เริ่มต้นจดทะเบียนโดเมนกับผู้ให้บริการจดโดเมนที่ไหนดี ❓
เริ่มต้นจดทะเบียนโดเมนกับผู้ให้บริการจดโดเมนที่ไหนดี ❓
สร้างเว็บไซต์ของตนเองทั้งที จะมานั่งแก้ปัญหากับการจดโดเมนทำไม เลือกผู้ให้บริการจดโดเมนให้ดีแล้วความกังวลในการจดโดเมนจะหมดไป เพราะเราสามารถปรึกษากับผู้ให้บริการจดโดเมนได้ว่าชื่อแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด
ดังนั้นการตั้งชื่อโดเมนสำหรับธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับการเลือกส่วนขยายโดเมน อาทิ .com, .net, .shop, .co.th เป็นต้น แม้ว่าส่วนใหญ่จะใช้ .com ก็ตามแต่อย่าลืมว่าการใช้ส่วนขยายอื่น ๆ ก็เป็นตัวสร้างการจดจำที่ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ให้ซ้ำกับธุรกิจอื่น ๆ
🔹แนะนำประเภทโดเมนเนม
มาทำความรู้จักเกี่ยวกับ "โดเมนเนม หรือ ชื่อ โดเมน ซึ่งก็คือ “ชื่อเว็บไซต์” ซึ่งมีการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์เราไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่บนอินเทอร์เน็ตชื่อโดเมนนี้จะมีการกำหนด DNS (Domain Name Server)โดย DNS จะใช้ระบบ ชื่อโดเมน และโดเมนย่อย หรือ subdomain ด้วยการคั่นด้วยจุด (!.!) เพื่อจัดระเบียบของโดเมนเนม
เลือกชื่อโดเมนที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณในการเลือกชื่อโดเมนคุณสามารถตรวจสอบโดเมนได้จาก WHOIS domain จากผู้ให้บริการจดโดเมน ซึ่งมักจะแสดงช่องในหน้าแรกของเว็บไซต์ ของผู้ให้บริการโดเมนหากโดเมนเนมนั้นว่างคุณสามารถดำเนินการจดโดเมนได้ทันที
🔹หลักเกณฑ์การเลือกใช้ชื่อโดเมนเนม
1. คุณควรใช้คำหลัก หรือคำค้น (keyword)ชื่อโดเมนเนมที่จดทะเบียน ควรเป็นชื่อที่จดจำได้ง่ายโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เยี่ยมชม และโดเมนเนมจะต้องสะกดอย่างถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากชื่อโดเมนมีค่าหลักหรือ Keywordที่ต้องการให้ค้นพบใน search engine จะดีมาก
2. ประเภทโดเมนนามสกุล หรือส่วนขยายของโดเมน (Domain extension)ในปัจจุบันมีการใช้ตัวเลือกส่วนขยายของโดเมน (Domain extension) หลากหลาย เช่น .com .net .org .info .biz แต่ที่นิยม น่าเชื่อถือ มีความคุ้นเคย ในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และเหมาะสำหรับธุรกิจมากที่สุดคือ การจดโดเมน .com
สำหรับโดเมนเนม .net และ.org จัดได้ว่าเป็นนามสกุลที่มีความนิยมรองลงมา และโดเมนเนม .info และ .biz มีการนำมาใช้ด้วยแต่ได้รับความนิยมน้อยกว่า
🔹ข้อมูลที่ใช้ในการจดทะเบียนโดเมน
เมื่อคุณทราบหรือเลือกชื่อโดเมนเนมของคุณได้แล้ว ก็ถึงเวลาจดทะเบียนโดเมน โดยเลือกจดโดเมนกับผู้ให้บริการโดเมนที่มีความน่าเชื่อถือ และราคาค่าจดทะเบียน
โดเมนที่เหมาะสมในการจดโดเมน ข้อมูลที่คุณจะต้องกรอก และนำไปใช้ในการจดทะเบียนมีดังนี้
1. Registrant (เจ้าของโดเมนเนม)
ชื่อของ บริษัท หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของโดเมน (นี้ควรจะเป็นคุณ - ไม่ควรอนุญาตให้เว็บมาสเตอร์ของคุณในการซื้อ และเป็นเจ้าของโดเมนของคุณ)
2. Administrative Contact (ผู้ติดต่อหรือผู้ดูแลโดเมน)
บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการโดเมนเนม
3. Technical Contact (ผู้ติดต่อด้านเทคนิค)
บุคคลที่ได้รับมอบหมายในการจัดการ กับรายละเอียดทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับชื่อโดเมน โดยทั่วไปจะใส่ข้อมูลผู้ให้บริการจดโดเมนเนม
🔹ใช้บริการจดโดเมน กับผู้ให้บริการรายไหนไหนดี
1. บริษัท หรือตัวแทนการจดทะเบียนที่ผ่านการรับรองจาก ICANN-ACCREDITEDREGISTRAR
ในปัจจุบัน ผู้จดทะเบียนโดเมนเนม มักจะมีเสนอและฟีเจอร์ต่างๆ ให้กับลูกค้า หลากหลายการใช้งาน แต่นอกเหนือจากราคาโดเมนเนมแล้ว ฟีเจอร์ เช่น การบริการ
หลังการขาย และการแจ้งเตือนโดเมนเนมที่หมดอายุ และการป้องกันโดเมนถูกขโมย ถูกย้ายโดเมน ก็เป็นเกณฑ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกผู้ให้บริการจดทะเบียนโด
เมนเนม
ผู้บริการจดทะเบียนโดเมนเนม คือบริษัทที่ช่วยให้บุคคลและองค์กรธุรกิจ จดทะเบียนโดเมนเนมได้ โดยหน่วยงาน (ICANN) ได้อนุญาตให้ บริษัท หลายร้อยแห่งทำหน้าที่เป็นผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมน
โดยแต่ละแห่งมีรูปแบบการกำหนดราคาชุดคุณลักษณะและโปรโตคอลความปลอดภัยที่เป็นเอกลักษณ์ของมาดูประเด็นสำคัญในการเลือกผู้รับจดทะเบียนกัน
2. ความสามารถในการควบคุมจัดการโดเมนเนมแบบเต็มรูปแบบ
โดยควรจะมีหน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวก และผู้ดูแลหรือเจ้าของโดเมนเนม สามารถเข้าแก้ไข หรือจัดการข้อมูลของโดเมนเนมได้ด้วยตนเอง
ที่โดเมนเนม.ecomsiam.com ลูกค้าที่จดโดเมนเนม .com .net .biz .org .info กับเรา จะได้รับมี รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าจัดการโดเมนเนม
การเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลโดเมนที่ท่านจตทะเบียน
หากคุณต้องการแก้ไขรายละเอียดของ"โดเมน" เช่น สถานที่ติดต่อ หรือ อีเมล์ ของผู้ดูแลโดเมน (Technical contact / Administrative contact) หรือแก้ไข DNS โดย
ระบบจัดการโดเมน (manage domain) ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อมูลโดเมนเนม โดยตรงกับ "ฐานข้อมูลของ Registrar" โดยใช้รหัสผ่านผู้ใช้งาน (user /password) ที่ โดเมนเนม.ecomsiam.com แจ้งให้กับท่านผ่านทางอีเมล์ เมื่อท่านได้จดโดเมน
โดยการแก้ไขข้อมูลโดเมนดังกล่าว จะใช้เวลาอย่างเร็วประมาณ 4 ชั่วโมง หรืออย่างช้าประมาณ 15-24 ชม. จึงจะเป็นที่รู้จักทั่วไปในอินเตอร์เน็ต
3. ฟีเจอร์ของโดเมนเต็มครบตามความต้องการ
โดยทั่วไปฟีเจอร์ของโดเมนเนม ควรประกอบด้วยบริการดังนี้
👉Email Forwarding
email forwarding คือ การบริการ การส่งต่ออีเมล ซึ่งจะส่งข้อความอีเมลนี้ ไปยังอีก emailaddress อื่น ที่คุณกำหนดไว้ เช่น คุณกำหนดชื่ออีเมล์ โดเมนเนมของคุณ เช่น
email@mydomain.com และเมื่อมีการรับอีเมล์นี้จะกำหนดให้อีเมล์ email@mydomain.com ส่งต่ออีเมล์ (forward email) ไปที่อีเมล์อื่น
โดยจะไม่มีกล่องจดหมายเข้า สำหรับที่อยู่อีเมลที่ใช้สำหรับส่งต่อ (ตัวอย่าง
email@mydomain.com ไม่มีการจัดเก็บอีเมล์ไว้)เนื่องจาก เป็นการส่งต่ออีเมล์ ไปยังที่อยู่อีเมลอื่นที่คุณระบุไว้
👉DNS Control
DNS Control คือ ระบบจัดการ DNS (domain name Server) ของโดเมนเนม ผ่านคอนโทรล พาเนล และใช้ DNS-DIY กำหนด DNS ของโดแมนเนม รวมถึงการกำหนด MX Record และ CNAMES Record
👉Protect Your Privacy
Protect Your Privacy เป็นฟีเจอร์หนึ่งที่ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กร ด้วยWHOIS ของโดเมนเนมของคุณ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มใดๆ Protect Your Privacy ช่วยปกป้องคุณให้ห่างจากสแปมเมล์, ฟิชชิ่งและการตลาดทางโทรศัพท์ หรือจากแฮกเกอร์
👉PROTECT YOUR PRIVACY
ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กรด้วยWHOIS ของโดเมนเนมของคุณ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มใด ๆ !ช่วยปกป้องคุณให้ห่างจากสแปมเมล์, ฟิชชิ่งและการตลาดทางโทรศัwท์
หมายเหตุ: Protect Your Privacy เป็นบริการสำหรับ โดเมนเนม .com .net .org .info .bizไม่รวมถึง โดเมนเนม .th
👉CUSTOMER SUPPORT
เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษา และดูแลตอบปัญหาการใช้งาน หากคุณมีข้อสงสัย สามารถติดต่อโทร 02-9682665 ,02968 3399 หรืออีเมล์Support@ecomsiam.com หรือ Line id : @ecomsiam ค่ะ
4. การบริการลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ
งานบริการลูกค้าสำหรับผู้ให้บริการโดเมนเนม จัดว่าเป็นส่วนที่ยากที่จะประเมินออกมาได้ โดยคุณสามารถโทรติดต่อสอบถามไปที่บริษัท หรือพิจารณาจากผู้ใช้บริการ ซึ่งถ้าเป็นลูกค้าองค์กรเป็นส่วนใหญ่ ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการจดโดเมนเนมตลอดจนระยะเวลา และประสบการณ์ในการเปิดให้บริการในธุรกิจโดเมนเนม โดยพิจารณา ในด้านการตอบปัญหาทางอีเมล์ การสื่อสารกับลูกค้า ช่องทางต่างๆ เช่น Live Chat เป็นต้น
🔹จะเริ่มต้นมีเว็บไซต์ได้อย่างไร ?
