ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร❓ใครต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม❓
ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร❓ใครต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม❓
👉🏻ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายหรือการให้บริการและสินค้านำเข้า โดยกรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บภาษีนี้ ซึ่งอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 10% แต่มีการออกกฎหมายพิเศษลดลงมาเหลือ 7% และใช้วิธีต่ออายุแบบรายปี
👉🏻ใครต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
กฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบบริษัทหรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบบริษัท ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาท การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือสิ่งที่ไม่ควรลืม
– VATเก็บจากใคร? ใครจ่าย?
VATเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค “ผู้บริโภคเป็นคนจ่ายภาษี” คนขายหรือผู้ให้บริการไม่ต้องจ่าย VAT นี้
– แล้วใครถือเป็นผู้บริโภค?
เพื่อเข้าใจง่ายๆ ผู้บริโภคก็คือคนที่ไม่ได้จด VAT นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป พนักงานบริษัท และรวมไปถึงบริษัทห้างร้านที่ไม่ได้จด VAT ด้วย
– ใครเป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการ?
ผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ไม่ต้องเสีย VAT นี้ คือผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่จด VAT แล้วนั่นเอง ซึ่งเป็นได้ทั้งรูปแบบบุคคลธรรมดา เช่น ร้านค้าข้างทางหรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ไม่ได้เปิดบริษัท แต่ว่ายอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องจด VAT
👉🏻ใครบ้างที่ได้รับ ‘ยกเว้น’ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
- การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
* ถึงจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่เจ้าของร้านก็มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
👉🏻ใครบ้างที่ ‘ไม่ต้อง’ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
- ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
- ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
- ผู้ประกอบการที่ได้รับการประกาศจากกรมสรรพากร
👉🏻ภาษีมูลค่าเพิ่มใครเก็บ
ในข้อที่แล้วก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่า VAT จะถูกเก็บจากผู้บริโภค และคนที่มีหน้าที่เก็บVATก็คือ ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่จด VAT แล้วนั้นเอง
👉🏻ภาษีขาย คือ
ภาษีขาย คือ VAT ที่เก็บจากลูกค้า และกิจการ ต้องนำส่งให้กรมสรรพากร โดยกิจการจะเรียกเก็บ VAT รวมกับค่าสินค้าหรือบริการ (ราคารวมภาษี) หรือจะแยกเก็บภาษี (ราคาแยกภาษี) ก็ได้
ราคารวมภาษี มักจะนิยมใช้กันในธุรกิจแบบ B2C หรือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้บุคคลทั่วไป เพราะบุคคลทั่วไป มักมองค่าสินค้าและบริการ รวมกันเป็นค่าใช้จ่ายของเขาทั้งหมด ส่วน ราคาแยกภาษี มักนิยมใช้กันในธุรกิจแบบ B2B หรือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้ภาคธุรกิจด้วยกัน เพราะลูกค้าในภาคธุรกิจจะมองต่างจากบุคคลทั่วไป คือไม่ได้มอง VAT เป็นค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนที่รวมในสินค้า/บริการ เพราะในภาคธุรกิจลูกค้ามักจด VAT และสามารถขอ VAT ซื้อคืนได้
หลายคนอาจเข้าใจผิด ว่า VAT คือเงินของกิจการเรา แต่แท้จริงแล้ว VAT ที่กิจการเรียกเก็บจากลูกค้า “ไม่ใช่” เงินของกิจการ และ “ไม่ใช่” รายได้ของกิจการเลยครับ แต่เป็นเงินของรัฐบาลที่ฝากกิจการเก็บให้ ดังนั้นใจเย็นๆ อย่าดราม่า คิดว่าจะต้องเสียภาษีให้รัฐทุกเดือน เพราะ VAT ไม่ใช่เงินเรานะ
👉🏻ภาษีซื้อ คือ
ภาษีซื้อ คือ VAT ที่ผู้ขายสินค้า/บริการเก็บจากเรา (กิจการผู้ซื้อ) และสามารถนำไปขอคืน หรือนำไปหัก กับภาษีขายได้
👉🏻ภ.พ. 30 คือ?
ภ.พ. 30 คือ แบบแสดงรายการสรุปสำหรับภาษีซื้อและภาษีขาย เพื่อนำข้อมูลส่วนนี้ส่งไปยังกรมสรรพากรโดยต้องนำส่งทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือจะยื่นผ่านออนไลน์ก็ได้เช่นกัน ซึ่งการยื่นแบบ ภ.พ. 30 นี้ จะเป็นการรวบรวมกิจกรรมการซื้อขายทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในเดือนแต่ละเดือน ซึ่งถ้าหากไม่มียอดซื้อขายเลย ก็สามารถนำส่งแบบเปล่าได้
👉🏻การยื่น ภ.พ. 30 ต้องเตรียมอะไรบ้าง
การเตรียมตัวและเตรียมเอกสารสำหรับยื่น ภ.พ. 30 นั้น ต้องมีการจัดเก็บเอกสารใบกำกับภาษีซื้อตัวจริง และสำเนาใบกำกับภาษีขายในแต่ละเดือน เพื่อนำมาทำเป็นรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย แล้วการนำส่งสรรพากรนั้นจะต้องทำเอกสาร 2 ชิ้นด้วยกัน นั่นคือ ภ.พ. 30 และใบแนบ ภ.พ. 30 ซึ่งคือรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายในรอบเดือนนั้นๆ
👉🏻ต้องยื่น VAT ภายในเมื่อไร
กิจการที่จด VAT ต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่น ถ้ามีรายการซื้อขายสินค้า/บริการที่มี VAT เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน กิจการจะต้องยื่นแบบภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนกรกฎาคม และหากวันที่ 15 ของเดือนกรกฎาคมตรงกับวันหยุด ก็ยื่นแบบภาษีได้จนถึงวันทำการถัดไปครับ และหากกิจการไหนที่จดทะเบียนยื่นแบบภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ก็จะมีกำหนดเวลาในการยื่นภาษีมากกว่าปกติ เพิ่มอีก 8 วันด้วย
👉🏻ต้องจ่าย VAT เท่าไร
– ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้กับสรรพากร คือ “ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ” หรือก็คือจำนวนที่เราต้องนำส่ง (ภาษีขาย) หักด้วยจำนวนที่เราต้องขอคืนจากสรรพากร (ภาษีซื้อ)
– ถ้า ภาษีขาย > ภาษีซื้อ ให้คุณนำส่งภาษีให้สรรพากร เท่าส่วนต่างระหว่างภาษีขาย กับภาษีซื้อ
– แต่ถ้า ภาษีซื้อ > ภาษีขาย คุณสามารถขอคืนส่วนต่างระหว่างภาษีขาย กับภาษีซื้อได้ (ขอคืน) หรือจะนำภาษีที่สามารถขอคืนนี้ไปใช้ได้ในเดือนถัดไปก็ได้ (ไม่ขอคืน)
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments