไปกว่านั้น คุณยังสามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้เมื่อต้องสั่งสต๊อกสินค้าในปริมาณน้อย จำไว้ว่า อย่ากลัวที่จะประนีประนอมกับผู้จัดซื้อ คุณจะได้ไม่ต้องสั่งสินค้ามากเกินจำเป็น  การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำตัวเป็นกันเองหรือว่าเข้าถึงง่ายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพูดคุยสื่อสารที่ชัดเจนและมั่นใจด้วย บอกให้พวกเขารู้ถึงความคาดหวังของคุณ เช่น คุณต้องการเพิ่มยอดขายในเดือนนั้น ๆ ซัพพลายเออร์จะได้เตรียมสต๊อกสินค้าได้ตรงตามที่คุณต้องการ หรือถ้าผลิตไม่ทันจริง ๆ คุณก็จะได้วางแผนโปรโมชั่นหรือหาสินค้าอื่นมาขายไปพลาง ๆ ยังไง  4. วางแผนล่วงหน้า มีหลายเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดในการจัดการสต๊อกสินค้า ซึ่งปัญหาที่ว่านี้ก็อาจจะเป็น - ขายดีจนสินค้าขาดสต๊อก - ไม่มีกระแสเงินสดหรือเงินหมุนเวียนเมื่อคุณจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ต้องการ - พื้นที่ในโกดังไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บสินค้าขายดีในช่วงเวลานั้น ๆ - คำนวณและนับสต๊อกสินค้าผิด ซึ่งทำให้มีสินค้าไม่พอต่อการขายหรือมีสินค้าบางรายการเยอะเกินไป - มีสินค้าที่ขายไม่ค่อยดีเยอะเกินไป ทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการจัดเก็บสินค้าอื่น ๆ - ซัพพลายเออร์ไม่มีสินค้าและร้านคุณก็ต้องการสินค้านั้น - ซัพพลายเออร์เลิกผลิตสินค้าโดยไม่บอกล่วงหน้า ที่จริงแล้วมันไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรอก แต่ช่วงเวลาที่ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นต่างหากที่ส่งผลเสียต่อคุณ ลองหาข้อมูลหรือคำนวณดูว่าร้านคุณมีความเสี่ยงตรงไหนบ้าง แล้วก็วางแผนเตรียมรับมือไว้ได้เลย เช่น ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นจะรับมือยังไง ต้องใช้อะไรในการแก้ปัญหาบ้าง และปัญหาที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่ออะไรบ้าง เป็นต้น แล้วคุณจะเห็นด้วยว่าการวางแผนล่วงหน้าช่วยให้การจัดการสต๊อกสินค้าของคุณจะราบรื่นยิ่งขึ้น และการบริหารสินค้าคงคลังก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม  5. คาดการณ์ความต้องการให้แม่นยำ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดการสต๊อกสินค้าก็คือ การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพราะแน่นอนว่าคุณไม่อยากมีสต๊อกสินค้ามากเกินไป หรือว่ามีสินค้าไม่เพียงพอต่อการขายแน่นอน และการคาดการณ์นี้ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้การจัดการสต๊อกสินค้าไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ อีกอย่างคุณก็ไม่สามารถคำนวณทุกอย่างและนับสต๊อกสินค้าได้เป๊ะ ๆ แต่ทำได้แค่คำนวณให้ใกล้เคียงที่สุดก็เท่านั้น - เทรนด์การตลาด - เปรียบเทียบยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว - อัตราการเติบโตในแต่ละปี - ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วง - เศรษฐกิจ - โปรโมชั่น - ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาและการตลาด - ปัจจัยทางด้านการเมือง - กระแสสังคม - เทรนด์เทคโนโลยี ซึ่งต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาเมื่อต้องการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าให้แม่นยำยิ่งขึ้น  6. ควบคุมคุณภาพ แม้ว่าจะมีฟีเจอร์นับสต๊อกสินค้าในระบบ POS เป็นตัวช่วยในการติดตามจำนวนสินค้าคงคลัง แต่คุณควรตรวจสอบคุณภาพของสินค้าในสต๊อกเป็นประจำ โดยให้พนักงานเช็คเพื่อดูว่ามีสินค้าไหนเสียหายหรือเปล่า  แล้วก็อย่าลืมเช็คอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของคุณอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนขายให้กับลูกค้า เช่น มีฉลากกำกับและกล่องไม่ขาดหรือบุบ เป็นต้น จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ ในการควบคุมและติดตามสต๊อกสินค้า  คราวนี้เมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้า ก็จะไม่มีปัญหาคืนเงินหรือคืนสินค้า แล้วยังทำให้ลูกค้าของคุณประทับใจในสินค้าอีกด้วย อย่าลืมว่าเมื่อมีสต๊อกสินค้าพร้อมขายแล้ว คุณภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่งด้วย  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