เราควรกำหนดจุดประสงค์หรือตั้งเป้าหมายว่าเราอยากมีเว็บไซต์ไว้ทำอะไร คนที่จะเข้ามาใช้งานเป็นใคร เพื่อให้สามารถเลือกรูปแบบและกำหนดแนวทางการออกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่น เพื่อบันทึกเรื่องราว หรือนำเสนอบทความข่าวสาร , เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อเป็นหน้าร้านออนไลน์ ,เพื่อเป็นช่องทางการขายสินค้า เป็นต้น
🔹ส่วนประกอบสำคัญของเว็บไซต์ที่ควรรู้
การสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง ต้องรู้จักส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ของเว็บไซต์เอาไว้ด้วย เพื่อจะได้รู้ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือเพื่อให้คุยกับคนทำเว็บไซต์ได้เข้าใจ
👉Domain
Domain หรือ โดเมน คือชื่อเว็บไซต์ของเรา ใช้แทน IP Address ที่เป็นตัวเลขและจดจำยาก ยกตัวอย่างโดเมน เช่น abcdef.com ซึ่งการตั้งชื่อโดเมนควรบ่งบอกถึงเนื้อหาของเว็บไซต์และจดจำง่าย ซึ่งการจดโดเมนมีค่าใช้จ่ายเป็นรายปี แต่ละสกุลโดเมนก็ราคาแตกต่างกันไป เช่น .com ราคาจะราว 300-400 บาทต่อปี และมีค่าต่ออายุทุกปี
👉Hosting
Hosting หรือ โฮสติ้ง คือ ผู้ให้บริการพื้นที่เซิฟเวอร์สำหรับฝากเว็บไซต์ โดยเซิฟเวอร์จะแสดงผลเว็บไซต์ให้ออนไลน์อยู่บนอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง โฮสติ้งมีทั้งหมด 4 ประเภท
1. Shared Host เป็นเซิฟเวอร์ที่แชร์กันหลายผู้ใช้งาน เหมาะกับเว็บไซต์ธรรมดาทั่วไป ไปถึงเว็บไซต์ส่วนตัวขององค์กร ราคาประมาณ 800-3,000 บาทต่อปี
2. VPS ย่อมาจาก Virtual Private Server เป็นเซิฟเวอร์ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นเสริมได้ ราคามีตั้งแต่ 200-800 บาท สามารถแบ่งจ่ายเป็นราย 3 เดือน, 6 เดือน, 1ปี หรือมากกว่านั้นก็ได้
3. Dedicated Server เป็นเซิฟเวอร์เพียงเซิฟเวอร์เดียวสำหรับเรา โดยอาจใช้ฝากหลายเว็บไซต์ที่เราดูแล หรือจะแบ่งพื้นที่ขายเป็นบริการ Shared Hosting ก็ได้ Dedicated เหมาะกับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่ต้องการความเสถียรและปลอดภัยมาก เช่นเว็บไซต์ขององค์กรขนาดใหญ่ ราคามีตั้งแต่ 3,000 – 10,000 บาทต่อเดือน
4. Cloud Hosting เป็นการใช้เซิฟเวอร์หลายเครื่องซึ่งทำงานพร้อมกัน เมื่อเซิฟเวอร์ใดมีปัญหา ก็จะย้ายไปยังเครื่องใหม่ เว็บไซต์จึงไม่ล่ม เหมาะกับเว็บไซต์ที่ต้องการความเสถียรสูง
ผู้ที่ทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง จำเป็นต้องใช้บริการ Hosting แต่ถ้าใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือร้านค้าออนไลน์ก็อาจไม่มีค่าบริการโฮสติ้ง แต่จะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีแทน
สำหรับมือใหม่อยากจดทะเบียนโดเมน เมื่อได้ทราบข้อควรรู้เบื้องต้นไปแล้ว คงพอจะมองเห็นภาพรวมคร่าวๆ ว่าควรเริ่มต้นจดทะเบียนโดเมน ทำเว็บไซต์ของตัวเองจากตรงไหน เลือกบริการจดโดเมน รูปแบบเว็บไซต์แบบไหน จ้างใครดี ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ซึ่งถ้าทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองก็จะได้แนวทางในการทำ แต่ก็อาจยังต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกอีกมาก ขณะเดียวกันถ้าจ้างทำก็ต้องตรวจสอบประวัติบริษัท ฟรีแลนซ์ หรือเอเจนซี่ที่จะจ้างงานว่ามีรูปแบบการทำงานที่ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ เพื่อให้ออกมาสมบูรณ์ ใช้งานได้จริง และถูกใจเรามากที่สุด
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments