top of page

รูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” และ “นิติบุคคล” ต่างกันอย่างไร


  รูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” และ “นิติบุคคล” ต่างกันอย่างไร  ก่อนจะตัดสินใจทำธุรกิจต่าง ๆ จะต้องมีการศึกษาในเรื่อง รูปแบบธุรกิจ กันก่อน เพราะจะทำให้เห็นว่า ธุรกิจของเราเหมาะกับรูปแบบธุรกิจแบบใด เพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำธุกิจนั้น ๆ   📌รูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” - เหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็ก ที่มีเจ้าของเพียงคนดียว หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (มีหุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป) ที่มิใช่นิติบุคคล อีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทนั่นเอง  - การเสียภาษีจะอยู่ในรูปแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีแบบแสดงรายการภาษี 3 รูปแบบ ได้แก่  1. ภ.ง.ด.90 2. ภ.ง.ด.91 3. ภ.ง.ด.94  - ความได้เปรียบจะอยู่ในรูปของ การตัดสินใจ ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัว รวมถึงการจัดทำบัญชีด้วยตนเองได้  - ความเสียเปรียบจะอยู่ในรูปแบบของ การไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน ทำให้โอกาสในการได้สินเชื่อน้อยลง และเจ้าของธุรกิจ ต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว หรือก็คือ ความเสี่ยงในการล้มละลาย จะเพิ่มขึ้น   📌รูปแบบธุรกิจ “นิติบุคคล” - ประกอบไปด้วย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน จำกัด และบริษัท จำกัด ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนบริษัทก่อน  - การเสียภาษีจะอยู่ในรูปแบบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีแบบแสดงรายการภาษี 4 รูปแบบ ได้แก่  1. ภ.ง.ด.50 2. ภ.ง.ด.51 3. ภ.ง.ด.52 4. ภ.ง.ด.55  - ความได้เปรียบจะอยู่ในรูปแบบของ ความน่าเชื่อในการขยายธุกิจ ซึ่งจะได้รับจากสถาบันการเงิน ในการขอสินเชื่อ และความเสี่ยงในการล้มละลายน้อยลง เพราะ ภาระหนี้สินมีหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบร่วมด้วย   - ความเสียเปรียบจะอยู่ในรูปแบบของ การที่ต้องรออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ผ่านมติการประชุม ซึ่งอาจมีความล่าช้า ในเรื่องการจัดทำบัญชี มีความจำเป็นต้องจ้างนักบัญชี เพื่อตรวจสอบและรับรองบีญชี เพื่อยื่นต่อสรรพากร   📌การเสียภาษี บุคคลธรรมดา เสียภาษีในรูปแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% - มีวิธีการคำนวณภาษี 2 วิธี ดังนี้  วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ  เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ  โดยเงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก  เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน - เงินบริจาค  วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน  เงินได้พึงประเมิน x 0.005 = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน  ข้อยกเว้น หากคำนวณด้วยวิธีที่ 2 (ภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ) แล้วจำนวนเงินได้พึงประเมิน มีจำนวนไม่เกิน 5000 บาท ให้ชำระภาษีตามวิธีที่ 1 (ภาษีจากเงินได้สุทธิ)   นิติบุคคล เสียภาษีในรูปแบบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล  - อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20% - กรณีขาดทุน ไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถนำผลขาดทุนไปหักกำไรปีต่อไปได้สูงสุดถึง 5 ปี  ทั้งนี้การชำระภาษีของทั้ง 2 รูปแบบธุรกิจ สามารถยื่นชำระภาษีได้ด้วยวิธีการยื่นด้วยตัวเองที่ สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้เคียง หรือยื่นแบบออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์สรรพากร ( https://www.rd.go.th/272.html ) หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จาก คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบ ( https://www.rd.go.th/62063.html ) ในเว็บไซต์สรรพากร   ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >> https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

รูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” และ “นิติบุคคล” ต่างกันอย่างไร


ก่อนจะตัดสินใจทำธุรกิจต่าง ๆ จะต้องมีการศึกษาในเรื่อง รูปแบบธุรกิจ กันก่อน เพราะจะทำให้เห็นว่า ธุรกิจของเราเหมาะกับรูปแบบธุรกิจแบบใด เพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำธุกิจนั้น ๆ


📌รูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา”

- เหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็ก ที่มีเจ้าของเพียงคนดียว หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (มีหุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป) ที่มิใช่นิติบุคคล อีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทนั่นเอง


- การเสียภาษีจะอยู่ในรูปแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีแบบแสดงรายการภาษี 3 รูปแบบ ได้แก่

1. ภ.ง.ด.90

2. ภ.ง.ด.91

3. ภ.ง.ด.94


- ความได้เปรียบจะอยู่ในรูปของ การตัดสินใจ ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัว รวมถึงการจัดทำบัญชีด้วยตนเองได้


- ความเสียเปรียบจะอยู่ในรูปแบบของ การไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน ทำให้โอกาสในการได้สินเชื่อน้อยลง และเจ้าของธุรกิจ ต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว หรือก็คือ ความเสี่ยงในการล้มละลาย จะเพิ่มขึ้น


📌รูปแบบธุรกิจ “นิติบุคคล”

- ประกอบไปด้วย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน จำกัด และบริษัท จำกัด ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนบริษัทก่อน


- การเสียภาษีจะอยู่ในรูปแบบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีแบบแสดงรายการภาษี 4 รูปแบบ ได้แก่

1. ภ.ง.ด.50

2. ภ.ง.ด.51

3. ภ.ง.ด.52

4. ภ.ง.ด.55


- ความได้เปรียบจะอยู่ในรูปแบบของ ความน่าเชื่อในการขยายธุกิจ ซึ่งจะได้รับจากสถาบันการเงิน ในการขอสินเชื่อ และความเสี่ยงในการล้มละลายน้อยลง เพราะ ภาระหนี้สินมีหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบร่วมด้วย


- ความเสียเปรียบจะอยู่ในรูปแบบของ การที่ต้องรออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ผ่านมติการประชุม ซึ่งอาจมีความล่าช้า ในเรื่องการจัดทำบัญชี มีความจำเป็นต้องจ้างนักบัญชี เพื่อตรวจสอบและรับรองบีญชี เพื่อยื่นต่อสรรพากร


📌การเสียภาษี

บุคคลธรรมดา เสียภาษีในรูปแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

- อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35%

- มีวิธีการคำนวณภาษี 2 วิธี ดังนี้


วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

โดยเงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน - เงินบริจาค


วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน

เงินได้พึงประเมิน x 0.005 = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน


ข้อยกเว้น หากคำนวณด้วยวิธีที่ 2 (ภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ) แล้วจำนวนเงินได้พึงประเมิน มีจำนวนไม่เกิน 5000 บาท ให้ชำระภาษีตามวิธีที่ 1 (ภาษีจากเงินได้สุทธิ)


นิติบุคคล เสียภาษีในรูปแบบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล

- อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20%

- กรณีขาดทุน ไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถนำผลขาดทุนไปหักกำไรปีต่อไปได้สูงสุดถึง 5 ปี


ทั้งนี้การชำระภาษีของทั้ง 2 รูปแบบธุรกิจ สามารถยื่นชำระภาษีได้ด้วยวิธีการยื่นด้วยตัวเองที่ สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้เคียง หรือยื่นแบบออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์สรรพากร ( https://www.rd.go.th/272.html ) หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จาก คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบ ( https://www.rd.go.th/62063.html ) ในเว็บไซต์สรรพากร


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 34 ครั้ง

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page