สต๊อกสินค้าคืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงต้องรู้❓


ในสมัยก่อน การเริ่มต้นธุรกิจนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมากๆ นั่นก็เพราะว่าในสมัยก่อนเรื่องของช่องทางการสื่อสาร, การขนส่ง หรือ แม้กระทั่งการเข้าถึงลูกค้านั้นไม่ได้ก้าวหน้าหรือล้ำยุคล้ำเทียบเท่าสมัยนี้ ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนถ้าหากเราอยากจะซื้อของอะไรสักอย่าง เราจำเป็นต้องเดินทางไปถึงหน้าร้าน เพื่อดูว่าร้านค้าเหล่านั้นได้มีการทำสต๊อกสินค้าที่เราต้องการรึเปล่า แต่ในทางกลับกัน ณ ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเพื่อเดินทางไปถึงหน้าร้านเพื่อเพียงแค่เช็คข้อมูลสินค้าว่า ราคาเท่าไหร่, คุณภาพเป็นอย่างไร หรือ สินค้าชิ้นนั้นยังเหลืออยู่ในคลังสินค้าของร้านหรือเปล่า นั่นก็เพราะว่า ณ ปัจจุบันเราเพียงแค่หยิบ Smart Phone, Laptop หรือ Tablet เราก็สามารถรู้ข้อมูลทุกอย่างได้ผ่านช่องทางไม่ว่าจะเป็น Social Media (Facebook, Line, Instagram), Search Engine อาทิ Google หรือว่าจะเป็น Application ในส่วนของ E-Commerce ต่างๆ เช่น Lazada หรือ Shopee


สต๊อกสินค้า (Stock) คือ สินค้าคงคลัง ดังนั้นการจัดการสต๊อกสินค้า จึงหมายถึง การติดตามและบริหารสินค้าในร้านให้พอดีกับความต้องการของลูกค้าหรือพอดีต่อการขาย โดยสินค้านี้อาจจะเป็นสินค้าขายหน้าร้านหรือวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่มก็ได้ และจุดประสงค์ของการจัดการสต๊อกสินค้าก็คือ

- สั่งซื้อสินค้าได้พอดีกับความต้องการของลูกค้า

- ลดต้นทุนสินค้าคงคลังเกินจำเป็น

- ลดค่าใช้จ่ายในการกักตุนสินค้าและสต๊อกวัตถุดิบ

- ตัดปัญหาสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือ Dead Stock

- บอกลาปัญหาสินค้าคงคลังมากเกินไป

- ป้องกันปัญหาเรื่องสินค้าหมดอายุ

- ให้การขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

- รองรับความต้องการของลูกค้า/ตลาด

- รู้ว่าเมื่อไหร่ควรสั่งสินค้าเพิ่ม


🔹ทำไมการจัดการสต๊อกสินค้าถึงสำคัญนัก ?

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า การจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสำคัญกับธุรกิจร้านค้าปลีกหรือธุรกิจร้านอาหารเป็นอย่างมาก เพราะคุณจะได้มั่นใจว่าร้านของคุณมีสต๊อกสินค้าเพียงพอต่อการขาย แล้วถ้าคุณเช็คสต๊อกสินค้าได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้ธุรกิจของคุณเสียโอกาสในการขายที่คุณไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ หรือส่งผลให้คุณเสียเงินเปล่าจากการสั่งสินค้ามาไว้ในสต๊อกมากเกินไป ดังนั้นข้อดีของการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงแบ่งเป็น 2 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ :-


1. การจัดการสต๊อกสินค้าช่วยลดค่าใช้จ่ายและประหยัดงบ

- ป้องกันสินค้าเน่าเสีย – ถ้าร้านของคุณขายสินค้าที่มีวันหมดอายุอย่าง อาหาร หรือว่า เครื่องสำอาง สินค้าเหล่านี้ก็จะมีโอกาสเน่าเสียหรือหมดอายุหากคุณขายไม่ได้ก่อนถึงกำหนด ดังนั้นการจัดการสต๊อกสินค้าได้ถูกต้องเหมาะสมจึงช่วยป้องกันสินค้าเน่าเสียและช่วยให้คุณสต๊อกวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

- ป้องกันปัญหาสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว – Dead Stock หรือ สินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว คือ สินค้าที่ขายไม่ได้ อาจจะเป็นสินค้าหมดอายุ, สินค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการ, สินค้าที่หมดฤดูกาลไปแล้ว หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ โดยหากร้านมีการสต๊อกสินค้าประเภทนี้มากเกินไปก็จะมีแต่ผลเสีย และการจัดการ Stock สินค้าได้อย่างลงตัว ก็จะป้องกันปัญหานี้ได้

- ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า – แน่นอนว่าการจัดเก็บสินค้าในโกดังนั้นก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องเช่าโกดัง ค่าใช้จ่ายจะผันผวนไปตามจำนวนสินค้าที่จัดเก็บ เมื่อคุณสต๊อกสินค้ามากเกินไปหรือว่าสินค้าประเภทนั้น ๆ ขายไม่ค่อยได้ ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าก็จะสูงขึ้น ดังนั้นบริหารจัดการสต๊อกให้ดีไว้ก่อน จะได้ประหยัดเงินในส่วนนี้ได้


2. การจัดการสต๊อกสินค้าช่วยให้กระแสเงินสดดีขึ้น

กระแสเงินสด หรือ Cash Flow คือ การนับเงินไหลเข้า-ออกหรือเงินหมุนเวียนในร้าน ถ้าเดือนนี้มีเงินไหลเข้ามากกว่าไหลออก (มีรายได้มากกว่ารายจ่าย) กระแสเงินสดก็จะเป็นบวก แต่ถ้าเดือนนี้เงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า (รายจ่ายมากกว่ารายรับ) กระแสเงินสดก็จะเป็นลบ ถ้ากระแสเงินสดเป็นบวกมาก ๆ เงินสดในร้านก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน ถ้ากระแสเงินสดเป็นลบบ่อย ๆ สุดท้ายเงินสดก็จะขาดมือ และส่งผลให้ธุรกิจหรือร้านก็จะเดินต่อไปไม่ได้ในที่สุด ซึ่งเหตุผลก็คือ


การจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ส่งผลดีในเรื่องของค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กระแสเงินสดดีขึ้นด้วย เพราะสต๊อกก็คือสินค้าที่คุณจ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (โดยอาจจะจ่ายในรูปแบบของเงินสด เช็ค หรือว่าโอนก็ได้) แล้วคุณก็จะขายสินค้าเหล่านั้นเพื่อให้ได้เงินมา แต่เมื่อสินค้าที่ว่านี้ตั้งอยู่ในโกดัง เราจะเรียกเป็นเงินไม่ได้


นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสินค้าคงคลังหรือสต๊อกสินค้าถึงสำคัญกับการจัดการกระแสเงินสดนัก เพราะสต๊อกสินค้าส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายและค่าใช้จ่าย เนื่องจากสินค้าเหล่านี้บอกได้ว่าคุณจะขายได้เท่าไหร่และคุณต้องซื้ออะไร แล้วทั้งสองปัจจัยก็มีผลกระทบต่อเงินที่คุณมีอยู่เป็นอย่างมาก พูดง่าย ๆ ก็คือ การจัดการสต๊อกสินค้า หรือ การจัดการสินค้าคงคลัง ที่ดี จะนำไปสู่การจัดการกระแสเงินสดที่ดี


เมื่อคุณมีระบบการจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี คุณก็จะเช็คสต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำ สามารถคาดการณ์ยอดขายได้ และรู้ว่าเมื่อไหร่ควรสั่งสินค้าเพิ่ม ดังนั้นระบบนี้จะไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้คุณเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณวางแผนซื้อสินค้าเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสินค้าเพียงพอ


“เงินที่คุณใช้จ่ายไปกับสต๊อกสินค้าไม่ได้มีส่วนช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ดังนั้นคุณจึงต้องบริหารจัดการให้ดี”


🔹การจัดการสต๊อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากตรงไหน?

การจัดการสต๊อกสินค้าเป็นสิ่งที่คุณสามารถกำหนดได้ ซึ่งก็ถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ แล้วระบบการจัดการของแต่ละร้านค้าหรือบริษัทก็จะแตกต่างกันออกไป


อย่างไรก็ตาม การจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มจากการกำจัดความผิดพลาดในการจัดการสต๊อกสินค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นหมายความว่าการใช้ระบบการจัดการสต๊อกสินค้าหรือว่าโปรแกรมสต๊อกสินค้าเป็นสิ่งที่น่าพิจารณา


แล้วถ้าคุณเป็นลูกค้าสโตร์ฮับหรือว่าใช้งานระบบ POS ของเราอยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่าโชคดีมาก เพราะในระบบของเรามีฟีเจอร์จัดการและนับสต๊อกสินค้ามาให้ในตัวด้วย


และด้วยระบบ POS ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์การจัดการสต๊อกสินค้าอันทรงประสิทธิภาพนี้เอง ที่จะทำให้การบริหารจัดการสินค้าและธุรกิจของคุณง่ายขึ้น ซึ่งเราก็มี 6 เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากเจ้าของร้านเช่นคุณ ดังนี้


🔹6 เทคนิคที่จัดการสต๊อกสินค้าได้แบบอยู่หมัด

1. ตั้งระดับการแจ้งเตือนสต๊อก

คุณสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้นได้ด้วย “การตั้งระดับการแจ้งเตือนสต๊อก” ของแต่ละสินค้า โดยระดับแจ้งเตือนที่ว่านี้ก็คือ ปริมาณขั้นต่ำของสินค้าที่คุณเตรียมไว้ให้พร้อมขายตลอดเวลา แล้วเมื่อสินค้าเหลือน้อยกว่าที่ตั้งไว้ ฟีเจอร์นี้ในระบบ POS ของคุณก็จะแจ้งเตือนทันที แล้วคุณก็จะรู้ว่ามีจำนวนสินค้าที่ต้องเติมเท่าไหร่ แถมยังแม่นยำกว่าการคำนวณสต๊อกสินค้าใน Excel หรือวิธีนับแบบจดกระดาษเสียอีก


จริง ๆ แล้วระดับการแจ้งเตือนสต๊อกสินค้าจะแตกต่างกันออกไปตามสินค้าแต่ละรายการและความต้องการของลูกค้า ซึ่งการที่คุณจะต้องระดับการแจ้งเตือนสต๊อกสินค้าได้นั้น ก็ต้องหาข้อมูลและเลือกว่าต้องมีสินค้าเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อการขายในร้าน


อย่าลืมเช็คจำนวนสินค้าขั้นต่ำที่ว่านี้เป็นประจำด้วย เพราะในแต่ละช่วงเวลาอาจจะมีความต้องการของสินค้าแต่ละประเภทไม่เท่ากัน อย่ากลัวที่จะปรับระดับการแจ้งเตือนสินค้าให้เข้ากับสถานการณ์ของร้าน เท่านี้การจัดการสต๊อกสินค้าของคุณก็ง่ายขึ้นแล้ว


2. มาก่อนก็ไปก่อน

มาก่อน ก็ไปก่อน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “First-In First-Out (FIFO)” เป็นหลักการสำคัญในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า หมายความว่า ถ้าซื้อสินค้าไหนมาก่อน ก็ต้องขายสินค้านั้นไปก่อน แล้วหลักการนี้ก็สำคัญมากกับสินค้าที่เน่าเปื่อยหรือมีวันหมดอายุ เช่น สต๊อกวัตถุดิบในการทำอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าของชำ และเครื่องสำอาง เป็นต้น


หรือคุณจะใช้หลักการนี้กับการทำสต๊อกสินค้าทั่วไปก็ยังได้ เช่น สินค้าที่นั่งนิ่งอยู่ด้านหลังชั้นวางและไม่มีใครหยิบถึง เพราะแพ็คเกจและดีไซน์ของสินค้าก็มีช่วงที่ได้รับความนิยมกับช่วงที่กระแสตกเช่นกัน และแน่นอนว่าคุณคงไม่อยากให้สินค้าเหล่านั้นกลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ออกหรอกจริงไหม ?


ดังนั้นหากต้องการจัดสต๊อกสินค้าอย่างเหมาะสม คุณต้องมีการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่สอดคล้องกับหลักการ “First-In First-Out (FIFO)” นั่นหมายความว่า คุณต้องจัดวางสินค้าใหม่ไว้ด้านหลัง แล้ววางสินค้าที่สั่งซื้อมาก่อนไว้ด้านหน้า จะได้หยิบจากโกดังไปขายได้คล่องยิ่งขึ้น แล้วเทคนิคนี้ก็ใช้กับการจัดวางสินค้าในร้านได้ด้วยนะ


3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์

ซัพพลายเออร์ คือ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้กับคุณ ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการจัดการสต๊อกสินค้าหรือสินค้าคงคลัง แล้วคุณก็ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้เร็วพอ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คสต๊อกอย่างสม่ำเสมอ, คืนสินค้าที่ขายไม่ค่อยออกเพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับสินค้าใหม่ ๆ, เติมสต๊อกสินค้าขายดี, แก้ไขปัญหาการผลิต หรือว่าเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า คุณล้วนแต่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นกับซัพพลายเออร์ทั้งนั้น เพราะนี่จะทำให้ซัพพลายเออร์ยินดีที่จะทำงานกับคุณ หรือแม้กระทั่งเต็มใจช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา


มากไปกว่านั้น คุณยังสามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้เมื่อต้องสั่งสต๊อกสินค้าในปริมาณน้อย จำไว้ว่า อย่ากลัวที่จะประนีประนอมกับผู้จัดซื้อ คุณจะได้ไม่ต้องสั่งสินค้ามากเกินจำเป็น


การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำตัวเป็นกันเองหรือว่าเข้าถึงง่ายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพูดคุยสื่อสารที่ชัดเจนและมั่นใจด้วย บอกให้พวกเขารู้ถึงความคาดหวังของคุณ เช่น คุณต้องการเพิ่มยอดขายในเดือนนั้น ๆ ซัพพลายเออร์จะได้เตรียมสต๊อกสินค้าได้ตรงตามที่คุณต้องการ หรือถ้าผลิตไม่ทันจริง ๆ คุณก็จะได้วางแผนโปรโมชั่นหรือหาสินค้าอื่นมาขายไปพลาง ๆ ยังไง


4. วางแผนล่วงหน้า

มีหลายเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดในการจัดการสต๊อกสินค้า ซึ่งปัญหาที่ว่านี้ก็อาจจะเป็น

- ขายดีจนสินค้าขาดสต๊อก

- ไม่มีกระแสเงินสดหรือเงินหมุนเวียนเมื่อคุณจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ต้องการ

- พื้นที่ในโกดังไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บสินค้าขายดีในช่วงเวลานั้น ๆ

- คำนวณและนับสต๊อกสินค้าผิด ซึ่งทำให้มีสินค้าไม่พอต่อการขายหรือมีสินค้าบางรายการเยอะเกินไป

- มีสินค้าที่ขายไม่ค่อยดีเยอะเกินไป ทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการจัดเก็บสินค้าอื่น ๆ

- ซัพพลายเออร์ไม่มีสินค้าและร้านคุณก็ต้องการสินค้านั้น

- ซัพพลายเออร์เลิกผลิตสินค้าโดยไม่บอกล่วงหน้า

ที่จริงแล้วมันไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรอก แต่ช่วงเวลาที่ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นต่างหากที่ส่งผลเสียต่อคุณ ลองหาข้อมูลหรือคำนวณดูว่าร้านคุณมีความเสี่ยงตรงไหนบ้าง แล้วก็วางแผนเตรียมรับมือไว้ได้เลย เช่น ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นจะรับมือยังไง ต้องใช้อะไรในการแก้ปัญหาบ้าง และปัญหาที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่ออะไรบ้าง เป็นต้น แล้วคุณจะเห็นด้วยว่าการวางแผนล่วงหน้าช่วยให้การจัดการสต๊อกสินค้าของคุณจะราบรื่นยิ่งขึ้น และการบริหารสินค้าคงคลังก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม


5. คาดการณ์ความต้องการให้แม่นยำ

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดการสต๊อกสินค้าก็คือ การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพราะแน่นอนว่าคุณไม่อยากมีสต๊อกสินค้ามากเกินไป หรือว่ามีสินค้าไม่เพียงพอต่อการขายแน่นอน และการคาดการณ์นี้ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้การจัดการสต๊อกสินค้าไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ อีกอย่างคุณก็ไม่สามารถคำนวณทุกอย่างและนับสต๊อกสินค้าได้เป๊ะ ๆ แต่ทำได้แค่คำนวณให้ใกล้เคียงที่สุดก็เท่านั้น

- เทรนด์การตลาด

- เปรียบเทียบยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

- อัตราการเติบโตในแต่ละปี

- ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วง

- เศรษฐกิจ

- โปรโมชั่น

- ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาและการตลาด

- ปัจจัยทางด้านการเมือง

- กระแสสังคม

- เทรนด์เทคโนโลยี

ซึ่งต่อไปนี้ก็คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาเมื่อต้องการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าให้แม่นยำยิ่งขึ้น


6. ควบคุมคุณภาพ

แม้ว่าจะมีฟีเจอร์นับสต๊อกสินค้าในระบบ POS เป็นตัวช่วยในการติดตามจำนวนสินค้าคงคลัง แต่คุณควรตรวจสอบคุณภาพของสินค้าในสต๊อกเป็นประจำ โดยให้พนักงานเช็คเพื่อดูว่ามีสินค้าไหนเสียหายหรือเปล่า


แล้วก็อย่าลืมเช็คอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของคุณอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนขายให้กับลูกค้า เช่น มีฉลากกำกับและกล่องไม่ขาดหรือบุบ เป็นต้น จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ ในการควบคุมและติดตามสต๊อกสินค้า


คราวนี้เมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้า ก็จะไม่มีปัญหาคืนเงินหรือคืนสินค้า แล้วยังทำให้ลูกค้าของคุณประทับใจในสินค้าอีกด้วย อย่าลืมว่าเมื่อมีสต๊อกสินค้าพร้อมขายแล้ว คุณภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่งด้วย


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

ดู 282 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page